คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การกระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการบังคับใช้ตามมาตรา 9, 108, 108 ทวิ
ป.ที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ บัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม2515 เป็นต้นไปแล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตาม ป.ที่ดิน มาตรา9, 108, 108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องก่อนวันที่ 4มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 9, 108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการแจ้งความผิดตามมาตรา 108 vs. 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อนผู้ฝ่าฝืนจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันที โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำเลย ปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ตามฟ้อง อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและ เป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108,108 ทวิ เมื่อได้ความว่าจำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108 ทวิ แม้อาจเป็น ความผิดตามมาตรา 9,108 และโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 มาด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณามาในฟ้อง จึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินจากการจำหน่ายยาเสพติดเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด ศาลมีอำนาจริบได้
วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองและยึดเฮโรอีนกับสิ่งของอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 ใช้แบ่งบรรจุเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายกับเงินสดของกลางที่จำเลยที่ 2 มาขอซื้อเฮโรอีนและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย ดังนี้ เงินสดของกลางจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยได้กระทำความผิดเพราะการจำหน่ายเฮโรอีนซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาผลิตเฮโรอีนและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้เงินสดของกลางจะไม่ถือเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษฯลฯ อันศาลจะมีอำนาจริบได้ตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อเงินสดของกลางจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการจำหน่ายเฮโรอีน จึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดโดยตรง ศาลย่อมก็มีอำนาจริบเงินสดของกลางนี้ได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำลายหนังสือตักเตือนถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลย ย่อม มีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่นของจำเลยทราบได้การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลยต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นของจำเลย เอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร แม้ไม่ได้ฟ้อง แต่ศาลลงโทษได้ หากข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องเพียงเล็กน้อย
อ. กับพวกบังคับให้ผู้เสียหายถอดทรัพย์สินต่าง ๆ ให้โดยพวกคนร้ายจับผู้เสียหายไว้ อ. บอกผู้เสียหายว่า ลูกพี่ใหญ่ของตนมาแล้ว จากนั้นประมาณ 10 นาที จำเลยขับรถจักรยานยนต์ มาที่เกิดเหตุ พูดคุยกับ อ. อ. เล่าเรื่องให้จำเลยฟังจำเลยถามผู้เสียหายว่าบ้านอยู่ที่ไหน จำเลยเอาทรัพย์สิน ของผู้เสียหายไป และมอบแหวนของผู้เสียหายให้ อ. สวมไว้ แล้วจำเลยขับรถออกไป จึงไม่แจ้งชัดว่าจำเลยสมคบกับอ. และพวกวางแผนเพื่อตระเตรียมการมาเพื่อปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย กับจำเลยมาที่เกิดเหตุหลังจากการปล้นทรัพย์สำเร็จและขาดตอนไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันถึงถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมปล้นทรัพย์ แต่การที่ จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยมีความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ แต่กรณีถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสารสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถ-รู้เห็นการกระทำผิด
กุญแจที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ของกลางมีจำนวน 2 ชุด โดยชุดหนึ่งแขวนไว้ในบ้านเพื่อให้บุคคลในบ้านสามารถหยิบไปใช้ได้ ส่วนอีกชุดหนึ่งจะเก็บรักษาไว้สำหรับเมื่อกุญแจที่แขวนไว้ดังกล่าวสูญหาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ร้อง และส่วนใหญ่จำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีวิ่งราวทรัพย์: พิจารณาการใช้ยานพาหนะในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด ต้องพิจารณาว่ายานพาหนะถูกใช้เพื่อการขนส่งทรัพย์สินก่อนกระทำความผิดหรือไม่
ฉ. ได้ขับรถบรรทุกลากจูงรถพ่วงบรรทุกม้วนกระดาษดราฟท์ เพื่อไปส่งให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อไปถึงสถานที่จะขนถ่าย ม้วนกระดาษดราฟท์ ที่บรรทุกมาทั้งหมดลง จำเลยและ ฉ. กลับร่วมกันนำม้วนกระดาษดราฟท์ ที่บรรทุกอยู่ในรถพ่วงไปขายให้ผู้อื่น เมื่อกระดาษดราฟท์ ที่จำเลยกับพวกลักทรัพย์นั้นได้บรรทุกอยู่บนรถพ่วงซึ่งถูกลากจูงโดยรถบรรทุกเพื่อขนส่ง ไปยังสถานที่ขนถ่ายอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยกับ ฉ.ร่วมกันลักกระดาษดราฟท์ โดยใช้รถข้างต้นซึ่งบรรทุก กระดาษดราฟท์มาแต่แรกและฉ.เป็นลูกจ้างผู้มีหน้าที่ขับรถคันดังกล่าวแล้ว ดังนี้ การกระทำของจำเลยกับ ฉ. จึงมิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่ การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป กรณีไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ แม้จำเลยกับ ฉ. เคยถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน แต่ ฉ.ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฉ.กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 วรรคสาม,336 ทวิส่วนจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาคดีนี้ การกระทำของ จำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ศาลก็ลงโทษ จำเลยตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ หาใช่ว่าเป็นเหตุ ในลักษณะคดีที่จำเลยต้องรับโทษเช่นเดียวกับ ฉ. ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำผิดในคดีปัจจุบัน ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีฆ่า: การกระทำของผู้ถูกกระทำรุนแรงและการป้องกันสิทธิของคู่สมรส
ผู้ตายเคยกอดปล้ำข่มขืนกระทำชำเราล. ภริยาจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วจำเลยก็ไม่เอาเรื่องครั้นถูกจำเลยต่อว่าผู้ตายยังพูดสบประมาทจำเลยกับภริยาอีกวันเกิดเหตุผู้ตายมาพูดขอล. ไปเป็นภริยาจากฉ. และท. ซึ่งเป็นพ่อตาแม่ยายจำเลยการที่ผู้ตายจับแขนล.ดึงเข้ามาหาตัวแม้มิได้เจตนาจะทำร้ายก็ตามแต่ถือได้ว่ามีเจตนากระทำอนาจารล. เมื่อผู้ตายกระทำการละเมิดต่อกฎหมายและศีลธรรมอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการป้องกันเกียรติยศชื่อเสียงและเสรีภาพของล. ผู้เป็นภริยาของตนได้โดยชอบขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีอาวุธใดหากจำเลยจะเข้าช่วยเหลือล.ภริยาจองตนด้วยการเข้าทำร้ายผู้ตายด้วยมือเปล่าก็อาจถูกผู้ตายชักอาวุธปืนมายิงได้ในภาวะเช่นนั้นจึงไม่มีทางเลือกนอกจากแย่งอาวุธปืนจากผู้ตายแล้วยิงผู้ตายถ้าเพียงจะใช้อาวุธปืนตีผู้ตายปืนอาจลั่นไปถูกคนอื่นหรือผู้ตายอาจแย่งคืนมายิงเอาได้จำเลยแย่งอาวุธปืนได้ก็ยิงทันทีโดยไม่เลือกว่าจะถูกตรงไหนแล้วทิ้งอาวุธปืนวิ่งหนีการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำไปพอสมควรแก่เหตุจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา68ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้ตายด้วยเหตุบันดาลโทสะ
of 36