คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมการผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดอาญา: กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดเมื่อบริษัทกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคล จึงเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอำนาจของกฎหมาย ดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำผิด ก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในความผิดอาญาของนิติบุคคล: กรรมการผู้จัดการกระทำตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์
นิติบุคคลย่อมมีเจตนาในการกระทำผิดทางอาญาได้ ถ้ากรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้นได้กระทำไปตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนไว้และนิติบุคคลนั้นได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต่อบริษัทจำกัด โดยไม่ได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการเป็นส่วนตัว กรรมการผู้จัดการไม่ต้องรับผิด
ฟ้องคดีอาญาที่ฟ้องบริษัทจำกัดเป็นจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการเป็นส่วนตัวด้วยแล้ว กรรมการผู้จัดการไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นบริษัทจำกัด โดยไม่ฟ้องกรรมการผู้จัดการเป็นการส่วนตัว ทำให้กรรมการผู้จัดการไม่ต้องรับผิด
ฟ้องคดีอาญาที่ฟ้องบริษัทจำกัดเป็นจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการเป็นส่วนตัวด้วยแล้วกรรมการผู้จัดการไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย: กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดแม้ทำในนามบริษัท
สินค้าที่สั่งให้ส่งมาจากต่างประเทศจนถึงด่านศุลกากรแล้วถือได้ว่า ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
จำเลยเป็นผู้สั่งให้ส่งสินค้าของกลางเข้ามาในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทนิติบุคคล จำเลยจึงเป็นผู้กระทำการซึ่งเป็นความผิดจะอ้างว่าทำในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ในคดีทุจริต: องค์การค้ามอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญา กรรมการผู้จัดการมีสิทธิร้องทุกข์
บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยได้จ้างเหมาสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดให้ขนน้ำตาลที่จังหวัดลำปางมาส่งโกดังของบริษัทกรรมการผู้จัดการสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดซึ่งเป็นองค์การค้าสังกัดกระทรวงพาณิชย์ได้ลงชื่อมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาจ้างเหมาในฐานะเป็นคู่สัญญาแทน สำนักงานกลางบริษัทจังหวัด และจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการขนส่งน้ำตาลรายนี้ เมื่อเกิดมีการทุจริตยักยอกน้ำตาลที่รับจัดการขนส่งขึ้นกรรมการผู้จัดการสำนักงานกลางบริษัทจังหวัด ย่อมเป็นผู้เสียหายด้วยคนหนึ่งจึงมีอำนาจร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการต่อการจ่ายเงินทดรองและค่าจ้าง แม้มิได้ฟ้องในฐานะตัวแทน
โจทก์ฟ้องกรรมการผู้จัดการสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นจำเลยที่ 1 กระทรวงพาณิชย์เป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายอำนาจและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและบรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นกระทรวงควบคุมกิจการสำนักงานนี้ โจทก์ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 1 ให้จัดการขนส่งน้ำตาลในกิจการ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าจ้างและเงินที่โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนตัวทดรองไปก่อนจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ดังนี้ มิได้หมายความว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด การที่โจทก์กล่าวถึงจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้ควบคุมกิจการของสำนักงาน ไม่พอที่จะให้ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ฉะนั้นแม้ภายหลังโจทก์จะถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 เสียจำเลยที่ 1 ก็ย่อมถูกฟ้องให้รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6176/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมการผู้จัดการในความผิดของบริษัท และการพิพากษาเกินคำขอ/ขาดส่วนร่วม
ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น" คดีนี้ แม้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 90/5 มาด้วย จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 จึงเป็นการเกินคำขอ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 อาจเป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8547/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการในการตัดสินข้อพิพาทตามสัญญา และผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ขณะที่ ส. กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์สั่งให้ฝ่ายการคลังคืนเงินส่วนที่หักไว้เกินกว่าค่าปรับให้แก่จำเลยทั้งสาม ส. มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ตามหนังสือรับรอง ซึ่งไม่มีข้อจำกัดอำนาจของกรรมการแต่อย่างใด โดยเงื่อนไขทั่วไปแห่งสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาท มีข้อตกลงชัดแจ้งว่าในกรณีที่มีการโต้แย้งหรือมีข้อพิพาทระหว่างผู้รับเหมา (จำเลยทั้งสาม) และโจทก์ที่เกี่ยวกับสัญญานี้ คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องเสนอข้อพิพาทไปยังผู้อำนวยการของโจทก์ (ปัจจุบัน คือ กรรมการผู้จัดการใหญ่) เพื่อทำการตัดสิน คำตัดสินของผู้อำนวยการของโจทก์ถือเป็นที่สุดและเป็นข้อสรุป เว้นเสียแต่ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับเหมา (จำเลยทั้งสาม) จะร้องขอให้ส่งข้อพิพาทไปยังอนุญาโตตุลาการ เมื่อปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับค่าปรับเกิดขึ้น จำเลยทั้งสามมีหนังสือโต้แย้งเพื่อให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ตัดสินชี้ขาด ส. ได้เรียกพนักงานผู้เกี่ยวข้องไปร่วมประชุมพิจารณาและต่อมามีคำสั่งให้ฝ่ายการคลังของโจทก์คืนเงินส่วนที่หักไว้เกินกว่าค่าปรับให้จำเลยทั้งสาม เห็นได้ว่า ส. มีคำตัดสินดังกล่าวในขอบอำนาจของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ตามข้อสัญญาข้างต้น ส่วนคำตัดสินชี้ขาดจะถูกต้องหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่โจทก์อ้างว่า ส. มิได้นำข้อพิพาทและคำตัดสินดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการของโจทก์เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจนั้น เรื่องดังกล่าวไม่ว่าจะมีระเบียบของโจทก์กำหนดไว้หรือไม่ หรือเป็นเรื่องสำคัญซึ่ง ส. ควรนำข้อพิพาทและคำตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทให้คณะกรรมการของโจทก์พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เป็นเรื่องภายในของโจทก์ ไม่มีผลทำให้คำตัดสินชี้ขาดของ ส. ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าวเสียไปแต่อย่างใด หากคำตัดสินชี้ขาดของ ส. ไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ก็ต้องไปว่ากล่าวเอากับ ส. ซึ่งก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ส. ต่อศาลปกครองกลางและศาลปกครองกลางพิพากษาให้ ส. ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหนึ่งแก่โจทก์อยู่แล้ว โจทก์จะยกเอาเหตุที่ ส. ไม่นำคำตัดสินชี้ขาดไปให้คณะกรรมการของโจทก์พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ มาเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตไม่ได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 822 บัญญัติไว้ เพราะทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกับ ส. กระทำการโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12328/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักกระแสไฟฟ้า - ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ - การยอมชำระหนี้เป็นหลักฐาน
แม้โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามเป็นคนตัดสายคอนโทรลเคเบิล แต่จุดที่มีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 อยู่ภายในบริเวณรั้วของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการยากที่บุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องจะเข้าไปตัดสายคอนโทรลเคเบิลในที่เกิดเหตุได้ และการที่สายคอนโทรลเคเบิลถูกตัด มีผลทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าคิดค่าไฟฟ้าต่ำกว่าความจริง ทั้งยังพบว่ามีสายไฟฟ้าซึ่งต่อกับสายคอนโทรลเคเบิลถูกลากไปที่โรงเก็บของจำเลยที่ 1 แม้สายไฟฟ้าดังกล่าวถูกตัดไปและไม่พบสวิตช์ควบคุมในโรงเก็บของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสามไม่ได้นำสืบปฏิเสธว่าสายคอนโทรลเคเบิลไม่ได้ถูกตัด ประกอบกับจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าปรับกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าและตกลงยอมชำระค่าไฟฟ้าที่มีการปรับปรุงเพิ่ม ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงมาก หากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำผิดจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยที่ 1 จะยอมเสียค่าปรับและทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ลักกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิด ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
of 6