พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ แม้ผิดกฎหมายเดิม แต่เมื่อกฎหมายแก้ไขแล้ว โจทก์มีสิทธิในที่ดินได้
จำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งมาโดยชัดแจ้งว่าที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ว่า ส. และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการลงชื่อซื้อที่ดินพิพาทนั้น และความจริง ส. และจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อในโฉนดในฐานะตัวแทนของโจทก์ดังที่ศาลล่างฟังมา ดังนี้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะฟังเป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์ นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะเพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้อง ทำเป็นหนังสือเป็นข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า 'กรรมการ' มิได้ใช้คำว่า 'คณะกรรมการ' ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) ได้ยกเลิกไปแล้วโดยที่อธิบดีก็มิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์ นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะเพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้อง ทำเป็นหนังสือเป็นข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า 'กรรมการ' มิได้ใช้คำว่า 'คณะกรรมการ' ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) ได้ยกเลิกไปแล้วโดยที่อธิบดีก็มิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาวุธปืนตามกฎหมายแก้ไขใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน ฯลฯ นำไปขอรับอนุญาตหรือนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษซึ่งเมื่อคดียังอยู่ในระหว่างเวลา 90 วัน ก็ต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลานี้กฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่จำเลยแล้ว ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซื้อขายสินค้า แม้ภายหลังมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2502 และ 2504 ยังต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราเดิม
โจทก์เป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้รับใบสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ จึงให้เสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ภาษีบำรุงเทศบาล กับเงินเพิ่มอีก 5 เท่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ซื้อโภคภัณฑ์มา 2 จำนวนเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยยังมิได้เสียภาษีโภคภัณฑ์ ต่อมาปรากฏว่าโภคภัณฑ์นี้ไม่มีอยู่ที่โจทก์ และไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคไป ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะถือได้ว่าโจทก์เอาโภคภัณฑ์นั้นไปใช้อันมิใช่เพื่อกิจการค้าโภคภัณฑ์ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีตามมาตรา 168 และนอกจากนี้โภคภัณฑ์จำนวนหลังโจทก์รับว่าซื้อแล้วมิได้ลงบัญชีรับจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 185 จึงถือว่าเป็นโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อแล้วตามมาตรา 190, 191 อีกด้วย จึงต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และเงินเพิ่ม แม้จะปรากฏต่อมาว่าความจริงโจทก์ได้จำหน่ายโภคภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคไปและยังมิได้เสียภาษีการซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามใบสั่งอยู่เช่นเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องออกใบสั่งใหม่เพื่อเรียกเก็บภาษีสำหรับการจำหน่ายโภคภัณฑ์แก่ผู้บริโภคที่ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นในภายหลัง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับ และพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับ และพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติกฎหมายเดิมที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมยังคงมีผลบังคับใช้ ศาลต้องพิจารณาตามกฎหมายที่แก้ไข
เมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเดิมมิได้ถูกยกเลิกไป เพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมและยังคงเป็นบทบังคับอยู่อย่างเก่าแล้ว แม้โจทก์ฟ้องจะอ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิม ไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษด้วยก็ใช้ได้ และถือเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสัญญาเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: ข้อจำกัดด้านอัตราค่าเช่า และผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไข
สัญญาเช่าที่มีอัตราค่าเช่าไม่เกินกว่าเดือนละ 40 บาทนั้นย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2486
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2489 ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเช่า ซึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วโดยชอบ เหตุกรณีเช่นนี้ ต้องถือว่าผู้เช่าอยู่ในฐานผู้ละเมิด ไม่อยู่ในความคุ้มครอง
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2490 เป็นบทแก้ไขเฉพาะพระราชบัญญัติปี 2489 เท่านั้น การเช่าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติปี 2489 แล้ว ก็อ้างความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติปี 2490 ไม่ได้เช่นเดียวกัน
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2489 ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเช่า ซึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วโดยชอบ เหตุกรณีเช่นนี้ ต้องถือว่าผู้เช่าอยู่ในฐานผู้ละเมิด ไม่อยู่ในความคุ้มครอง
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2490 เป็นบทแก้ไขเฉพาะพระราชบัญญัติปี 2489 เท่านั้น การเช่าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติปี 2489 แล้ว ก็อ้างความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติปี 2490 ไม่ได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายที่ถูกแก้ไขและยกเลิกบางส่วน ศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้
เมื่อมีกฎหมายใหม่แก้ไขความในกฎหมายเก่าเฉพาะบางบทมาตรา โดยบัญญัติให้ยกเลิกบทมาตราเก่าและให้ใช้ความตามกฎหมายใหม่แทนเช่นนี้ โจทย์ฟ้องอ้างมาตราตามเก่าก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายเดิมยังใช้ได้ แม้กฎหมายนั้นถูกแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกบางส่วน
กฏกระทรวงว่าด้วยวิธีจัดการและตั้งอัตราเก็บเงินอากรค่าน้ำลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2456 ข้อ 23 วรรค 5 พ.ร.บ.อากรค่าน้ำแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2472 ม.3 ซึ่งยกเลิกความใน ม.13 แห่ง พ.ร.บ.ฉะบับเดิมนั้นหาได้เป็นผลยกเลิกกฏกระทรวงซึ่งออกตามความใน ม.13 เดิมนั้นด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษกรณีมีมูลฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องคิดราคามูลฝิ่นตามที่กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม และในกรณีที่รัฐบาลไม่ขายมูลฝิ่นให้ปรับตามอัตราต่ำสุด
มีมูลฝิ่นไว้นอกร้านจำหน่ายฝิ่นรัฐบาลโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นผิดตาม พ.ร.บ. ฝิ่นแก้ไขเพิ่มเติม(ฉะบับที่4) 2481 นั้น ต้องปรับคิดตามราคามูลฝิ่น ไม่ใช่คิดตามราคาฝิ่น และเมื่อในที่นั้นรัฐบาลไม่ขายมูลฝิ่น ก็ต้องปรับตามอัตราคั่นต่ำคือ 50 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีภาษีชั้นใน: กำหนด 6 เดือน แม้กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
อายุความฟ้องร้องผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นในมีกำหนด 6 เดือน อ้างฎีกาที่ 824/2459
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การใช้กฎหมายล้มละลายก่อนและหลังฉบับแก้ไข
พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 มาตรา 2 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 27 บัญญัติว่า ให้ยกเลิกความในมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน... และมาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล หรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 เดิม ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 บัญญัติว่า การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้เว้นแต่ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์จะแสดงให้พอใจศาลว่าการโอนหรือการกระทำนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2542 ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2542 เป็นต้นไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายคดีนี้ในวันที่ 16 ตุลาคม 2538 ส่วนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านทั้งสองกระทำขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2536 และผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย คดีนี้จึงเป็นคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 จะมีผลใช้บังคับ คดีระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านทั้งสองจึงต้องใช้บทบัญญัติตามมาตรา 114 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 จะมีผลใช้บังคับ