พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13384/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการได้รู้หรือควรได้รู้อย่างแน่นอนและมีหลักฐานยืนยันได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 18 มกราคม 2545 ให้จ่าสิบตำรวจ ก. ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา และได้ส่งให้จ่าสิบตำรวจ ก. ที่ภูมิลำเนาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2545 ตามใบตอบรับทางไปรษณีย์และซองจดหมาย ซึ่งไม่มีผู้รับแต่มีข้อความเขียนระบุไว้ที่ซองจดหมายว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตายแล้วโดยไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แจ้งให้ผู้ส่งจดหมายบันทึกข้อความดังกล่าว กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตาย ต่อมาเมื่อโจทก์ตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรมีข้อความระบุว่า จำหน่ายชื่อจ่าสิบตำรวจ ก. จากทะเบียนบ้านเนื่องจากตายเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2545 จึงต้องฟังว่าโจทก์เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของจ่าสิบตำรวจ ก. เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 ยังไม่พ้น 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจ่าสิบตำรวจ ก. ตามฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10488/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับโทษทางอาญาด้วยการตายของผู้กระทำผิด และสิทธิในการรับคืนค่าปรับของทายาท
ป.อ. มาตรา 38 บัญญัติว่า "โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด" เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โทษตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายยื่นคำร้องขอคืนค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องคืนเงินค่าปรับให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของสมรสด้วยการตาย และผลกระทบต่อค่าทดแทนและสินสมรส
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเนื่องจากความตายของโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยอีกต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้หรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของการสมรสเปลี่ยนแปลงไป ส่วนค่าทดแทนที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์นั้น เมื่อศาลไม่ได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้เพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1525 ระบุว่า การเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งจะมีได้เฉพาะในกรณีศาลพิพากษาให้หย่ากันเท่านั้น และการแบ่งสินสมรสหลังการสมรสสิ้นสุดเพราะการตายต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องโจทก์อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19376/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรสระหว่างดำเนินคดีหย่า และผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คู่ความมิได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ทรัพย์พิพาทใดเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลย คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ประเด็นชั้นฎีกาจึงมีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ประเด็นฟ้องหย่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายจึงมีผลทำให้การสมรสย่อมสิ้นสุดลงก่อนที่คำพิพากษาให้หย่า จะถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 คดีจึงไม่มีประโยชน์ต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าต่อไปอีกหรือไม่ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเรียกร้องจากกองมรดกของผู้ค้ำประกัน การรู้ถึงการตายของผู้ตาย
เมื่อโจทก์ทราบการตายของ อ. ตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง แม้ทางพิจารณาจะไม่ปรากฏว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อใด แต่ปรากฎจากหนังสือแจ้งผลคดีของอัยการจังหวัดพัทลุงว่า วันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ จึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 โจทก์รู้ถึงความตายของ อ.แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกรองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนสาบสูญมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการตาย จ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ได้
ป.พ.พ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ และเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ มาตรา 4 ใน พ.ร.บ.นี้การฌาปนกิจสงเคราะห์ หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อ ห. ถูกศาลสั่งให้เป็นคบสาบสูญมีผลเท่ากับ ห. ถึงแก่ความตาย และเมื่อ ห. เป็นสมาชิกของจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ห. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ มีผลเช่นเดียวกับการตาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ ทั้งตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 การฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน ดังนั้น การที่ ล. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญจึงมีผลเท่ากับ ล. ถึงแก่ความตายเมื่อ ล. เป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ล. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวแม้ไม่มีศพที่จะต้องจัดการก็ต้องจ่ายเงินค่าจัดการศพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรส, ความรับผิดทางแพ่งของคู่สมรสอีกฝ่ายและบุคคลที่สามจากการเป็นชู้
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญการพิเศษโดยยกฟ้องโจทก์ คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) จึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลงด้วยความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 แล้วก่อนการหย่าโดยคำพิพากษาคดีนี้จะมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสอง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและการแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป ให้จำหน่ายคดีตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ออกจากสารระบบความของศาลฎีกา ทั้งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันตามกฎหมายว่าด้วยมรดก
ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท
ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท