คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิโดยไม่ชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จดทะเบียน
ที่พิพาทเป็นสินเดิมของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองอยู่ ส. ซึ่งเป็นสามีได้แจ้งการครอบครองและรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยปกปิดมิให้โจทก์ที่ 1 ทราบ การกระทำของ ส.ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ที่ 1 และไม่มีอำนาจนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพลการ เมื่อ ส.ไม่มีอำนาจขาย จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อย่อมไม่ได้สิทธิอันเกิดจากสัญญาซื้อขายนั้น ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ก็ย่อมไม่ได้รับสิทธิในที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่า, การโอนสิทธิ, สัญญาต่างตอบแทน, การผิดสัญญา, อำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาจดทะเบียนเช่าตึกแถวพิพาทมาจากเจ้าของ แล้วตกลงโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้จำเลย โดยจำเลยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินผ่อนชำระ เป็น 3 งวด ดังนี้ การที่จำเลยยอมเข้าทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทกับโจทก์ เป็นการยอมรับนับถือสิทธิของโจทก์เหนือตึกพิพาทจำเลยจึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเหนือตึกพิพาทที่จะฟ้องจำเลยได้ ถึงแม้โจทก์จะได้รับการบอกเลิกการเช่าจากเจ้าของตึกพิพาทในภายหลัง ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าของตึก หาเป็นเหตุให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งมีมาแต่เดิมระงับไปไม่ จำเลยยังคงผูกพันอยู่กับโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวทั้งการที่จำเลยเข้าใช้สิทธิในตึกพิพาท ก็โดยอาศัยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยและสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยมิได้ชำระเงินให้โจทก์ตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยก็ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมือเปล่า และเจตนาทุจริตในการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เดิมเป็นของ ว. แต่จำเลยได้ครอบครองมาจนเกินเวลาที่ ว. จะได้คืนซึ่งการครอบครองแล้ว ว. ย่อมไม่มีสิทธิจะโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์รู้เห็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ว. จะตกลงซื้อขายที่พิพาทกันและพฤติการณ์ที่จำเลยคัดค้านไม่ให้ ว. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ถึงสองครั้ง แม้จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 30 วันตามคำสั่งของอำเภอ แต่การที่เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทให้โจทก์และ ว. แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันย่อมส่อแสดงว่าโจทก์รับซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตทั้งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้มา ก็มิใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนเช่นโฉนด จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300, มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1758/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ระหว่างคดีความ: ระยะเวลาครอบครองระหว่างการดำเนินคดีไม่อาจนำมารวมกับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองทรัพย์ที่พิพาทในระหว่างคดีนั้นคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงอ้างการครอบครองในช่วงระยะเวลาที่กำลังพิพาทเป็นคดีอยู่นั้นขึ้นเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ชนะคดีจำเลยที่ 1คำพิพากษาของศาลในคดีนั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเจ้าของกรรมสิทธิ์มา ก็ย่อมได้รับสิทธิดังกล่าวจากเจ้าของกรรมสิทธิ์มาด้วย จำเลยที่ 1 จึงอ้างการครอบครองปรปักษ์ในช่วงระยะเวลาที่เป็นความกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ขึ้นโต้แย้งยันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายที่เป็นหนังสือ การแสดงเจตนาเช่าถือเป็นการโอนสิทธิ
จำเลยทำสัญญาขายที่นาให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อที่นานั้นเป็นที่ดินมือเปล่ามีแต่เพียงสิทธิครอบครองและจำเลยซึ่งเคยครอบครองอยู่ได้ขอเช่าที่นานั้นจากโจทก์หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว กรณีจึงต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 วรรคหนึ่ง ว่าการโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอน ถือได้ว่าได้มีการโอนการครอบครองให้โจทก์แล้วโดยถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในทรัพย์มรดก การเช่าที่ดิน และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ซื้อ
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีคนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ.และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิในสัญญาเช่าที่ดินเมื่อผู้เช่าเดิมเสียชีวิต โดยผู้เช่าเดิมอนุญาตให้จำเลยปลูกบ้าน
แม้สัญญาเช่าที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับกระทรวงศึกษาธิการจะระงับโดยเหตุที่มารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ซึ่งตกทอดมาจากมารดาโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่พิพาทและต่อมาโจทก์ก็ได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปอีกเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งขออาศัยมารดาโจทก์ปลูกบ้านในที่ดินบางส่วนของที่พิพาทได้ กระทรวงศึกษาธิการไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์อีก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่17/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิเช่าต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสและผู้ให้เช่า
สิทธิการเช่าซึ่งได้แก่สิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งหญิงมีสามีได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินบริคณห์ ซึ่งภรรยาถ้าทำการผูกพันสิทธิการเช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว สามีอาจบอกล้างเสียได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ให้เช่าด้วย เพราะสิทธิการเช่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย และสัญญาเช่า
การที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าได้สิทธิการเช่ามาในระหว่างสมรส และโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่ายินยอมด้วย ในเมื่อการเช่าทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าแล้ว สามีย่อมบอกล้างการบอกเลิกสัญญานั้นไม่ได้ ฉะนั้น สามีย่อมจะบอกล้างการโอนการเช่าดังกล่าวเพื่อให้กลับมีสภาพคงคืนตามสัญญาเช่าเดิมก็ไม่ได้ดุจกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่าย-การโอนสิทธิ-การรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง
ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่โรงงานฝ้ายกรุงเทพฯ ๆ สลักหลังโอนให้โจทก์ ๆ ผู้ทรงเช็คได้รับไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแล้วถือว่าเช็คนั้นย่อมสมบูรณ์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมกับบริษัทโรงงานฝ้ายกรุงเทพฯ ผู้โอนเช็คขึ้นมาต่อสู้มิได้ เพราะในหลักเรื่องตั๋วเงินมีว่าผู้รับโอนย่อมมีอำนาจดีกว่าผู้โอนเช็คให้ผู้โอนมีอำนาจดีกว่าผู้รับโอน ดังนั้นผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมรับผิดต่อผู้ทรงเช็คคือโจทก์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เงินตามเช็คเต็มจำนวนแล้ว โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยได้ ทั้งมิใช่เป็นการแปลงหนี้ตามความใน ป.พ.พ. ม.349 เพราะระหว่างโจทก์และบริษัทโรงงานฝ้ายมิได้ทำสัญญาเปลี่ยนซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ที่โรงงานฝ้ายโอนเช็คใช้ให้ครบจำนวนแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่เรียกเงินจากจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอาวุธปืนและการโอนสิทธิหลังผู้รับอนุญาตเสียชีวิต ไม่ถือผิดกฎหมายหากยังไม่ได้สั่งการ
บิดาได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน 1 กระบอก เมื่อบิดาตายบุตรจึงไปแจ้งต่อนายทะเบียน และขออนุญาตมีอาวุธปืนกระบอกนั้น แต่นายทะเบียนไม่อนุญาตกลับสั่งให้ขายปืนนั้นเสียภายใน 6 เดือนแต่บุตรขายปืนนั้นไม่ได้นายทะเบียนก็มิได้เรียกเอาปืนนั้นไปขายทอดตลาดเสียเองและมิได้สั่งอย่างไรอีก ปืนนั้นจึงคงอยู่กับบุตรอย่างเดิม ดังนี้ จะว่าบุตรมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมายไม่ได้
of 7