คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตั้งโรงงาน ประกอบกิจการโรงงานและรับเด็กอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่ถึงสิบห้าปีบริบูรณ์เข้าทำงานในโรงงานดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ดังนี้ แม้ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้อง แต่เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมด และเมื่อปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้ เช่น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานตั้งโรงงาน และฐานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามที่โจทก์ฟ้องและศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ225 แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเช็ค, การใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย, และการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไป ดังนี้ ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ จำเลยฎีกาว่า ศาลฎีกานำคำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลยประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่เห็นด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์, สิทธิอุทธรณ์, และการใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่เบากว่าเดิม
การสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้อง โจทก์ร่วมชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 196 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด บัญญัติเกี่ยวกับโทษไว้ว่าต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ มีอัตราโทษเบากว่าโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด และเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์-กฎหมายใหม่คุ้มครอง: ศาลฎีกาแก้โทษปรับ-จำคุกจากกฎหมายเช็คเก่าเป็นเช็คใหม่
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมย่อมอุทธรณ์คัดค้านของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว และยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 บังคับใช้ ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด มีอัตราโทษเบากว่ากฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ ใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยรับว่าเป็นหนี้ตามเช็คในคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คคดีนี้จริง และขอผ่อนชำระเงินเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อให้นัดฟังคำพิพากษา อีกทั้งยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่งได้ด้วย ส่วนผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาใด ๆ ให้ปรากฎในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวว่าจะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแต่อย่างใด ส่วนคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายก็มีใจความสำคัญว่า โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากตกลงกันได้โจทก์จะถอนฟ้อง แต่ปรากฎว่าจำเลยถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หากโจทก์ถอนฟ้องก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก ขอให้ศาลพิพากษาไปได้เลย ไม่มีข้อความใดที่โจทก์แสถงเจตนาสละสิทธิดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดียวกัน กลับมีข้อความยืนยันให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปเสียอีกดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายดังกล่าว จึงมิใช่การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามนัย ป.วิ.อ.มาตรา39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็ค แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดกำหนดโทษไว้ให้ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ อันเป็นอัตราโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-กฎหมายใหม่มีผล: ศาลแก้โทษจำคุกเป็นปรับจากบทบัญญัติควบคุมอาคารที่แก้ไข
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริงแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คานก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่ 30พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มีพระราชบัญญัติควบคุบอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฎว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วยมีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไขมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขมีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆอันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้นจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลักโดยกำหนดไว้ว่า ผู้กระทำต้องระวางลงโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ และศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่: ศาลอุทธรณ์ยังคงมีอำนาจพิจารณาได้
ขณะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ที่โจทก์ฟ้องยังมิได้ประกาศยกเลิกและขณะมีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แทน ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ ตามที่บทบัญญัติมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 กำหนดให้อำนาจไว้ และมิใช่กรณีที่จะถือว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการใช้มาตรา 10 พ.ร.บ.เช็ค พ.ศ.2534
ขณะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ที่โจทก์ฟ้องยังมิได้ประกาศยกเลิกและขณะมีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 แทน ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ตามที่บทบัญญัติมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กำหนดให้อำนาจไว้ และมิใช่กรณีที่จะถือว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการคุ้มครองคดีที่ค้างพิจารณา
พระราชบัญญัติ ญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติว่า สำหรับบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ศาลนั้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ หมายความรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาระหว่างการประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ดังนั้น ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 ยังมิได้ประกาศยกเลิกแม้ต่อมามีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและคดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ หาใช่ว่าอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่
of 27