คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรโชก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขู่ให้คิดบัญชีหุ้นส่วน ไม่เป็นกรรโชก แต่เป็นการกระทำผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นทำการก่อสร้างโรงเรียนร่วมกัน จำเลยพาพวกซึ่งมีอาวุธปืนติดตัวไปขู่เข็ญให้โจทก์ร่วมคิดบัญชีการเงินเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงเรียน โจทก์ร่วมไม่ยอมคิดบัญชีประกอบกับขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามา จำเลยกับพวกจึงบังคับให้โจทก์ร่วมคิดบัญชีไม่สำเร็จ เช่นนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพยายามกรรโชก เพราะจำเลยไม่มีทางได้ประโยชน์ในทางทรัพย์สินโดยมิชอบแต่อย่างใด แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามกระทำผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80, 83เพราะจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้โจทก์ร่วมกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตจนยอมคิดบัญชีให้ และจำเลยได้กระทำไปโดยตลอดแล้วเพื่อให้โจทก์ร่วมกลัวและปฏิบัติตามความประสงค์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778-1779/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมเพื่อเรียกค่าไถ่: ความผิดฐานจับบุคคลอายุเกิน 13 ปี ไม่ใช่กรรโชก
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนร้าย 7 คนไปที่บ้านผู้เสียหาย 2 คน อยู่ข้างล่าง 5 คน ซึ่งมีจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยขึ้นไปบนเรือน. พวกจำเลยคนหนึ่งเรียกเอาเงิน 2,000 บาท ครั้นผู้เสียหายว่าไม่มี พวกจำเลยคนนั้นจึงใช้ปืนจี้พาผู้เสียหายลงเรือนไป โดยบอกภรรยาผู้เสียหายว่าถ้าต้องการสามีคืนให้หาเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ เมื่อคนร้ายไปแล้ว มีผู้ช่วยพาภรรยาผู้เสียหายติดตามไปนำเงิน100 บาท ไปด้วยเพื่อไถ่ตัวผู้เสียหาย เมื่อไปพบจำเลยกับพวกนั่งอยู่กลางทุ่งนา ภรรยาผู้เสียหายเอาเงินจำนวนนั้นมอบให้แก่พวกจำเลยคนที่เป็นผู้เรียกเงิน แต่พวกจำเลยไม่ยอมปล่อยตัวผู้เสียหายจนกว่าจะได้เงินครบตามที่เรียกร้อง ภรรยาผู้เสียหายจึงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินคดีต่อไป พฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดฐานจับคน (อายุเกิน 13 ปี) ไปเรียกค่าไถ่ หาใช่กรรโชกธรรมดาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778-1779/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจับคนเรียกค่าไถ่: พฤติการณ์สำคัญกว่ากรรโชกธรรมดา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนร้าย 7 คนไปที่บ้านผู้เสียหาย 2 คน อยู่ข้างล่าง 5 คน ซึ่งมีจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยขึ้นไปบนเรือน พวกจำเลยคนหนึ่งเรียกเอาเงิน 2,000 บาท ครั้นผู้เสียหายว่าไม่มี พวกจำเลยคนนั้นจึงใช้ปืนจี้พาผู้เสียหายลงเรือนไป โดยบอกภรรยาผู้เสียหายว่าถ้าต้องการสามีคืนให้หาเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ เมื่อคนร้ายไปแล้ว มีผู้ช่วยพาภรรยาผู้เสียหายติดตามไปนำเงิน 100 บาท ไปด้วยเพื่อไถ่ตัวผู้เสียหาย เมื่อไปพบจำเลยกับพวกนั่งอยู่กลางทุ่งนา ภรรยาผู้เสียหายเอาเงินจำนวนนั้นมอบให้แก่พวกจำเลยคนที่เป็นผู้เรียกเงิน แต่พวกจำเลยไม่ยอมปล่อยตัวผู้เสียหายจนกว่าจะได้เงินครบตามที่เรียกร้อง ภรรยาผู้เสียหายจึงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินคดีต่อไปพฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดฐานจับคน(อายุเกิน 13 ปี)ไปเรียกค่าไถ่ หาใช่กรรโชกธรรมดาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778-1779/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จับกุมเรียกค่าไถ่: ความผิดฐานจับบุคคลอายุเกิน 13 ปีเรียกค่าไถ่ ไม่ใช่กรรโชกธรรมดา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนร้าย 7 คนไปที่บ้านผู้เสียหาย 2 คน อยู่ข้างล่าง 5 คน ซึ่งมีจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยขึ้นไปบนเรือน. พวกจำเลยคนหนึ่งเรียกเอาเงิน 2,000 บาท ครั้นผู้เสียหายว่าไม่มี. พวกจำเลยคนนั้นจึงใช้ปืนจี้พาผู้เสียหายลงเรือนไป โดยบอกภรรยาผู้เสียหายว่าถ้าต้องการสามีคืนให้หาเงินจำนวนดังกล่าวไปให้. เมื่อคนร้ายไปแล้ว มีผู้ช่วยพาภรรยาผู้เสียหายติดตามไปนำเงิน100 บาท ไปด้วยเพื่อไถ่ตัวผู้เสียหาย. เมื่อไปพบจำเลยกับพวกนั่งอยู่กลางทุ่งนา. ภรรยาผู้เสียหายเอาเงินจำนวนนั้นมอบให้แก่พวกจำเลยคนที่เป็นผู้เรียกเงิน. แต่พวกจำเลยไม่ยอมปล่อยตัวผู้เสียหายจนกว่าจะได้เงินครบตามที่เรียกร้อง. ภรรยาผู้เสียหายจึงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินคดีต่อไป. พฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดฐานจับคน(อายุเกิน 13 ปี)ไปเรียกค่าไถ่ หาใช่กรรโชกธรรมดาไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อละเว้นการจับกุม ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก แต่ผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ยกคำขอของโจทก์ในข้อที่ขอให้ใช้ทรัพย์มิใช่เป็นการแก้ไขมาก จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ได้เรียกเงินจากผู้ที่จำเลยจับกุมตัวมาแล้วปล่อยผู้ต้องหาไป อันเป็นการเรียกหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหาย อันเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 5 หามีความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 อีกบทหนึ่งด้วยไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยมิได้เป็นผิดตามมาตรา 337 แล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยใช้ทรัพย์หรือคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ตัดสินว่าการข่มขู่เรียกเงินหลังรับเงินไปแล้ว และการขู่ว่าจะทำให้ถูกจำคุก ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
ศาลเชื่อว่า จำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมงๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
โจทก์ไม่ทราบว่ามีเอกสาร ล.1 ที่จำเลยอ้าง เมื่อจำเลยนำมาแสดงชั้นพิจารณา โจทก์เห็นว่าน่าจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ย่อมมีสิทธิขออนุญาตศาลส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ได้ตามมาตรา 125 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยมาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยอ้างสำนวนความของศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อแสดงว่าจำเลยมีฐานที่อยู่เพราะจำเลยปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้น การที่ศาลจับพิรุธที่ปรากฏได้ในบางสำนวนแล้วไม่เชื่อว่าเป็นความจริงว่าจำเลยได้อยู่ปฏิบัติงานในวันนั้นๆ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะชั่งน้ำหนักคำพยาน หาใช่ทำการพิสูจน์โต้แย้งแทนโจทก์ไม่
จำเลยนำเอกสารมาซักค้านพยานโจทก์ก่อนเวลาที่จำเลยอ้างและนำสืบเพื่อสะดวกแก่การจด ศาลให้จำเลยส่งเอกสารนั้นทั้งหมดโดยศาลจดรายงานไม่ให้โจทก์คัดจนกว่าจำเลยจะอ้าง ก็เห็นได้ชัดว่าไม่เสียความยุติธรรมแต่อย่างใด
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่าถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก จนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลย เพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาพชื่อเสียง ของโจทก์ร่วม เป็นความผิดตามมาตรา 337 (ปัญหาสุดท้ายพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกรรโชกข่มขืนใจเอาทรัพย์สินและการสนับสนุนความผิด
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุรา แล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของ ป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบข. ซึ่งเป็นกำนัน ได้เล่าเรื่องให้ฟัง ข. พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินเอาไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป. ส. และ ด. การกระทำของ ป. ส. และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145, 310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของ ช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับ ช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียว ขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกรรโชกและการสนับสนุนความผิด ไม่ใช่ฉ้อโกง ศาลแก้ฟ้องฐานฉ้อโกงและยกคำขอคืนเงิน
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบ ช.ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟังช.พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส.และด. การกระทำของป.ส.และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145,310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียวขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ แม้ไม่มีความผิดฐานกรรโชก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชก ทางพิจารณาได้ความเพียงว่า จำเลยไปพูดขู่เอาเงินผู้เสียหายโดยว่า ถ้าไม่ให้จะทำร้าย แต่ผู้เสียหายไม่ได้ให้เงินไปหรือมิได้ สัญญาว่าจะให้เงิน เพราะได้แจ้งความไว้แล้ว และเจ้าพนักงานตำรวจมารอให้ความอารักขาอยู่แล้ว จึงเข้าจับกุมจำเลย แต่โดยมีความผิดฐานกรรโชค รวมการกระทำฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพอยู่ด้วย ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจึงย่อมลงโทษฐานทำให้เลื่อมเสียอิสระภาพตามที่พิจารณาได้ความได้ โดยอาศัย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
(อ้างฎีกาที่ 358/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ แม้ไม่มีความผิดฐานกรรโชก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชก ทางพิจารณาได้ความเพียงว่า จำเลยไปพูดขู่เอาเงินผู้เสียหายโดยว่า ถ้าไม่ให้จะทำร้ายแต่ผู้เสียหายไม่ได้ให้เงินไปหรือมิได้สัญญาว่าจะให้เงิน เพราะได้แจ้งความไว้แล้ว และเจ้าพนักงานตำรวจมารอให้ความอารักขาอยู่แล้วจึงเข้าจับกุมจำเลยแต่โดยที่ความผิดฐานกรรโชกรวมการกระทำฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพอยู่ด้วย ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลจึงย่อมลงโทษจำเลยฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพตามที่พิจารณาได้ความได้ โดยอาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย(อ้างฎีกาที่ 358/2481)
of 9