พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: กฎหมายจราจรไม่ได้ประสงค์ลงโทษผู้ไม่ไปรายงานตน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่ว ๆ ไป ส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้น ต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่า กฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พ.ร.บ. จราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พ.ร.บ. นี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานคนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสะดวกทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือ
เจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่น ๆ ผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 428/2502 ซึ่งวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
เจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่น ๆ ผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 428/2502 ซึ่งวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: เจตนาของกฎหมายคืออะไร?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่วๆ ไปส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้นต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่ากฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พระราชบัญญัติจราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พระราชบัญญัตินี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตจราจรทางบก พ.ศ.2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานตนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสดวกของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือเจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่นๆผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษปรับจากการกระทำผิดจราจร ศาลสามารถลงโทษตามบทที่แก้ไขได้หากโทษไม่เปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2477 ม.14,29,66 แต่ปรากฎว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ. 2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาททางอาญา: การฝ่าฝืนกฎหมายจราจรโดยไม่เจตนา ไม่ถือเป็นความประมาทตามกฎหมาย
การฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับรถยนต์และการจราจรโดยมิได้ตั้งใจ แม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 43 บัญญัติว่าเป็นประมาทก็ตาม แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 หาได้บัญญัติไว้เช่นนั้นไม่ จึงถือไม่ได้ว่า การฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทไปด้วย ทั้งนี้โดยอาศัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามกฎหมายจราจร แม้โจทก์อ้างมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดจริงได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2481 (ฉบับที่ 3) มาตรา 8 แต่พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเพียง5 มาตรา และมาตรา 4 เท่านั้นเป็นบทลงโทษ ฉะนั้น จึงเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์คงจะขอให้ลงโทษตามมาตรา 4 แต่โจทก์อ้างผิดไป ตามมาตรา 192 วรรคสี่ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับรถรางโดยประมาทเป็นความผิดตามกฎหมายจราจร และอัยการมีอำนาจฟ้องคดีได้
ขับรถรางโดยประมาทย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกและอัยการมีอำนาจนำคดีฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับขี่จักรยานโดยมีคนซ้อนท้ายไม่ผิดตามกฎหมาย หากไม่เข้าข่ายเกาะห้อยโหนหรือนั่งเกินที่นั่ง
ขับขี่รถจักรยาน 2 ล้อ+ให้ผู้อื่นนั่งเกาะท้าย+ที่ตนขับขี่ไม่มีผิดตาม ม.24 + พ.ร.บ.จราจรเพราะกฎหมายมาตรานี้เอาผิดฉะเพาะผู้ที่เกาะห้อยโหนหรือนั่งเกินกว่าที่นั่งเท่านั้น+กรณีเช่นนี้จะถือว่าผู้ขับขี่ร่วมมือกระทำผิดฐานเปนตัวการด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรทุกสิ่งของสูงเกินกำหนดบนรถจักรยาน 3 ล้อ เป็นความผิดตามกฎหมายจราจร แม้มีคนโดยสาร
กฎกระทรวงออกตามความใน ม.71 ข้อ 3(2) ขับรถจักรยาน 3 ล้อบรรทุกคนโดยสานโดยมีของตั้งมาในรถด้วยสูงเกินกว่า 1.50 เมตร์ ดังนี้ต้องมีผิดตามกฎหมายข้างต้นโดยไม่ต้องพิเคราะห์ว่าจะมีคนโดยสานนั่งมาด้วยกับของหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทในการขับรถและการลงโทษตามกฎหมายอาญา vs. กฎหมายจราจร
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามกฎหมายอาญา ม.259 และ พ.ร.บ.รถยนต์และ พ.ร.บ.จราจรให้จำคุก 3 เดือน ตามกฎหมายอาญา ม.259 ซึ่งเป็นบทหนัก ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจร ให้ปรับ 5 บาท คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการจอดรถกีดขวางการจราจรและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบก ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ที่จอดรถไว้ในช่องเดินรถช่องทางด่วนซ้ายสุดโดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน ไม่แสดงเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรอื่นใดไว้บริเวณท้ายรถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 บัญญัติไว้ว่า ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภทลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบพยานหลักฐานใดที่จะแสดงให้เป็นไปตามข้ออ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งไม่นำสืบหักล้างให้เห็นได้ว่า ย. กระทำผิดโดยมีส่วนประมาทด้วยเช่นไร กรณีจึงต้องรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น