คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีพิพาทที่ดินที่เคยตัดสินแล้ว ห้ามฟ้องรื้อร้องประเด็นเดิม
ก่อนคดีนี้จำเลยทั้งสองเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง โจทก์ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมกับให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินโจทก์ ขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขเนื้อที่ในโฉนดของจำเลย เมื่อคดีนี้และคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับประเด็นพิพาทในคดีก่อน หากข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงจะพิพากษาให้เพิกถอนและแก้ไขเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดินตามฟ้องโจทก์ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท – การพิสูจน์สิทธิก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ – ที่ดินของรัฐ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่อาจมีสิทธิครอบครองโดยการครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้ายึดถือที่ดินพิพาทภายหลัง ป.ที่ดินใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงให้เห็นว่าผู้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ จึงจะได้รับความคุ้มครองตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าผู้ซึ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ แม้โจทก์จะเข้ายึดถือเป็นเวลาเกิน 1 ปี และคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาก็เป็นการยึดถือที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ใช้ยันรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: จำเลยเชื่อโดยชอบว่าตนมีสิทธิครอบครอง จึงไม่มีเจตนาบุกรุก
โจทก์ร่วมมีข้อพิพาทกับจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2526 นอกจากนี้โจทก์ร่วมได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งตามคดีหมายเลขดำที่ 149/2542 ของศาลชั้นต้น แม้คดีดังกล่าวจะมีประเด็นว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยมิชอบอันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 มิได้มีประเด็นว่า โจทก์ร่วมถูกแย่งการครอบครองดังที่โจทก์ร่วมฎีกาก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครองในที่ดินพิพาท ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยเชื่อโดยชอบว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ดินพิพาทจะเป็นของผู้ใดหรือผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองนั้นเป็นเรื่องทางแพ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมในการจำหน่ายส่วนของที่ดิน และการส่งมอบโฉนดตามกฎหมาย
โจทก์ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 83631 แก่บริษัท ม. โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัทดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้" และความในวรรคสองบัญญัติว่า "แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน" การที่โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. มิใช่เป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สิน ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่สามารถกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสอง
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ" การที่โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. เพื่อให้บริษัทดังกล่าวมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม จึงเป็นสิทธิของเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ที่จะกระทำได้ ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 6 ก็บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1 หามีสิทธิขัดขวางการจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10755/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท: การซื้อขายแทนกันและเจตนาในการใส่ชื่อทายาท
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4161 ส่วนของ บ. บิดาโจทก์ทั้งสองและส่วนของ ผ. ซึ่งเป็นบิดาของ บ. มิได้ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์มรดกโดยตรง เพราะจำเลยเป็นเพียงพี่สาวมิใช่ทายาทโดยธรรมของ บ. สำหรับที่ดินของ ผ. แม้ต่อมาตกเป็นมรดกของทายาทโดยธรรมซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วยก็มิใช่การพิพาทกันเรื่องมรดกโดยตรง แต่พิพาทกันในส่วนที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ผ. การที่คำฟ้องกล่าวถึงการขอรับมรดกหรือการรับมรดกแทนที่ของโจทก์ทั้งสองและของ ผ. ในกรรมสิทธิ์รวมที่เป็นส่วนของ บ. และ ผ. ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงที่มาของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4161 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ บ. ซึ่งโจทก์ทั้งสองทายาทของ บ. เข้ารับมรดกแทนที่ ฟ้องโจทก์จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องมรดกเลยไม่ว่าเรื่องคดีขาดอายุความ (มรดก) ตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและจำเลยแก้ฎีกาไว้ รวมทั้งฎีกาของจำเลยในประเด็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาเกินคำขอในกรณีที่กำหนดให้จำเลยชำระราคาค่าที่ดินในส่วนของ บ. ในราคา 417,600 บาท ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสองและจำเลยในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4161 ซึ่งเป็นส่วนของ บ. ตามคำฟ้องเฉพาะในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7393/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และอายุความฟ้องร้อง
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ และ พ. เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ พ. ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลย แม้จำเลยจะรับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า พ. ผู้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 96 จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก พ. จำเลยครอบครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้จึงไม่มีปัญหาในเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ดินเป็นของบุคคลอื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนหรือนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 วรรคสอง และมาตรา 1375 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ สิทธิเกิดจากการครอบครองตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนชื่อ
แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ม. จะไม่ชอบเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ขณะที่ซื้อขายกันที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่า ม. จึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ม.ส่งมอบที่ดินพิพาทและโจทก์เข้าครอบครองแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย ม. ย่อมไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้ดำเนินการเพิกถอนชื่อ ม. ออกจากโฉนดที่ดินพิพาทปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6439/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ดินพิพาทไม่ถูกต้อง และประเด็นอายุความการครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ยาว 10 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร จำเลยให้การว่า จำเลยสร้างกำแพงบนแนวเขตที่ดินติดต่อ ไม่ได้รุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ตามคำให้การดังกล่าวจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น มิได้เป็นการแย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นจึงยก ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัยเองหาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและขัดแย้งกับที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
คำให้การของจำเลยได้กล่าวแก้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทว่าเฉพาะตรงที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเป็นของจำเลย อันถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทว่ามีราคาเท่าใด แต่ศาลล่างทั้งสองกลับดำเนินกระบวนพิจารณามาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370-6371/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินพิพาทเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกายกคำขอแบ่งแยกตามการครอบครองจริง
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ตามโฉนด 1 ไร่ แต่ตอนทำแผนที่วิวาท เอกสารหมาย จ.ล.1 เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดได้เนื้อที่เพียง 3 งาน 5 ตารางวา กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท จึงมีเนื้อที่ 1 งาน 52.5 ตารางวา เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือบรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด อันทำให้จำเลยได้ที่ดินมากกว่าโจทก์ 15 ตารางวา แต่กลับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 จำนวนกึ่งหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแบ่งที่ดินให้แก่จำเลยได้เนื้อที่ 1 งาน 60 ตารางวา ตามที่จำเลยครอบครองได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10261/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิในที่ดินพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์และจำเลยในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน โดยคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปออกโฉนดว่าเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะยกฟ้อง ก็เนื่องมาจากว่าจำเลยมิได้ร้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ออกโฉนดดังกล่าวโดยมิชอบ แต่จำเลยกลับมีคำขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลย ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยย่อมไม่จำต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์กันอีก เนื่องจากที่พิพาทเป็นของจำเลยอยู่แล้ว ที่จำเลยมีคำขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ให้นั้นจึงเป็นกรณีที่ไม่จำต้องมีการบังคับตามคำขอ มิใช่คำฟ้องไม่สมบูรณ์ แต่เป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับตามคำขอให้ได้เท่านั้น คู่ความยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 145
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และจำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกับมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการห้ามเกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน แม้จำเลยมีคำขอเพิ่มมาในฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท แต่ก็ยังคงเป็นกรณีที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัย และคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
of 51