พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองหลังการขายทอดตลาด: สิทธิและกรอบเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 หาใช่ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามมาตรา 287 ไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 289 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องเสีย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 684/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกันส่วนทรัพย์สินที่ถูกริบในคดีอาญา: กรอบเวลาตาม ป.อ.ม.36 มิใช่ตาม ป.วิ.พ.
เจ้าของร่วมในทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ และไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ขอให้กันส่วนของตนให้กึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของอันแท้จริงขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. ม.36. จึงต้องกระทำต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่ภายใน 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดเพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกลางที่ถูกริบในคดีอาญา หาใช่เป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินในการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การนอกกรอบเวลาและผลกระทบทางกฎหมาย การส่งหมายเรียกผ่านญาติ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การ เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228(3), 247
ตามรายงานเจ้าหน้าที่ของพนักงานศาลได้ระบุว่า ว. เป็นพี่ชายจำเลยมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ทั้งในหมายเรียกก็ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้จำเลยทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลภายใน 8 วัน ฉะนั้น เหตุที่จำเลยกล่าวอ้างว่าในวันที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกนั้น จำเลยไม่ได้อยู่บ้านเพราะสามีซึ่งป่วยไปรักษาตัวที่กรุงเทพมหานคร ว. ซึ่งเป็นญาติและอยู่บ้านเดียวกับจำเลยเป็นผู้รับหมายเรียกไว้ ครั้นเมื่อ จำเลยนำสามีกลับมาถึงบ้านตรงกับวันที่ครบกำหนดยื่นคำให้การ จึงโทรขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปอีก 7 วัน เพื่อไปติดต่อหาทนายความ ที่กรุงเทพมหานครแก้ต่างให้นั้น ไม่เป็นเหตุให้รับคำให้การของจำเลยได้
กรณีของจำเลยเป็นการยื่นคำให้การพ้นกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้มิใช่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 จึงรับคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาในฐานะที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 199 ไม่ได้
ตามรายงานเจ้าหน้าที่ของพนักงานศาลได้ระบุว่า ว. เป็นพี่ชายจำเลยมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ทั้งในหมายเรียกก็ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้จำเลยทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลภายใน 8 วัน ฉะนั้น เหตุที่จำเลยกล่าวอ้างว่าในวันที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกนั้น จำเลยไม่ได้อยู่บ้านเพราะสามีซึ่งป่วยไปรักษาตัวที่กรุงเทพมหานคร ว. ซึ่งเป็นญาติและอยู่บ้านเดียวกับจำเลยเป็นผู้รับหมายเรียกไว้ ครั้นเมื่อ จำเลยนำสามีกลับมาถึงบ้านตรงกับวันที่ครบกำหนดยื่นคำให้การ จึงโทรขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การออกไปอีก 7 วัน เพื่อไปติดต่อหาทนายความ ที่กรุงเทพมหานครแก้ต่างให้นั้น ไม่เป็นเหตุให้รับคำให้การของจำเลยได้
กรณีของจำเลยเป็นการยื่นคำให้การพ้นกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้มิใช่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 จึงรับคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาในฐานะที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 199 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการขอพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องดำเนินการภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
การที่จำเลยรับคำบังคับแล้วเข้าใจว่าต้องคอยพบเจ้าพนักงานมาติดต่อและจำเลยต้องดูแลกิจการซ่อมรถ หากกิจการหยุดชะงักลงจะได้รับความเสียหาย ครั้นจำเลยไปกรุงเทพมหานครเพื่อซื้ออะไหล่ซ่อมรถ ได้ติดต่อที่ศาลแพ่งจึงทราบว่าถูกฟ้องแต่เป็นเวลาใกล้หมดเวลาทำการของศาลแล้ว ไม่สามารถติดต่อทนายความให้ยื่นคำขอพิจารณาใหม่ได้ทันในวันนั้น มิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และแม้จำเลยสามารถหาทนายความให้ยื่นคำขอพิจารณาใหม่ได้ทันก็ล่วงพ้นเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณาคดี การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องดำเนินการภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุจริต
การที่จำเลยรับคำบังคับแล้วเข้าใจว่าต้องคอยพบเจ้าพนักงานมาติดต่อและจำเลยต้องดูแลกิจการซ่อมรถ หากกิจการหยุดชะงักลงจะได้รับความเสียหาย ครั้นจำเลยไปกรุงเทพมหานครเพื่อซื้ออะไหล่ซ่อมรถ ได้ติดต่อที่ศาลแพ่งจึงทราบว่าถูกฟ้องแต่เป็นเวลาใกล้หมดเวลาทำการของศาลแล้ว ไม่สามารถติดต่อทนายความให้ยื่นคำขอพิจารณาใหม่ได้ทันในวันนั้น มิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ และแม้จำเลยสามารถหาทนายความให้ยื่นคำขอพิจารณาใหม่ได้ทัน ก็ล่วงพ้นเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนาถาหลังพ้นกรอบเวลา และคดีไม่มีมูลฟ้องร้อง ศาลไม่อนุญาตให้ดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คนอนาถาประการหนึ่ง และคดีไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องอีกประการหนึ่ง โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรคสุดท้ายประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของโจทก์ที่ 2 ไม่มีมูลฟ้องร้องย่อมยุติดังนั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้โจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มเติมตามคำร้องของโจทก์ที่ 2 และฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคนยากจนก็ตาม แต่คดีต้องฟังยุติว่าคดีของโจทก์ที่ 2 ไม่มีมูลจะฟ้องร้อง ศาลก็จะอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาหาได้ไม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ที่ 2 ใหม่ เพื่อนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าโจทก์ที่ 2 ยากจนจริง โดยไม่ทำการไต่สวนนั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีภาษีหลังถอนฟ้องเดิม สิทธิฟ้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์เคยใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ แต่แล้วขอถอนฟ้องไป ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวอีก แต่เกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วคดีของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจมาฟ้องใหม่ได้อีก เพราะการถอนคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง กระทำให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709-710/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การนอกเหนือกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัย
จำเลยมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากวันชี้สองสถานแล้วถึงหนึ่งเดือนเศษ เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้อะไรขึ้นใหม่ นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมที่มีอยู่ในคำให้การเดิม ข้อต่อสู้ที่ขอเพิ่มเติมใหม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยย่อมทราบได้ดีว่ามีอยู่แล้วมาแต่ต้น ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อนวันชี้สองสถานได้แม้จำเลยจะสงวนสิทธิที่จะฟ้องบังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งไว้ในคำให้การเดิมและคดีมิใช่เป็นคดีอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งได้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอ้างพยานนอกกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด: เหตุสมควร & ความเที่ยงธรรมในการพิจารณาคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม นั้น
ถ้าคู่ความที่มิได้ระบุอ้างพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ขออนุญาตระบุพยานก่อนศาลพิพากษาคดีศาลอาจอนุญาตตามคำขอได้เมื่อมีเหตุอันสมควรและศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น
โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วันอ้างว่าโจทก์ไปเที่ยวหาซื้อสินค้ามาใส่ร้านจำเลยมิได้คัดค้านเหตุที่โจทก์อ้างว่าไปหาซื้อสินค้าว่าไม่เป็นความจริงขณะนั้นคดียังมิได้มีการสืบพยานอย่างใดจะถือว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันหรือประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดียังไม่ได้โจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียงวันเดียว พฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานได้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 88 วรรคสาม
ถ้าคู่ความที่มิได้ระบุอ้างพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ขออนุญาตระบุพยานก่อนศาลพิพากษาคดีศาลอาจอนุญาตตามคำขอได้เมื่อมีเหตุอันสมควรและศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น
โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วันอ้างว่าโจทก์ไปเที่ยวหาซื้อสินค้ามาใส่ร้านจำเลยมิได้คัดค้านเหตุที่โจทก์อ้างว่าไปหาซื้อสินค้าว่าไม่เป็นความจริงขณะนั้นคดียังมิได้มีการสืบพยานอย่างใดจะถือว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันหรือประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดียังไม่ได้โจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียงวันเดียว พฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานได้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 88 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินรางวัลสลากหาย: สำนักงานสลากฯจ่ายได้แม้ไม่มีสลาก, กรอบเวลา 10 ปีตามกฎหมาย
ระเบียบและข้อกำหนดของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ว่า เงินรางวัลจะจ่ายแก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกต้องนำมาขอรับเงินนั้น เป็นเพียงเพื่อให้ทางสำนักงานสลากฯมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัล ไม่ใช่ระเบียบหรือข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหาย เมื่อโจทก์มีหลักฐานว่าถูกรางวัลแต่สลากหายทางสำนักงานสลากก็ต้องจ่ายเงินให้
ผู้ที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลมีสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งจะกำหนดสิทธิเรียกร้องให้มารับภายใน 3 เดือนมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.
ผู้ที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลมีสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งจะกำหนดสิทธิเรียกร้องให้มารับภายใน 3 เดือนมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.