พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำสัญญาซื้อขายของภริยาผู้ตาย: สัญญาไม่ผูกพันกองมรดกหากไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก
สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาระหว่างนาย ฤ.โดยนาง บ. (จำเลยที่ 1) ผู้จะขายกับโจทก์ผู้จะซื้อ และข้อ 2.2 วรรคสองระบุว่าผู้จะขายตกลงไปขอจัดตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเพื่อจะโอนที่ดินที่จะขายให้แสดงว่าโจทก์ทราบดีขณะทำสัญญาว่านาย ฤ. เจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมแล้ว ดังนั้นการจัดการทรัพย์มรดกจะต้องทำโดยผู้จัดการมรดก จึงจะมีผลผูกพันกองมรดก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นภริยาของนาย ฤ. แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก ไม่มีอำนาจทำสัญญารายพิพาทแทนนาย ฤ. ทั้งจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะส่วนตัวก็ไม่ได้เพราะสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่าทำแทนนาย ฤ. สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวหรือกองมรดกของนาย ฤ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหลังเจ้าของเสียชีวิต สัญญาไม่ผูกพันกองมรดก หากผู้ทำสัญญาไม่ใช่ผู้จัดการมรดก
สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาระหว่างนายฤ.โดยนาง บ. (จำเลยที่ 1) ผู้จะขายกับโจทก์ผู้จะซื้อ และข้อ 2.2 วรรคสอง ระบุว่าผู้จะขายตกลงไปขอจัดตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเพื่อจะโอนที่ดินที่จะขายให้แสดงว่าโจทก์ทราบดีขณะทำสัญญาว่านาย ฤ. เจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมแล้ว ดังนั้นการจัดการทรัพย์มรดกจะต้องทำโดยผู้จัดการมรดก จึงจะมีผลผูกพันกองมรดก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นภริยาของนาย ฤ. แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจทำสัญญารายพิพาทแทนนาย ฤ. ทั้งจะฟังว่าจำเลยที่ 1ทำในฐานะส่วนตัวก็ไม่ได้ เพราะสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่าทำแทนนายฤ.สัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวหรือกองมรดกของนาย ฤ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก พิจารณาประโยชน์กองมรดกและคุณสมบัติผู้ร้อง
ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของกองมรดก และอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ทำให้ศาลปฏิบัติในการตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกไม่จำต้องบรรยายถึงบทบังคับที่ให้ศาลต้องปฏิบัติดังกล่าวไว้ในคำร้อง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านมิได้อ้างในคำร้องว่า ผู้คัดค้านเป็นบุคคลไม้ต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงหาเป็นเหตุที่จะทำให้ผู้คัดค้านไม่อาจเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่ผู้ร้องฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในการขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
คำว่า "ผู้มีส่วนได้เสีย" ตามมาตรา 1713 แห่ง ป.พ.พ.ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง เมื่อกองมรดกของ ส. ซึ่งตกได้แก่มารดาผู้ร้องแต่มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตายไปแล้ว กองมรดกของ ส. ย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ส่วนสิทธิในการรับมรดกของส.ผู้ตายว่าทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ร้องเพียงใดนั้น เป็นกรณีที่จะต้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 ที่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้น หาจำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรม หรือทางพินัยกรรมของผู้มรณะโดยตรง บุคคลใดก็ตามที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกก็ชอบที่จะร้องขอได้ การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ให้ตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์คือควรตั้งทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ใกล้ชิดกับเจ้ามรดกมากที่สุดและมีความประพฤติดี ในคดีแพ่งนั้นศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่และแม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ไม่เป็นทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ที่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือทางพินัยกรรมของผู้มรณะโดยตรงบุคคลใดที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกก็ชอบที่จะร้องขอได้ เมื่อ ง. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกจึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดากับบุตรทั้งสามและ ญ.ภริยาของเจ้ามรดก แต่ที่ดินพิพาทยังไม่ได้แบ่ง ญ. ก็ถึงแก่ความตายดังนี้ สิทธิในที่ดินพิพาทในส่วนที่ตกได้แก่ ญ. จึงเป็นมรดกของญ.ที่ต้องตกได้แก่ผู้คัดค้านกับถ. บิดามารดาและบุตรทั้งสามของ ญ. ผู้คัดค้านย่อมมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ง. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3621/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กองมรดกไม่มีอำนาจฟ้องร้องได้ เพราะไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลจะมีได้ก็แต่เฉพาะบุคคลเท่านั้นซึ่งคำว่าบุคคลหมายถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กองมรดกของผู้ตายหามีกฎหมายใดบัญญัติให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่ จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกและการชำระหนี้จากกองมรดก: ผู้ครอบครองทรัพย์มิใช่ทายาท ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดก
จำเลยที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีฐานะเพียงผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่ได้เป็นทายาทและไม่ได้เป็นผู้รับมรดกตามกฎหมาย เพราะสิทธิการรับมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวมิได้ถือเอาการครอบครองทรัพย์ของผู้ตายเป็นเกณฑ์เจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้เอาทรัพย์สินจากกองมรดกชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเฉลี่ยทรัพย์: สิทธิของเจ้าหนี้และกองมรดก
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งมีชื่อภรรยาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานที่เป็นทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและภรรยาในคดีอื่นและเป็นผู้รับจำนองที่ดินแปลงที่ถูกยึด ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในเงินที่ขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ส่วนเงินที่เหลือผู้ร้องหาได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ดังนั้น เมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ก็ชอบที่ศาลจะต้องจ่ายเงินสุทธิที่หักจากหนี้บุริมสิทธิ์ให้โจทก์ไปตามสิทธิที่โจทก์มีส่วนได้รับ ผู้ร้องจะมายื่นคำแถลงคัดค้านขอให้งดการจ่ายเงินที่เหลือดังกล่าวทั้งหมดโดยอ้างว่าขอยึดไว้ในคดีอื่นแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกองมรดกจากสัญญาค้ำประกันและมอบสิทธิในเงินฝากเพื่อประกันหนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระและกำหนดเวลาชำระกับหากผิดนัดให้ชำระกันอย่างไรไว้ให้สามารถเข้าใจได้ ส่วนดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อใด เกินกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม คดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยขอเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ คดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 ฟ้องในฐานะส่วนตัว แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นการส่วนตัวโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้อยู่ในฐานะเดียวกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา มิใช่คู่ความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ บันทึกการจำนำเงินฝากประจำ ระบุว่าภริยาจำเลยที่ 2 จำนำเงินฝากประจำของตนไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและ/หรือจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการจำนำเงินฝากเพราะเงินที่ภริยาจำเลยที่ 2ฝากประจำไว้ดังกล่าวตกแก่ผู้รับฝากไปแล้ว การที่ภริยาจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่โจทก์จึงมิใช่การจำนำเงินฝาก แต่เป็นการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาต่างหากจากสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ อันเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลนี้ผูกพันตัวภริยาจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับสินสมรส จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477,1480 ที่จำเลยที่ 2จะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 จำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1