คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การฟ้องคดีก่อนการประเมินอากรตัดสิทธิการอุทธรณ์
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยให้โจทก์นำหนังสือค้ำประกันมาวางเป็นประกันการชำระภาษีอากรเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ที่ให้อำนาจไว้ และเจ้าพนักงานของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินเงินอากรและแจ้งให้โจทก์ชำระตามมาตรา 112 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่พอใจ โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์คัดค้านตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสาม การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยเรียกประกันตาม มาตรา 112 จึงเป็นการตัดสิทธิในการประเมินของเจ้าพนักงาน และตัดสิทธิโจทก์ในการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินซึ่งกฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์เช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเงินภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ชำระตามมาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรและการชำระเงินเพิ่ม กรณีจำเลยไม่โต้แย้งการประเมินและผิดนัดชำระภาษี
จำเลยนำสินค้าของเด็กเล่นจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในอาณาจักรเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง จึงแจ้งการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มเติม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินที่ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าการประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเป็นอันชอบแล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีป้าย: ป้ายชื่อทั่วไปต้องเสียภาษี การประเมินโดยเจ้าหน้าที่มอบอำนาจชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว ป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า 'สำนักงานแพทย์ สิวฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป' เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไป จึงเป็นป้ายซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษี การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ และการย้ายภูมิลำเนา มีผลต่อสิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษี
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์เพื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการนับระยะเวลายื่นคำร้องพิจารณาประเมินใหม่
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์ พื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปีซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิง ส. อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐในการดูแลรักษาความปลอดภัยทางถนน และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช.ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ และการประเมินรายได้จากการขายที่ดิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมิน 'อันตรายสาหัส' จากบาดแผลถูกแทง พิจารณาความสามารถในการประกอบกรณียกิจปกติ
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่ต้นแขนซ้ายเป็นบาดแผลขนาด 2.5 เซนติเมตร ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หลังเกิดเหตุประมาณ 7วัน ผู้เสียหายไปหาแพทย์เพื่อตัดไหม แพทย์บอกว่าบาดแผลเป็นปกติ และผู้เสียหายก็ไปเรียนหนังสือกับทำกิจการงานต่าง ๆได้ แม้ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ต้องเรียนภาคปฏิบัติคือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนและหลังเกิดเหตุแล้ว 1 เดือน ผู้เสียหายไม่อาจเล่นกีฬาได้มากเท่าบุคคลปกติเพราะยังรู้สึกเสียวที่แขน ก็เป็นเพียงแต่ทำให้ผู้เสียหายขาดความสะดวกในการใช้แขนลดน้อยลงเท่านั้น หาทำให้ผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เสียเลยทีเดียวไม่จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บทางร่างกายเพื่อพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
ผู้เสียหายถูกตีที่ชายโครงซ้าย เกิดเหตุแล้ว 7 - 8 วันก็ไปตามงานตามปกติ ภายหลังจากเกิดเหตุ 17 วัน ได้ไปหาแพทย์ เอกซเรย์แล้วพบว่ากระดูกซี่โครงซ้ายร้าว 2 ซี่ แพทย์จ่ายยาให้ไปรับประทานที่บ้านมิได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยแพทย์มีความเห็นว่าจะต้องรักษาเกินกว่า 21 วันจึงหาย ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 295 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บเพื่อกำหนดความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
ผู้เสียหายถูกตีที่ชายโครงซ้ายเกิดเหตุแล้ว7-8วันก็ไปตามงาน ตามปกติภายหลังจากเกิดเหตุ17วันได้ไปหาแพทย์ เอกซเรย์แล้วพบว่า กระดูกซี่โครงซ้ายร้าว2ซี่แพทย์จ่ายยาให้ไปรับประทานที่บ้านมิได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์มีความเห็นว่าจะต้องรักษาเกินกว่า 21 วันจึงหายดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บ ด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20 วันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติ ไม่ได้เกินกว่า20 วันตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 295 เท่านั้น
of 8