พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์-พยายามฆ่า: ต้องลงโทษบทหนักสุดตามกฎหมายอาญามาตรา 90
จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 หรือมาตรา 340เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามและความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวและใช้ยานพาหนะตามมาตรา 340 วรรคสอง,340 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแต่เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดกระทงหนึ่ง ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่น กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกสถานหนึ่งต่างหากจากที่ลงโทษในความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ผู้เดียวจะฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 225 ประกอบมาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันอ่าน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาและพิพากษาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กับยื่นหนังสือขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539 ด้วยดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดแล้ว ส่วนการที่อัยการสูงสุดจะมีคำสั่งเมื่อใดเป็นเรื่องที่อัยการสูงสุดจะพิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดได้รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) และ (6) หรือไม่ ตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอย่างไรที่บ่งชี้ว่ามีเจตนาดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าร่วมกันกระทำผิดอย่างไรหรือแบ่งหน้าที่กันดัดแปลงอาคารอย่างไร ทั้งไม่อ้าง ป.อ.มาตรา 83 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าว ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยมาตรา 70 บัญญัติหมายความว่า กระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้ว ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอด หรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร และโจทก์ไม่จำต้องอ้างบทมาตรา 83 แห่ง ป.อ.หรือมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพราะมิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) (6)แล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) และ (6) หรือไม่ ตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอย่างไรที่บ่งชี้ว่ามีเจตนาดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าร่วมกันกระทำผิดอย่างไรหรือแบ่งหน้าที่กันดัดแปลงอาคารอย่างไร ทั้งไม่อ้าง ป.อ.มาตรา 83 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าว ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยมาตรา 70 บัญญัติหมายความว่า กระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้ว ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอด หรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร และโจทก์ไม่จำต้องอ้างบทมาตรา 83 แห่ง ป.อ.หรือมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพราะมิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) (6)แล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาไม่ระบุชื่อกฎหมายที่อ้างถึง แต่จากเนื้อหาฟ้องสามารถระบุได้ว่าอ้างถึงกฎหมายอาญา จึงถือเป็นฟ้องสมบูรณ์
หน้าคำฟ้องของโจทก์ลงข้อหาว่าฉ้อโกง และโจทก์บรรยายฟ้อง ถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะ ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์บรรยาย มาในฟ้อง แม้ว่าส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 59,341 โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมาย แห่งมาตรานั้น ๆ ก็ตาม แต่เมื่อประมวลคำฟ้องโจทก์แล้วทราบได้ว่า กฎหมายที่ขอให้ลงโทษนั้นคือประมวลกฎหมายอาญาซึ่งใช้บังคับอยู่ ในปัจจุบัน ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับ มาตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในหมวด 3 ความผิด ฐานฉ้อโกง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดตกบกพร่องเพียงแต่มิได้ ระบุชื่อของกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็น ได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษเป็นกฎหมายอะไร จึงหาเพียงพอที่จะ ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) ไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษ ไม่ถือว่าไม่ลงโทษตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยแล้วแม้จะให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก็ตามจำเลยก็อาจถูกศาลลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ได้เมื่อจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติหรือเมื่อไปกระทำความผิดอาญาที่มิได้กระทำโดยประมาทหรือที่มิใช่ความผิดลหุโทษภายในกำหนดเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา57และ58ฉะนั้นการที่ศาลกำหนดโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้จึงถือว่าศาลได้ลงโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา20แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ครอบครองพร้อมกัน
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา7,72วรรคแรกส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา55,788วรรคแรกการที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตราย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด2ฐานนี้ออกจากกันแม้จำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษบทหนักตามกฎหมายอาญา: เปรียบเทียบอัตราโทษจำคุกและปรับเพื่อลงโทษบทที่หนักที่สุด
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากันต้องถือตามลำดับที่วางไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา18ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์เมื่อพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535มาตรา54วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน7ปีหรือปรับไม่เกิน100,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับแต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา31วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่6เดือนถึง5ปีและปรับตั้งแต่5,000ถึง50,000บาทโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535มาตรา54วรรคหนึ่งจึงเป็นบทหนักกว่าและเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้วก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียวถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำแต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้ตั๋วเครื่องบินปลอม, เจตนาฉ้อโกงสายการบิน, และการพิพากษาลงโทษตามบทบัญญัติกฎหมายอาญา
ตั๋วเครื่องบินที่มีมูลค่าหรือราคาใช้ตามที่ปรากฏในตั๋ว เป็นตั๋วที่ผู้มีชื่อในตั๋วมีสิทธิที่จะใช้โดยสารเครื่องบินของสายการบินที่ปรากฏในตั๋ว จึงเป็นเอกสารสิทธิเพราะเป็นหลักฐานแห่งการก่อซึ่งสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1(9) จำเลยปลอมตั๋วเครื่องบินแล้ว ได้มอบให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋วหรือมอบให้แก่ผู้อื่นซึ่งจะนำไปมอบให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋ว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้มีชื่อในตั๋วต้องนำตั๋วไปใช้ในการเดินทางและเมื่อตั๋วเครื่องบินปลอมได้ถูกนำไปใช้ในการเดินทางแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการ ใช้ตั๋วเครื่องบินปลอมและการที่จำเลยปลอมตั๋วเครื่องบินด้วยมีเจตนาที่จะให้ผู้มีชื่อในตั๋วได้เดินทางโดยจำเลยหรือผู้มีชื่อในตั๋ว ไม่ต้องจ่ายเงินค่าตั๋วแสดงว่าจำเลยมีเจตนาโดยทุจริตหลอกลวงเจ้าของสายการบินว่า จำเลยหรือผู้มีชื่อในตั๋วได้ชำระค่าตั๋วเครื่องบินแล้ว อันเป็นความเท็จทำให้ผู้มีชื่อในตั๋วมีสิทธิเดินทางได้โดยไม่ต้องชำระเงิน ถือว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงเจ้าของสายการบิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับนิติบุคคลและการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายอาญา
โทษปรับนิติบุคคลจะกักขังแทนเงินค่าปรับไม่ได้คงจัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29ได้แต่ประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะ vs. ป้องกันโดยชอบธรรม: การกระทำหลังภยันตรายสิ้นสุดไม่ถือเป็นการป้องกัน
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่อาจเป็นทั้งการกระทำโดยบันดาลโทสะและป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะเดียวกันได้ ผู้ตายเข้าไปหาจำเลยแล้วเตะสำรับกับข้าวที่จำเลยกับภรรยานั่งรับประทานอยู่ แต่จำเลยก็หาได้ตอบโต้ภยันตรายที่ผู้ตายก่ออย่างใดไม่ ต่อเมื่อผู้ตายร้องเรียกจำเลยให้เข้ามาต่อสู้พร้อมกับด่าจำเลย จำเลยจึงเข้ากอดปล้ำต่อสู้กับผู้ตาย แต่สู้ไม่ได้เพราะตัวเล็กกว่า จำเลยจึงวิ่งไปหยิบมีดมาแทงผู้ตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเมื่อภยันตรายดังกล่าวที่ผู้ตายก่อได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่การกระทำของผู้ตายก็ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายไปในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ หาใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวตามกฎหมายอาญา: จำเลยยิงผู้ตายในสถานการณ์ที่ไม่มีภัยอันตรายใกล้ถึง
ผู้ตายไปถามหาจำเลยกับบุตรและมารดาจำเลย บุตรจำเลยวิ่งหนีส่วนมารดาจำเลยแจ้งว่าจำเลยไม่อยู่บ้าน ผู้ตายเดินไปห่างบ้านจำเลยประมาณ 2 วา แล้วยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อระบายอารมณ์ การที่จำเลยยิงผู้ตาย ขณะที่จำเลยแอบอยู่ในครัวโดยที่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ก่อภัยอันใดขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายตามฟ้อง