พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค, การฟ้องคดีเช็ค และการพิสูจน์มูลหนี้ที่แท้จริง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิดผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม. แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม. ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิดผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม. แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม. ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9680/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดหลักฐานหักล้างการครอบครอง ทำให้โจทก์ไม่มีทางชนะคดี
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างการครอบครองของจำเลยว่าจำเลยขอ ส.ปลูกบ้านเพื่อสนับสนุนคำฟ้อง โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือและได้มีการฟ้องคดีภายใน 1 ปีหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9170/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การรบกวนสิทธิระหว่างบุคคล แม้ไร้สิทธิโดยชอบธรรม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ที่ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น ดังนั้นหากโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วจำเลยบุกรุกไปครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิและเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านโดยไม่มีเจตนาอยู่อาศัยจริง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนภูมิลำเนา
ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางแค เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีจำเลยและบุตรอีก 2 คน พักอาศัยอยู่ด้วย แต่จำเลยแจ้งย้ายออกเพียง 2 คน โดยแจ้งว่าย้ายเข้าบ้านเลขที่ 30หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน แต่มิได้ย้ายบุตรทั้งสองไปด้วยและแทนที่จะย้ายเข้าที่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลับย้ายเข้าที่บ้านเลขที่ 22 หมู่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน คนละแห่งกันกับที่แจ้งย้ายเข้า และเพียงเดือนเศษก็แจ้งย้ายออกไปเข้าที่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าพัก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แต่ก็มิได้ย้ายเข้าบ้านเลขที่ดังกล่าวตามที่ได้แจ้งไว้แต่อย่างใด แสดงว่าการที่จำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากภูมิลำเนาเดิมที่กรุงเทพมหานครไปยังที่ต่าง ๆ ดังกล่าวก็เพียงเพื่อมิให้โจทก์ติดตามสืบหาที่อยู่ได้เท่านั้น โดยจำเลยไม่ได้เข้าพักอาศัยไม่ได้ย้ายบุตรไปด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านเลขที่ตามฟ้องซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาครั้งสุดท้ายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ศาลจังหวัดลำพูนจึงไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชู้สาว: ไม่ต้องรอการหย่า
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชี้สาว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสองกฎหมายมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหรือหย่าขาดจากสามีเสียก่อนจึงจะฟ้องได้จึงไม่ต้องอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซ้ำซ้อนและการดำเนินคดีโดยสมยอม: สิทธิฟ้องไม่ระงับหากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็น และการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยซึ่งคู่ความรับกันแล้วว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 378 ของจำเลยออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 15 ของโจทก์คือที่ดินพิพาททั้งแปลง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าที่ดินแปลงที่สามคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 15 ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่โจทก์นำชี้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 196 และ 202 แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างการยื่นฎีกานั้นจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 การที่โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฟ้องคดี: การสันนิษฐานตามหนังสืออนุญาตและการไม่คัดค้านในชั้นศาล
พนักงานอัยการโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้วตามหนังสืออนุญาตท้ายฟ้อง ย่อมสันนิษฐานได้ว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ก็ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน และตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าพนักงานอัยการโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการ-สูงสุดนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินมรดกต้องคำนึงถึงสิทธิทายาทอื่น การฟ้องให้แบ่งเฉพาะส่วนของตนเองอาจไม่ได้รับการบังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน และให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือ โจทก์ จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด 5 คน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาและเขตอำนาจศาล: การหลบหนี้และผลต่อการฟ้องร้อง
การที่จำเลยแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมแต่ยังไม่แจ้งย้ายเข้าที่ใดจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยไปอยู่ณที่ใดแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา41ที่จำเลยแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมมีพฤติการณ์ส่อว่าจะหลบหนีหนี้จึงต้องถือว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเดิมตามฟ้องโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้