พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รูปร่างคล้ายไม้นวดแป้ง ตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่าแสตนกับคำว่า อัพ อยู่ห่างกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่าแสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิจารณาบุคคลที่เกิดหลังประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว และการพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์: แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่สิทธิในทรัพย์สินได้เปลี่ยนมือไปแล้วเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยปลูกบ้านในที่ดินซึ่งผู้ร้องเช่ามาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบกำหนด 13 ปี จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ต่อมาก่อนครบกำหนดผู้ร้องและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันยกกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ข้อตกลงนี้ แม้ยังไม่จดทะเบียนโอนก็ไม่ทำให้บ้านพิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ เพราะที่ดินเป็นสิทธิของผู้ร้องตามสัญญาเช่า ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยอีกคดีหนึ่ง จะนำยึดบ้านพิพาทเพื่อบังคับคดีหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์ ยันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตไม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครอง ปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เป็นการได้ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มา จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ ตามมาตรา 1299 วรรคสอง และตามมาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินมาโดยไม่สุจริตจึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและ โดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 จึงอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ยันโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ราชการกลายเป็นสาธารณสมบัติ แม้ไม่จดทะเบียน โจทก์ผู้ครอบครองสู้มิได้
การซื้อขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่มีโฉนดนี้เป็นที่ทราบกันว่า ฝ่ายจำเลยซื้อไปเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร ซึ่งเป็นผลให้ที่พิพาทกลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) การที่ พ.ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลย จึงเป็นการแสดงเจตนาสละที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตั้งแต่วันทำสัญญา โดยไม่จำเป็นต้องมีการแก้โฉนดหรือจดทะเบียนการซื้อขายแต่อย่างใด โจทก์ซึ่งเข้าครอบครองที่พิพาทในภายหลังมิอาจยกเอาอายุความแห่งการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองขึ้นต่อสู้แผ่นดินได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การชำระเงินครบถ้วนหลังทำสัญญาไม่ทำให้กลายเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาด
ข้อความในเอกสารสัญญามีว่า จำเลยขายที่ดินให้โจทก์ราคา 36,000 บาท โดยโจทก์ชำระราคาให้จำเลยแล้วในวันทำสัญญา 32,000 บาท ส่วนอีก 4,000 บาท จะชำระให้เมื่อทำการโอน ดังนี้ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อขาย แม้ต่อมาโจทก์ชำระเงินที่ค้างอีก 4,000 บาท ให้จำเลยหลังจากทำสัญญาจะซื้อขายกันแล้ว ก็เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้เอกสารสัญญาดังกล่าวกลายเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351-2352/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง การบอกกล่าว การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ และสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยไม่ได้ระบุว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปเมื่อใดนั้น หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ เพราะข้อที่ว่าบอกกล่าวเมื่อใด เป็นรายละเอียด ไม่จำต้องกล่าวในฟ้อง
เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะนำมาใช้ยันกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่พิพาทโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการครอบครองปรปักษ์ให้
เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะนำมาใช้ยันกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่พิพาทโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการครอบครองปรปักษ์ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า CUPID ก่อนยื่นจดทะเบียน และการลวงสาธารณชนจากการใช้เครื่องหมายที่คล้ายกัน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีตัวเล็ก ๆ ว่า FULYIN อยู่บนอักษร CUPID ซึ่งเป็นอักษรตัวใหญ่เห็นชัดเจนมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า CUPID ของโจทก์ จนอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อนโจทก์แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า CUPID มาก่อนจำเลยทั้งในขณะที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนก็ยังไม่มีสินค้าที่มีเครื่องหมายตามที่ขอจดทะเบียนนั้นออกจำหน่ายโจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CUPID