คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเฉพาะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ตัดสินว่า เมื่อมีกฎหมายเฉพาะกำหนดเงินเพิ่มสำหรับหนี้ภาษีอากรแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ร.บ.ศุลกากรและประมวลรัษฎากร บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ และของเงินภาษีที่ต้องชำระแต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับ ซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงจะนำป.พ.พ.มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ไม่ได้.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มภาษี: กฎหมายเฉพาะเจาะจงห้ามคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน แม้ลูกหนี้ผิดนัด
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ ลูกหนี้จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบน้ำมันเบนซินกรณีมีไว้โดยไม่มีเหตุจำเป็นหรือใบอนุญาต: ศาลฎีกาตัดสินไม่ริบ หากกฎหมายเฉพาะไม่ได้บัญญัติ
พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2520 ตลอดจนคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2522 เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงลงวันที่ 30 มีนาคม 2522 มิได้มีบทบัญญัติให้ริบน้ำมันในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนมีน้ำมันเบนซินโดยไม่มีเหตุต้องใช้หรือไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมัน ความผิดของจำเลยอยู่ที่การมีน้ำมันโดยไม่มีเหตุต้องใช้และไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาเท่านั้น น้ำมันเบนซินที่จำเลยมีไว้จึงมิใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดซึ่งจะต้องถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีตามข้อตกลงคู่ความ และการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์) เหนือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีไว้แล้วต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ขอสละประเด็นในชั้นชี้สองสถานทั้งหมด และติดใจขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามคำแถลงที่ศาลชั้นต้นจดไว้นั้น ดังนี้ หมายความว่า ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นในชั้นชี้สองสถานคู่ความขอสละ หาได้หมายความรวมถึงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง คำให้การที่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถือว่าจำเลยยอมรับแล้วตามกฎหมายไม่ ศาลจึงย่อมนำมารับฟังและวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน
เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129
ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกัน ไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความผิดตามกฎหมายเดิมหลังมีกฎหมายเฉพาะใหม่ และขอบเขตการลงโทษที่จำกัดตามคำฟ้อง
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม 2511 ยกเลิก พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมเหตุผลในการตรากฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม เพื่อแยกควบคุมสาขาเวชกรรมโดยเฉพาะต่างหากจากการประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นเมื่อปรากฏตามฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรม แต่จำเลยกระทำการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรม จำเลยจึงไม่ได้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นผิดไปจากสาขาที่จำเลยได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ 2479 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2511 มาตรา 6 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ การที่จำเลยประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายนี้ไม่ได้เพราะเกินคำขอ ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถาน) เหนือกฎหมายทั่วไป (ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีบุกรุกศาลเจ้า
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยในศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นตั้งอยู่ที่ดินของกระทรวงมหาดไทย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364,365 ทางพิจารณาได้ความว่าศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าไว้แล้ว จึงต้องบังคับตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้าข้อ 22 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับภายหลังและมิได้บัญญัติยกเลิกกฎเสนาบดีดังกล่าวหาได้ไม่ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวเป็นการอ้างกฎหมายผิดเป็นคนละเรื่อง มิใช่เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ศาลจะลงโทษจำเลยตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้าข้อ 22 มิได้ เพราะขัดต่อมาตรา 192 วรรคแรก จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถาน) เหนือกฎหมายทั่วไป (ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีบุกรุกศาลเจ้า
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยในศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นตั้งอยู่ในที่ดินของกระทรวงมหาดไทย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364,365 ทางพิจารณาได้ความว่าศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าไว้แล้ว จึงต้องบังคับตามเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ 22 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับภายหลังและมิได้บัญญัติยกเลิกกฎเสนาบดีดังกล่าวหาได้ไม่ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว เป็นการอ้างกฎหมายผิดเป็นคนละเรื่อง มิใช่เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคห้า ศาลจะลงโทษจำเลยตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ 22 มิได้ เพราะขัดต่อมาตรา 192 วรรคแรก จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฏข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องกรณีรับขนของทางทะเล ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของ ทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่อง จากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหายจำเลยให้การด้วยว่าตามเงื่อนไขใน ใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการ รั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความรับผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้พิพากษายกฟ้องเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่านาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มีความหมายพิเศษ แตกต่างจากเช่าทรัพย์สินทั่วไป
การเช่านานั้นพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 4 บัญญัติให้ความหมายไว้เป็นพิเศษแตกต่างไปจากการเช่าทรัพย์สินตาม ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อมีบทกฎหมายว่าด้วยการเช่านาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้วจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยการเช่าทรัพย์สินในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้
of 11