พบผลลัพธ์ทั้งหมด 517 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความนำสู้กันเท่านั้น การวินิจฉัยเรื่องสิทธิอุทธรณ์นอกประเด็นเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ) จ่ายค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เฉพาะผู้มาทำงาน โจทก์ไม่ได้ทำงานระหว่างพักงานเพื่อสอบสวน ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง โจทก์กระทำความผิดจำเลยจึงลงโทษทางวินัยโจทก์ได้และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานเพื่อสอบสวนตามข้อบังคับของจำเลย ประเด็นแห่งคดีมีว่า ระหว่างพักงานจำเลยมีสิทธิไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าจ้างแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ และโจทก์กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยลงโทษโจทก์ตามคำสั่งลงโทษทางวินัยได้หรือไม่ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง คู่ความไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลย
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้าม กรณีจำเลยไม่โต้แย้งประเด็นความประมาทในชั้นอุทธรณ์แล้วมาฎีกาใหม่ โดยอ้างคำพิพากษาคดีอาญา
การพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 นั้น เป็นกรณีที่ศาลในคดีส่วนแพ่งจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นที่คู่ความยังคงโต้แย้งกันอยู่และเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลในคดีส่วนอาญาจะต้องวินิจฉัย ทั้งนี้เพื่อให้การรับฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันเป็นไปในทางเดียวกัน เมื่อคดีในส่วนอาญาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนกระทำการโดยประมาท คดีส่วนแพ่งจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามสัดส่วนแห่งความประมาทของตน การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหาย โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มีส่วนประมาทด้วยแต่อย่างใด แม้ต่อมาความจะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนอาญาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจจะฎีกาได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งเป็นการต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19144/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นอายุความต้องยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ หากไม่ทำ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ศาลไม่ต้องวินิจฉัย
ข้อที่ว่ากันมาแล้วหรือมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเป็นสำคัญ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีจะกล่าวพาดพิงถึงเรื่องอายุความตามที่จำเลยอ้างมาในฎีกาก็ตาม แต่เมื่อมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อีกทั้งปัญหาเรื่องอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องคดีแพ่งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13107/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การวินิจฉัยนอกประเด็นหรือไม่ เมื่อจำเลยอ้างกรรมสิทธิ์และครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามตราจองอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดามารดาของโจทก์และจำเลยทั้งสอง แต่ใส่ชื่อโจทก์ไว้แทน ต่อมาบิดามารดายกที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 1 และเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับจำเลยทั้งสองอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสอง แต่กลับให้การต่อไปว่า จำเลยทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลากว่า 20 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยทั้งสองจึงขัดกับคำให้การส่วนแรก เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวมาจึงไม่ถูกต้อง และแม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่มาด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบิดามารดา จึงยังอยู่ในประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10511/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์แทนโจทก์โดยไม่มีอำนาจ และอุทธรณ์ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น" เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาย่อมต้องถือว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับข้ออ้างตามฟ้องแล้ว ส่วนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ในคำให้การมิได้เป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ กลับเป็นข้อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์และเป็นปฏิปักษ์กับคำให้การของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ต้องยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีต่างหาก เนื่องจากจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ ฉะนั้นที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์โดยอ้างเหตุตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์แทนโจทก์โดยปราศจากอำนาจ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบเพราะมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรแก่การได้รับวินิจฉัย ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9162/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัดตามคำฟ้อง การอุทธรณ์นอกประเด็น และการนำสืบพยานนอกประเด็น
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสองกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายหรือไม่ ก็มีความหมายเพียงว่าลูกจ้าง หรือตัวแทนของจำเลยทั้งสองกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ตรวจดูบัตรจอดรถที่ออกให้แก่ ช. ซึ่งขับรถยนต์คันดังกล่าวเข้าไปจอดบริเวณที่จอดรถของห้างสรรพสินค้า เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถยนต์คันนั้นไปเท่านั้น มิได้มีความหมายรวมถึงเหตุที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยสูญหาย เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ไม่จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเดินตรวจบริเวณลานจอดรถที่โจทก์มิได้อ้างเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามฟ้องแต่อย่างใดไม่ และแม้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจะมีการสืบพยานกล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าวก็เป็นการนำสืบนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นการไม่ชอบ เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างคนละเหตุกับคำฟ้องของโจทก์ จึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ ไม่ผูกพันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับคดีแรงงานได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และการกำหนด ให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
แม้ศาลแรงงานกลางจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่ แต่การวินิจฉัยประเด็น ข้อพิพาทดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวได้โดยมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
แม้ศาลแรงงานกลางจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่ แต่การวินิจฉัยประเด็น ข้อพิพาทดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวได้โดยมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยเน้นประเด็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องเป็นไปตามที่คู่ความยกขึ้น และอายุความในการเรียกค่าเช่า
แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีสถานีบริการอื่นมาเปิดใกล้เคียงกับสถานีบริการน้ำมันบางจากของจำเลยที่ 1 ก็เป็นวิสัยของการประกอบการที่จะต้องมีการแข่งขัน ไม่ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กลายเป็นพ้นวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกำหนดตามที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี ในการเรียกค่าเช่าที่ได้ชำระล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ตามที่คู่ความแถลงรวมทั้งวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ก็เป็นประเด็นข้อพิพาทและข้อวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 อุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกำหนดตามที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี ในการเรียกค่าเช่าที่ได้ชำระล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ตามที่คู่ความแถลงรวมทั้งวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ก็เป็นประเด็นข้อพิพาทและข้อวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 อุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นอายุความ แม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ชี้ขาดถูกต้องตามกฎหมาย
ประเด็นในเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีในชั้นชี้สองสถานแล้วเพียงแต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นจึงไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งมีผลเป็นการกลับคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นเรื่องอื่นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยซึ่งรวมทั้งประเด็นเรื่องอายุความด้วยหรือวินิจฉัยไปเสียทีเดียว หากเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสามต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยอาจเกิดความล่าช้าต่อการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจที่จะหยิบยกเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้และยังไม่ยุติไปขึ้นวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 และ 243 การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998-1999/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมคดีและรับฟังพยานจำเลยได้ หากคดีเกี่ยวเนื่องกัน และประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีสำนวนแรกแล้ว ต่อมาจำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เป็นคดีสำนวนหลัง เมื่อกรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ว่าคู่ความในคดีทั้งสองสำนวนเป็นรายเดียวกัน หากรวมการพิจารณาคดีเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นการสะดวก โดยศาลเห็นสมควรเองก็ดี หรือคู่ความยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีรวมกันก็ดี เมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้ว ถ้าเป็นที่พอใจศาลว่าคดีทั้งสองสำนวนเกี่ยวเนื่องกัน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันได้ ทั้งคดีทั้งสองสำนวนนี้แม้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่ละสำนวนจะต่างกัน แต่ประเด็นแห่งคดีเป็นเรื่องเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ข้อเท็จจริงจึงเกี่ยวพันกันมา ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยทั้งหมดที่นำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง