คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยปริยายจากเหตุโรงงานเสียหาย และสิทธิการทำงานกับนายจ้างใหม่
หลังจากโรงงานของจำเลยถูกไฟไหม้แล้วเป็นเวลา1 ปีเศษ จำเลยมิได้ดำเนินกิจการแต่ประการใด และไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเปิดดำเนินกิจการอีกเมื่อใด การที่จำเลยให้โจทก์เข้าทำงานที่บริษัทซึ่งเปิดกิจการทำนองเดียวกันแต่โจทก์ไม่ยอมทำตามจะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไปทำงานกับบริษัทใหม่หรือไม่ก็ได้จึงถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4151/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดจากการทำงาน เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีข้ามประเภท
โจทก์ฟ้องว่า การที่โซดาแอชของโจทก์เสียหายเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย และไม่เอาใจใส่ระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และเป็นการจงใจทำให้โซดาแอชเสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ และผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้เป็นคำฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความผิดฐานละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420และตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8(5) โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2525และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2525 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2526 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 ต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2526 ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ถือได้ว่าศาลแพ่งได้ยกคดีของโจทก์เสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งแต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 บัญญัติให้ขยายอายุความนี้ออกไปถึง 6 เดือน ภายหลังคำพิพากษานั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2526คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากการประสบอันตรายในการทำงานเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้ว ยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างโดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานเพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรงมิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้ว ในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือน การผิดนัดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานและโรคประจำตัว
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของ การตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องมีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการถูกทำร้ายโดยไม่เกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ปิดเปิดเครื่องกั้นถนนถูกคนร้ายใช้ปืนยิงได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างอย่างไร ตามทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็เพียงสันนิษฐานว่าคนร้ายยิงผิดตัวเข้าใจว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของโจทก์อีกคนหนึ่งซึ่งเข้าเวรก่อนหน้านั้น สาเหตุที่ลูกจ้างถูกคนร้ายยิงจึงยังไม่เป็นที่แน่ชัด แม้จะเป็นการได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานก็ถือไม่ได้ว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการถูกยิงขณะละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เข้าข่ายประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวินิจฉัยว่าลูกจ้างได้รับอันตรายถึงแก่ความตายมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงอยู่ที่ว่าคณะกรรมการได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนหรือไม่ คำวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ระบุว่าคณะกรรมการวินิจฉัยอย่างไร ลูกจ้างถูกยิงตายที่ใดและเมื่อใดซึ่ง จำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนโจทก์จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ลูกจ้างถูกยิงตายเนื่องจากมูลกรณีใดและได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าใด เป็นรายละเอียด หากจำเลยให้การโต้เถียงก็อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้ลูกจ้างจะถูกยิงตายในช่วงเวลาที่มีหน้าที่เป็นยามและสถานที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของลูกจ้างแต่การที่ลูกจ้างหลีกเลี่ยงหน้าที่ไปนั่งเสพสุราร่วมกับพวกและ จ. มิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เป็นการละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าระหว่างที่ลูกจ้างเสพสุราร่วม กับพวกเป็นการปฏิบัติหน้าที่เป็นยามควบคู่ไปด้วยหาได้ไม่ จึงไม่ใช่เป็น กรณีที่ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ อีกประการหนึ่ง คนร้ายที่ เข้ามาทำร้าย จ. มิใช่เข้ามาทำร้ายลูกจ้างหรือประสงค์ต่อทรัพย์สิน ของนายจ้าง มูลกรณีที่ลูกจ้างถูกยิงตายมิได้เกิดจากเหตุที่ทำงานให้ แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้าง ประสบอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการเดินทางเพื่อเข้ารับการอบรมยังไม่ถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน หากยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน
อ.เป็นลูกจ้างโจทก์โดยประจำอยู่ที่ต่างจังหวัด ได้รับคำสั่งให้มารับการอบรมที่สำนักงานใหญ่จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 7-11 มิถุนายน 2525อ.เดินทางมาถึงเมื่อวันที่6 มิถุนายน 2525และได้รับอันตรายขณะนั่งรถแท็กซี่เดินทางหาที่พักในวันเดียวกันนั้น ซึ่งยังไม่ถึงวันเวลาทำงานตามที่โจทก์มอบหมายจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลให้แก่ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการทำงานและสิทธิประโยชน์ทดแทน: การเรียนภาษาอังกฤษนอกเหนือหน้าที่งาน ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายเป็นลูกจ้างบริษัท ท. มีหน้าที่รับ-ส่งเอกสาร การที่ ผู้ตายไปเรียนภาษาอังกฤษโดยบริษัท ท. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งมิใช่การอันเป็นวัตถุประสงค์ของบริษัท ท. แต่เป็นเพียงการส่งเสริมให้ผู้ตายมีความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้ตายในการติดต่อกับลูกค้า ถือไม่ได้ว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้แก่บริษัท ท. เมื่อผู้ตายประสบอันตรายถึงชีวิตระหว่างเดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน: อำนาจของอธิบดีกรมแรงงานในการแก้ไขคำสั่ง
ลูกจ้างไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน ได้ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา โดยทำการล้างหินอัดหินตามทางรถไฟซึ่งเป็นที่กลางแจ้ง ต้องก้ม ๆ เงย ๆ พอถึงเวลา 10.30 นาฬิกา อากาศร้อนอบอ้าว เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยตรง การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่ นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหลังเลิกงาน: งานศพไม่ถือเป็นการทำงาน
แม้ผู้ตายเป็นผู้จัดการแผนกบุคคล มีหน้าที่ในการสงเคราะห์พนักงานหรือครอบครัว รวมทั้งให้สวัสดิการ เช่น งานบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจศพ และผู้ตายได้รับมอบหมายจากบริษัทนายจ้างให้เป็นตัวแทนไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมศพบิดาผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทนายจ้างก็ตาม แต่การไปร่วมงานดังกล่าวเป็นเรื่องประเพณีทางสังคม ไม่ใช่เรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ดังนั้น เมื่อผู้ตายกลับจากงานสวดพระอภิธรรมศพแล้วประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะเป็นผลให้มีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนได้
of 8