พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อยาเสพติดโดยสายลับและการอำนาจสอบสวนของตำรวจปราบปรามยาเสพติดชอบด้วยกฎหมาย
การใช้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นเพียงการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามตามอำนาจใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยทั้งสามพร้อมด้วยพยานหลักฐาน อันเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสาม ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ที่เกิดจากการใช้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน
ป.วิ.อ. มาตรา 16 กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไว้ว่าต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจนั้นๆ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 มาตรา 4 กำหนดให้มีกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดเป็นส่วนราชการหนึ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมาตรา 5 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายอื่นอันเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาทั่วราชอาณาจักร กับมีการออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 ข้อ 1 กำหนดให้มีกองบังคับการสอบสวนเป็นส่วนราชการหนึ่งในกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และข้อ 2 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาทั่วราชอาณาจักร แสดงว่ากองบังคับการสอบสวน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด มีอำนาจสอบสวนความผิดข้างต้นทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น พนักงานสอบสวน กองบังคับการสอบสวน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้โดยชอบ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 18 การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 16 กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไว้ว่าต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจนั้นๆ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 มาตรา 4 กำหนดให้มีกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดเป็นส่วนราชการหนึ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมาตรา 5 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายอื่นอันเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาทั่วราชอาณาจักร กับมีการออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 ข้อ 1 กำหนดให้มีกองบังคับการสอบสวนเป็นส่วนราชการหนึ่งในกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และข้อ 2 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาทั่วราชอาณาจักร แสดงว่ากองบังคับการสอบสวน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด มีอำนาจสอบสวนความผิดข้างต้นทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น พนักงานสอบสวน กองบังคับการสอบสวน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้โดยชอบ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 18 การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานเล่นการพนันในบริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์กับเพื่อนพนักงานรวม 7 คน ร่วมกันเล่นการพนันในบริเวณบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เป็นการกระทำฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าพนักงานต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ประพฤติตนไปในทางนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนและหมู่คณะ ต้องไม่กระทำการผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม ต้องไม่เล่นการพนันขันต่อทุกชนิด การฝ่าฝืนมีโทษทางวินัยโดยการไล่ออก การเล่นการพนันนอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่ลูกจ้างด้วยกัน ทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ ทั้งยังทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิดครั้งแรกและโจทก์สำนึกผิดหรือไม่ก็ตาม การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยที่ทำให้เสียหายด้านชื่อเสียงต่อจำเลยเพียงอย่างเดียวอันจะลงโทษด้วยการตักเตือนเท่านั้น แต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8272/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาจำหน่ายยาเสพติด: การแจ้งข้อหาโดยรวมครอบคลุมความผิดต่อผู้รับหลายรายถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ จ.ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 แต่เมื่อพิจารณาตามคำให้การและคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับและจำหน่ายให้แก่ จ.ไปในวันเวลาเดียวต่อเนื่องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน ดังนี้เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้ระบุว่าจำหน่ายให้แก่ผู้ใดให้จำเลยทราบแล้ว ต้องถือว่าก่อนสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่นาย จ. รวมมาด้วย การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ: 'ทายาท' ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ต้องเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 (1) บัญญัติว่า การจ่ายเงินค่าทำศพให้จ่ายแก่ "บุคคล" ตามลำดับดังนี้... มาตรา 73 (2) การจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้จ่ายแก่ "บุคคล"... มาตรา 75 จัตวา การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรแก่ "บุคคล" ตามลำดับ ดังนี้ แต่ในมาตรา 77 จัตวา บัญญัติว่า "ทายาท" ของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ "ทายาท" ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้แก่ (1) (2) (3)... เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวใช้คำว่า "บุคคล" กับ "ทายาท" แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะให้มีความแตกต่างกัน และคำว่า "ทายาท" ซึ่งเป็นถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "ทายาท" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 และกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกรณีนี้ก็คือบทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ซึ่งมีบทบัญญัติถึงคำว่า "ทายาท" อยู่ในมาตรา 1659, 1603 โดยคำว่า "ทายาท" ในบทบัญญัติดังกล่าวนี้หมายถึงเฉพาะทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา จึงต้องหมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วยแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการถอนฟ้องคดีอาญา – การถอนฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ ซึ่งรวมถึงการถอนฟ้อง และการสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย เมื่อทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นการถอนฟ้องโดยสำคัญผิด ก็เป็นความบกพร่องของฝ่ายโจทก์เอง ย่อมไม่กระทบถึงคำสั่งที่อนุญาตให้ถอนฟ้องโดยชอบของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นตรวจค้นสถานที่พักอาศัย: การค้นที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ครอบครองสถานที่อยู่ด้วย และการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
มาตรา 102 บัญญัติให้เจ้าพนักงานค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นหรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ร้องขอมาเป็นพยาน ดังนี้ แม้ขณะเริ่มลงมือค้นเจ้าพนักงานตำรวจจัดให้ จ. ซึ่งมิใช่บุคคลในครอบครัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานในการค้นห้องจำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวเพราะจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ก็ตาม แต่ระหว่างค้นจำเลยที่ 2 ได้กลับมานำเจ้าพนักงานตำรวจค้นห้องจำเลยที่ 2 ด้วยตนเองต่อไปจนกระทั่งค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง จึงถือว่าเจ้าพนักงานทำการค้นห้องจำเลยที่ 2 ต่อหน้าจำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองสถานที่ตามมาตรา 102 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิจารณาคดีแรงงานและการชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณา ซึ่งจะต้องนั่งพิจารณาคดีไปจนเสร็จสิ้นการพิจารณาคดี เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้องค์คณะผู้พิจารณาคดีไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจะนั่งพิจารณาคดีแทน หรือมอบหมายให้ผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปก็ได้ และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 20 บัญญัติว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบคนอื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีมีเหตุจำเป็นอื่นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ ประกอบกับโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ทั้งล่วงพ้นเวลาโต้แย้งคัดค้านแล้ว และมิได้มีคำขอให้ศาลแรงงานกลางรอการพิจารณาไว้ก่อนเพื่อให้มีการปฏิบัติในเรื่ององค์คณะในการพิจารณาคดีให้เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจศาลในเรื่ององค์คณะในการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางดังกล่าว การพิจารณาคดีนี้จึงเป็นการชอบแล้ว และเมื่อการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จึงมีอำนาจทำคำพิพากษาต่อไปได้ คำพิพากษาคดีนี้จึงชอบแล้วเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การช่วยเหลือป้องกันผู้อื่นจากภยันตรายและการใช้กำลังพอสมควรแก่เหตุ
จำเลยที่ 2 เข้าไปกอดรัด ป. หลังจากที่ถูก ป. ใช้ขวดตีที่บริเวณศีรษะ แต่ ป. ยังไม่หยุดทำร้ายโดยใช้ปากกัดที่บริเวณแขนของจำเลยที่ 2 และยังใช้มือบีบคอจำเลยที่ 2 ด้วย ย่อมเป็นการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิเข้าช่วยเหลือป้องกันจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้นได้ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ค้อนตีศรีษะ ป. 3 ถึง 4 ครั้ง เป็นเพียงแผลแตกแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตีเต็มกำลังให้ถึงตาย แต่จำเลยที่ 1 กระทำเพื่อให้ ป. หยุดทำร้ายและปล่อยตัวจำเลยที่ 2 เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการป้องกันจำเลยที่ 2 พอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย หากมีเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 37
คดีก่อน ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน คงพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 โดยยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาของภาษีอากร เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะใหม่พิจารณาและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานก่อนฟ้องคดี: ความชอบด้วยกฎหมายและการให้โอกาสจำเลยซักค้าน
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สืบพยานไว้ก่อนโดยคำร้องอ้างเหตุถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานให้และเห็นว่าไม่อาจตั้งทนายความให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ทัน จึงชอบด้วยเหตุผล ทั้งตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ทำในวันนั้นปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งให้จำเลยทั้งสี่ทราบและให้โอกาสซักถามพยานได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่คัดค้าน โดยจำเลยที่ 1 เองก็ได้ซักถามพยานด้วยแต่จำเลยอื่นไม่ติดใจถามค้านตามบันทึกท้ายคำเบิกความ ส่วนที่ศาลชั้นต้นไม่ซักถามพยานนั้นเป็นดุลพินิจที่ทำได้โดยชอบ หากเห็นว่าคำเบิกความชัดเจนแล้ว ดังนี้การสืบพยานปากผู้เสียหายไว้ก่อนฟ้องคดีของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว