พบผลลัพธ์ทั้งหมด 532 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12798/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันต่อความเสียหายจากทุจริตของพนักงาน
จำเลยที่ 2 ได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันเพื่อสวัสดิการข้าราชการศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2537 เมื่อการปฏิบัติงานสวัสดิการภายในดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ.2530 ข้อ 13 ให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แม้จะไม่ได้มีค่าตอบแทนพิเศษและไม่มีคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับ กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการไว้แต่หน้าที่ผู้จัดการโดยทั่วไปย่อมจะต้องดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้างในสถานีบริการน้ำมันนั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย รวมทั้งเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการตามสมควรแก่กรณี แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เสนอรายงานที่ตนเองพบข้อสงสัยไปตามลำดับชั้นเพื่อให้มีการจัดการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความไม่สุจริตของพนักงานขาย ทั้งได้ความจากจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 มิได้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขายหรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีแต่อย่างใด พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12652/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจัดสรรหุ้นของอดีตพนักงานขึ้นอยู่กับสถานะการเลิกจ้าง หากเลิกจ้างเพราะทุจริต ย่อมไม่มีสิทธิ
ในโครงการของจำเลยที่ 1 ที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่อดีตพนักงานของจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือนั้น อดีตพนักงานที่จะมีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของจำเลยที่ 1 หากพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเพราะถูกเลิกจ้างจะต้องเป็นกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด โดยในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยและค่าเสียหาย ศาลไกล่เกลี่ยคู่ความจนคดีสามารถตกลงกันได้ซึ่งจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์และโจทก์ยอมถอนฟ้อง จึงเท่ากับว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงยังคงอยู่ไม่ได้ถูกเพิกถอน โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12376/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริต: การส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แม้ขณะจำเลยกระทำความผิดอยู่ในบังคับใช้ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ก็ตาม แต่ ศ. เจ้าพนักงานตำรวจกองตรวจคนเข้าเมือง 2 ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2543 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ใช้บังคับแล้ว การสอบสวนจำเลยจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อ พ.ร.บ. นั้นไม่มีมาตราใดบัญญัติให้พนักงานสอบสวนซึ่งรับคำร้องทุกข์ไว้มีอำนาจสอบสวนได้ แต่มาตรา 89 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีผู้เสียหายได้ร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 อันเนื่องมาจากได้กระทำการตามมาตรา 88 ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อจะดำเนินการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ในการนี้หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวมิใช่กรณีตามมาตรา 88 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ต่อไป" ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองจึงต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยของคณะอนุกรรมการไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งจึงชอบด้วยกฎหมายและการที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองไม่ได้สอบสวน จึงไม่มีผลทำให้การสอบสวนและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นไปโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลอนุญาตได้หากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีพฤติการณ์ทุจริต แม้เหตุผลในการถอนฟ้องไม่ชัดเจน
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้บัญญัติว่าต้องอ้างเหตุผลของการขอถอนฟ้องมาด้วย แม้จะอ้างเหตุผลมาและฟังไม่ได้ ก็ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุผลต่าง ๆ ในสำนวนประกอบคำคัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13298/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีทุจริตของคนขับรถและอายุความฟ้องร้อง
พยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งนำน้ำมันเตาตามใบส่งของไปให้แก่บริษัท ท. จากการกระทำทุจริตของคนขับรถของจำเลยที่ 1 และโดยที่สัญญารับขนให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของคนขับรถ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และเมื่อคดีฟังได้ว่าเป็นกรณีที่มีการทุจริตกันจึงเข้าข้อยกเว้นของบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 624 ซึ่งไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความการฟ้องเรียกร้องตามข้อยกเว้นดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 ประกอบมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7707/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีทุจริตก่อนมี พ.ร.บ.ป.ป.ช. การส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไม่ใช่ข้อบังคับย้อนหลัง
ป. ป่าไม้จังหวัดอุดรธานีซึ่งรับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เข้าร้องทุกข์ต่อพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยกับพวกก่อนใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 (เดิม), มาตรา 84 (เดิม) และมาตรา 89 (เดิม) โดยไม่มีมาตราใดของบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้พนักงานสอบสวนซึ่งรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษไว้ก่อนดังกล่าวนั้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย จึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง แม้ต่อมาจะมีการแก้ไข มาตรา 66 และมาตรา 84 โดยก็มิได้บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบสวนกรณีของจำเลยไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ ดังนั้น การสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย และการที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่มีผลทำให้การสอบสวนและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นไปโดยไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังฟ้องคดี และอำนาจการร้องทุกข์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจในคดีทุจริต
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ โดยให้มีผลเป็นอันยกเลิก พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป และกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแทน และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ที่ถูกยกเลิกบัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับแทนมิได้บัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จึงเป็นการไม่ชอบ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยทุจริตของผู้จัดการมรดกและผู้สนับสนุนความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต โดยจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 352 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตอันเป็นการสมคบกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กระทำในฐานเป็นผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตามคำสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353,354 ประกอบด้วยมาตรา 86
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตอันเป็นการสมคบกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กระทำในฐานเป็นผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตามคำสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353,354 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7749/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยเรียกรับเงินจากผู้ขาย เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 บัญญัติให้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ซึ่งหมายความว่า ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมอันดี เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายสินค้าและจัดส่ง และได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้จัดซื้อรถยกและชั้นวางสินค้าไว้ใช้ในคลังสินค้าของบริษัทนายจ้าง แต่ในการเจรจาซื้อสินค้าดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าตอบแทนในการจัดซื้อสินค้าไว้เป็นการส่วนตัว และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการประพฤติทุจริตเบียดบังสิทธิและผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่การงานและความไว้วางใจของนายจ้างที่ให้อำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อตกลงเรียกเงินค่าตอบแทนในการเจรจาซื้อขายสินค้าดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตสอบราคา – สนับสนุนความผิด – สมคบกันกีดกันผู้เสนอราคา
จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ จำเลยที่ 4 เป็นปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่และเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ โดยจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่ในการปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาโครงการรับเหมาก่อสร้างไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลและที่ว่าการอำเภอและขายเอกสารสอบราคาให้แก่ผู้ที่สนใจซื้อ แต่จำเลยที่ 4 มิได้ติดประกาศสอบราคาโครงการดังกล่าวและไม่มีการขายเอกสารสอบราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเปิดซองและพิจารณาซองสอบราคา ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติการจ้าง ซึ่งต่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ด้วยกัน จึงย่อมรู้เห็นการกระทำของจำเลยที่ 4 แต่กลับมีการเปิดซองสอบราคาและตกลงจ้างเหมาดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นการสมคบกันปกปิดการสอบราคากีดกันไม่ให้โจทก์เข้าสอบราคา อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้โจทก์และราชการเสียหาย เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการปิดประกาศสอบราคาและขายเอกสารสอบราคาโดยตรง แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 4 ด้วย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้