พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตยังไม่เกิดผล หากผู้รับประกันยังไม่ได้สนองรับคำเสนอและออกกรมธรรม์
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามกรมธรรม์ แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ครอบครองรถ แต่เกิดละเมิดจากการใช้งาน
เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกก็แต่เฉพาะในกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จะไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ครอบครองและใช้รถยนต์เพราะได้ให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อไป แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดดังกล่าว จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วย.
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2529)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาท ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1 (ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1 (ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคุ้มครองประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกรณีถูกฆ่าชิงทรัพย์ขณะขับรถ: ถือเป็นอุบัติเหตุตามกรมธรรม์หรือไม่
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่จำเลย และได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลผู้ขับขี่ไม่ระบุนามไว้ด้วยโดยมีเงื่อนไขว่า จะใช้บังคับเฉพาะเมื่อผู้ขับขี่ที่ได้รับอนุญาตจากผู้เอาประกันภัยที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ได้รับอุบัติเหตุในขณะที่กำลังขับขี่หรือกำลังขึ้นหรือลงจากรถยนต์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น ปรากฏว่าระหว่างอายุสัญญา พ.ผู้ขับขี่รถยนต์ของโจทก์ได้ขับรถยนต์ดังกล่าวจะไปส่งของที่กรุงเทพมหานครระหว่างทางได้ถูกคนร้ายชิงเอารถยนต์ไป และคนร้ายได้ฆ่า พ.ถึงแก่ความตายเนื่องจากคนร้ายมีเจตนาลักรถยนต์ของโจทก์ พบศพอยู่ห่างถนนที่เกิดเหตุประมาณ 7 เส้นดังนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นแก่ พ. เป็นผลโดยตรงหรือ เนื่องมาจากการชิงทรัพย์นั่นเอง และได้เกิดขึ้นขณะ พ. กำลัง ขับขี่รถยนต์อยู่ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันภัย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุมิได้ให้คำจำกัดความว่า "อุบัติเหตุ" ไว้ จึงต้องถือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ซึ่งให้ความหมายไว้ว่า เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หรือความบังเอิญเป็น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุมิได้ให้คำจำกัดความว่า "อุบัติเหตุ" ไว้ จึงต้องถือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ซึ่งให้ความหมายไว้ว่า เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หรือความบังเอิญเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องระบุเจ้าของรถเพียงพอ แม้ไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ การใช้รถโดยประมาทไม่ถือเป็นความผิดตามกรมธรรม์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งมีลูกจ้างเป็นผู้ขับขี่และกล่าวหาว่ารถยนต์คันดังกล่าวบรรทุกข้าวมีน้ำหนักรวมรถยนต์ประมาณ 27 ตันครึ่งแล่นผ่านสะพานไม้ชั่วคราวซึ่งโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและได้ติดตั้ง ป้ายห้ามรถที่มีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่า 10 ตันแล่นผ่านไว้แล้วทั้งนี้ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่น เป็นเหตุให้สะพานไม้ชั่วคราวยุบพังชำรุดใช้การไม่ได้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,421,437 นั้นเป็นการบรรยายฟ้องให้ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าจำเลยในฐานะเจ้าของ และ ผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 437และการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 437เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ขับรถยนต์ว่าเป็นใครก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ตามคำให้การของจำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุคดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าขณะเกิดเหตุละเมิดจำเลยได้อยู่หรือนั่งมาในรถยนต์คันเกิดเหตุหรือไม่ จำเลยร่วมไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.10 ให้เป็นประเด็นไว้อย่างชัดแจ้งจึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในข้อนี้ การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายที่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีความหมายว่าเป็นการใช้รถเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยตรงเช่นใช้รถเป็นพาหนะไปปล้นหรือจงใจบรรทุกของหนีภาษีเป็นต้นแต่การใช้โดยผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกยังเรียกไม่ได้ว่าใช้รถยนต์ใน ทางที่ ผิดกฎหมายจำเลยร่วมจึงไม่พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระค่าเสียหายครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2คู่กรณีมีเจตนามุ่งหมายที่จะระงับข้อพิพาทที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยที่ 1 ใน ฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จึงมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมลงชื่อด้วยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การวินิจฉัยต้องพิจารณาทั้งการรับประกันภัยและความรับผิดตามสัญญา
คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ หากต้องรับผิดจำเลยที่ 3 ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง มิได้ตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้หรือไม่ ฉะนั้นเพียงข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ จะให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่ได้ ต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ต้องพิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยควบคู่ไปด้วย
คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ หากต้องรับผิดจำเลยที่ 3 ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง มิได้ตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้หรือไม่ ฉะนั้นเพียงข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ จะให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่ได้ต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผู้รับประกันภัยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ ไม่ต้องบรรยายกรมธรรม์และส่งเอกสาร
ผู้รับประกันภัยรถคันที่ถูกชนเป็นโจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิบังคับให้จำเลยรับผิดด้วยในมูลละเมิด มิได้ฟ้องขอให้บังคับตาม กรมธรรม์ประกันภัยโดยตรง โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมากับฟ้อง ทั้งจำเลยก็ให้การได้ถูกว่าโจทก์ไม่ได้รับช่วงสิทธิฟ้องคดีนี้ คำฟ้องของโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 และมิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล
กรมธรรม์ประกันภัยโจทก์หาไม่พบ และต้นฉบับอยู่ที่สำนักงานประกันภัยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) ศาลย่อมรับฟังเอกสารได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 และมิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล
กรมธรรม์ประกันภัยโจทก์หาไม่พบ และต้นฉบับอยู่ที่สำนักงานประกันภัยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) ศาลย่อมรับฟังเอกสารได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่นำสืบข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนเองกล่าวอ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2. ซึ่งได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ให้การรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไว้จริง แต่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย เพราะจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถยนต์คันนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้ออ้างดังกล่าวจำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นในคำให้การ จึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้