คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 คำสั่งถึงที่สุดตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้น ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งเดิม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้ยกคำร้อง อันมีผลเป็นการยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขอเป็นผู้ขาดความสามารถในการจ่ายค่าธรรมเนียมศาล ต้องฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนก่อนวินิจฉัย
โจทก์ขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาโดยอ้างว่ากรมสรรพากรจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของโจทก์ทำให้โจทก์ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ทั้งไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกที่จะนำมาขายหรือเป็นหลักประกันเพื่อขอกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น ทำให้ไม่มีเงินที่จะนำมาชำระค่าธรรมเนียมศาลได้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์อ้างแม้ทรัพย์สินจำนวนมากดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ก็ไม่สามารถขายหรือนำไปเป็นหลักประกันเพื่อหาเงินมาเป็นค่าธรรมเนียมศาลจำนวนสูงอันอาจจะถือได้ว่าโจทก์เป็นคนยากจน การที่ศาลภาษีอากรกลางงดการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จึงเป็นการวินิจฉัยโดยยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวชั่วคราว, การสิ้นสุดการควบคุมตัว, และขอบเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคำร้อง
พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ร้องทั้งสอง แม้จะเนื่องมาจากเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง การคุมขังในขั้นตอนของการฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลก็ได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถที่จะสั่งตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ร้องที่ 1 ตามหมายปล่อยชั่วคราวในระหว่างการสอบสวนของศาลชั้นต้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 90
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังอยู่ถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น เมื่อผู้ร้องที่ 1 ได้รับการปล่อยตัวแล้ว ปัญหาการควบคุมตัวหรือขังผู้ร้องที่ 1 ไว้ในสถานกักตัวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070-1071/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: ระยะเวลาการยื่นคำร้อง และการพิจารณาจากทรัพย์สินที่มีอยู่
บริษัทจำเลยที่ 1 มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท มีเงินสดและเงินฝากธนาคาร 12,585.10 บาท ทั้งยังมีสินทรัพย์เป็นสินค้าคงเหลือจำนวน 38,124,414.13 บาท จำเลยที่ 1 ยังมีเครดิตขอกู้ยืมเงินได้อีกและมีทรัพย์จำนองในคดีนี้เป็นหลักประกันจึงไม่พอให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สิน การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่อ้างว่าสินทรัพย์ที่เป็นสินค้าคงเหลือ เป็นมูลค่าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ติดจำนองไว้กับโจทก์ ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลภายนอกจึงไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินมาวางศาลเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ได้ และทรัพย์จำนองมีมูลค่าต่ำกว่าหนี้เงินกู้ จำเลยที่ 1 พยายามติดต่อขอกู้เงินจากสถาบันการเงินอยู่ เป็นการคัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยโดยคำสั่งหลังเสร็จการไต่สวนแล้ว หากจำเลยที่ 1 ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะคัดค้านโดยการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น มิใช่โดยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายในวันที่ 6 มกราคม 2547 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้ คือนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระเสียภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่ง หรือยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156 วรรคสี่ อีกกรณีหนึ่ง แม้กฎหมายมาตราดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะในการยื่นคำร้องขอไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิดำเนินการในกรณีแรกคือนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต้องนำมาชำระภายในวันที่ 6 มกราคม 2547 การใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลัง ก็ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ภายในวันที่ 6 มกราคม 2547 เช่นเดียวกัน เพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10665/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องเกี่ยวกับการบังคับคดีต้องยื่นต่อศาลเดิมที่พิจารณาคดี หากไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิม
การเสนอคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยที่ 1 และให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการเสนอคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิม มิใช่เสนอคำร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพ้นกำหนดและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงไม่รับคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามมาตรา 234 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมหลังมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยไม่มีพินัยกรรมแล้ว ศาลต้องรับคำร้อง
เดิมผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านในคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ถ. และ อ. กับผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน อ. กับผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 อ. กับผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องคัดค้านและเพิ่มเติมอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่าเพิ่งพบพินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ น. และผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและตัดไม่ให้ทรัพย์สินแก่ ถ. ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยกคำร้อง โดยเห็นว่า อ. กับผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่อศาลชั้นต้น และต่อมามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายในคดีนี้ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเดียวกันกับที่เคยมีคำสั่งตั้ง ถ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง โดยผู้ร้องอ้างในคำร้องถึงรายละเอียดในคดีที่เคยยื่นคำร้องคัดค้านในคดีก่อน และแนบคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อขอให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแทน แม้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องใหม่เข้ามาและมีการลงเลขคดีดำใหม่ ก็เป็นเพียงเรื่องปฏิบัติในทางธุรการของศาลเท่านั้น กรณีถือได้ว่าผู้ร้องได้เสนอคำร้องต่อศาลในคดีก่อน ตามนัย แห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (4) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอคืนของกลางแล้วยื่นใหม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คืนรถยนต์ของกลาง และยื่นบัญชีระบุพยานเป็นพยานบุคคลสามปาก โดยเป็นพยานนำสองปาก และเป็นพยานนำหรือหมายอีกหนึ่งปาก เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเพียงว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้ร้องไม่สามารถมาศาลได้ เนื่องจากติดธุระ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอคืนของกลางทันทีว่า เนื่องจากผู้ร้องไม่มีพยานมาศาล ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอถอนคำร้องขอคืนของกลาง และจะนำคำร้องขอคืนของกลางมายื่นต่อศาลใหม่ภายในอายุความ พฤติการณ์ของผู้ร้อง จึงทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีไม่เป็นผล และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องเสีย และเมื่อผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบ มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงไม่อาจสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาคดีเกี่ยวกับยาเสพติดไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เพราะไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้จะอยู่ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า หากโจทก์จะฎีกาต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ ไม่อาจนำบทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับได้ การที่อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย เป็นการรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิใช่การยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7788/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการบังคับคดีและการขอค่าสินไหมทดแทน การฟ้องร้องต้องกระทำโดยตรง ไม่ใช่การอ้างในคำร้องคัดค้าน
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทรวม 6 แปลง เป็นการยึดเกินกว่าหนี้ที่มีอยู่ย่อมเป็นการไม่ชอบ ขอให้ถอนการยึด จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาและไม่มีการเจรจาตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ก่อน ขอให้ถอนการยึด ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ให้บังคับคดีต่อไป และวินิจฉัยว่าการยื่นคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลและเป็นการยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า เห็นสมควรให้วางเงินต่อศาลคนละ 5,000,000 บาท เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องว่า การยื่นคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวไม่มีมูลและเป็นการยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า เวลาผ่านไป 7 ปี โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายที่ดิน ทำให้ไม่อาจนำเงินไปลงทุนหากำไร นำไปฝากหรือให้กู้ยืมได้ดอกเบี้ย ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 4,590,000 บาท ศาลชั้นต้นยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาในตอนท้ายว่า ยกหรือยืนหรือกลับหรือแก้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 แต่ในคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในส่วนนี้ว่า โจทก์มิได้ใช้สิทธิร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหก (เดิม) แต่แรก และเพิ่งจะมาใช้สิทธิตามมาตรา 296 วรรคหก (เดิม) ภายหลัง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์มานั้น ชอบแล้ว พอแปลได้ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ กรณีถือว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ผิดหลงเล็กน้อยหรือผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และการยื่นคำร้องของโจทก์ดังกล่าว ไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองและวรรคหก (เดิม) ประกอบมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง (เดิม) เพราะคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิใช่คัดค้านการขายทอดตลาด แม้จำเลยทั้งสี่จะเคยยื่นคัดค้านการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ก็ไม่ได้ร้องขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใน 30 วัน ดังนั้น หากโจทก์เห็นว่ามีความเสียหายก็ชอบที่โจทก์จะไปยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีใหม่
of 50