พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกตกทอด การแบ่งทรัพย์สินร่วม และค่าเสียหายจากการถูกกีดกันการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและพระภิกษุ ส. ผู้เป็นทายาท และนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ยังอยู่ภายในอายุความที่พระภิกษุ ส. จะสึกจากสมณเพศมาเรียกร้องขอแบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 ดังนี้ ต้องแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วน โจทก์ได้คนละ 1 ใน 5
เมื่อยังไม่ได้แบ่งที่พิพาทกัน โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ส. เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้และเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ทำให้โจทก์ขาดรายได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งนาพิพาทให้โจทก์ทั้งสองกึ่งหนึ่ง และให้ใช้ค่าเสียหายปีละ 1,500 บาท นับแต่ปี 2516 จนถึงปีที่จำเลยยอมแบ่งนาให้โจทก์ จำเลยมิได้ฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เพราะการที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์คงฎีกาเพียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2516 เป็นการพิพากษาเกินคำขอเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
เมื่อยังไม่ได้แบ่งที่พิพาทกัน โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ส. เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้และเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ทำให้โจทก์ขาดรายได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งนาพิพาทให้โจทก์ทั้งสองกึ่งหนึ่ง และให้ใช้ค่าเสียหายปีละ 1,500 บาท นับแต่ปี 2516 จนถึงปีที่จำเลยยอมแบ่งนาให้โจทก์ จำเลยมิได้ฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เพราะการที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์คงฎีกาเพียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2516 เป็นการพิพากษาเกินคำขอเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง & เจตนาได้มาซึ่งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอมเป็นทางเดินในที่ดินของจำเลยโดยอายุความดังนี้ ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ภารจำยอมจริงหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าโจทก์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินนี้ด้วยหรือไม่ก็ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่ามีผู้อื่นได้ใช้ทางพิพาทนี้ด้วย เมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าผู้อาศัยอยู่ข้างในได้ใช้ทางเดินและรถผ่านด้วย แม้จะมิได้กล่าวว่าเป็นผู้ใด มีที่ดินอยู่ตรงไหนก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์เบิกความว่า เมื่อ พ.ศ.2486 โจทก์ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 82 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดที่ 2177 ทั้งบ้านและที่ดินนี้เป็นของมารดาโจทก์ โจทก์เข้าออกทางพิพาทตลอดมาจนถึง พ.ศ.2493 จึงไปอยู่ต่างจังหวัดและต่อมาอีก 3-4 ปีจึงมารับครอบครัวไปอยู่ด้วย ดังนี้แม้จะนับเวลาที่ครอบครัวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าด้วย ก็หาทำให้ที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมโดยอายุความในช่วงเวลานั้นเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เมื่อระยะเวลาที่โจทก์เดินผ่านหรือใช้ที่พิพาทตอนนั้น โจทก์เพียงอาศัยบ้านและที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นการใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โจทก์จึงจะฟ้องอ้างว่าโจทก์เองได้ภารจำยอมเหนือที่พิพาทโดยอาศัยอายุความในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1466/2505) แต่เมื่อต่อมา โจทก์ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 30212 โดยมารดาโจทก์แบ่งแยกให้จากที่ดินโฉนดที่ 2177 โจทก์ได้กลับมาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธินับเวลาตอนก่อนของโจทก์ที่ได้ใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มารวมกับเวลาที่โจทก์ใช้ที่พิพาทในตอนหลังเมื่อเป็นเจ้าของอสังริมทรัพย์เพื่อให้ได้ภารจำยอมในที่พิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2504) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือโจทก์จะต้องใช้ที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ออกจากที่ดินโฉนดที่ 2177 ไปอยู่ต่างจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2493 และหลังจากนั้นอีก 3-4 ปีครอบครัวของโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย โจทก์เพิ่งกลับมาปลูกบ้านบนที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 30212 เมื่อเดือนมิถุนายน 2510 ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้ที่พิพาทติดต่อกันตลอดมาเพราะโจทก์ได้ขาดการใช้ที่พิพาทเป็นเวลาถึงกว่า 10 ปี การใช้ที่พิพาทของโจทก์ตอนก่อนที่โจทก์ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นอันสะดุดหยุดลงไปแล้ว โจทก์จะนับระยะเวลาตอนนั้นมาร่วมกับระยะเวลาการใช้ที่พิพาทตอนใหม่ของโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์เพิ่งกลับมาใช้หรือเดินผ่านที่พิพาทใหม่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้ภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ
ระหว่างไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แม้โจทก์จะได้กลับบ้านเดือนละ 2-3 ครั้ง และเข้าออกตามทางพิพาท ก็เป็นเพียงเพื่อไปหาผู้ที่อยู่ในที่ดินโฉนดที่ 2177 อันเป็นการเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ถือว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในระหว่างนั้นเป็นการใช้ทางพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม
โจทก์เบิกความว่า เมื่อ พ.ศ.2486 โจทก์ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 82 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดที่ 2177 ทั้งบ้านและที่ดินนี้เป็นของมารดาโจทก์ โจทก์เข้าออกทางพิพาทตลอดมาจนถึง พ.ศ.2493 จึงไปอยู่ต่างจังหวัดและต่อมาอีก 3-4 ปีจึงมารับครอบครัวไปอยู่ด้วย ดังนี้แม้จะนับเวลาที่ครอบครัวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าด้วย ก็หาทำให้ที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมโดยอายุความในช่วงเวลานั้นเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เมื่อระยะเวลาที่โจทก์เดินผ่านหรือใช้ที่พิพาทตอนนั้น โจทก์เพียงอาศัยบ้านและที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นการใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โจทก์จึงจะฟ้องอ้างว่าโจทก์เองได้ภารจำยอมเหนือที่พิพาทโดยอาศัยอายุความในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1466/2505) แต่เมื่อต่อมา โจทก์ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 30212 โดยมารดาโจทก์แบ่งแยกให้จากที่ดินโฉนดที่ 2177 โจทก์ได้กลับมาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธินับเวลาตอนก่อนของโจทก์ที่ได้ใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มารวมกับเวลาที่โจทก์ใช้ที่พิพาทในตอนหลังเมื่อเป็นเจ้าของอสังริมทรัพย์เพื่อให้ได้ภารจำยอมในที่พิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2504) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือโจทก์จะต้องใช้ที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ออกจากที่ดินโฉนดที่ 2177 ไปอยู่ต่างจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2493 และหลังจากนั้นอีก 3-4 ปีครอบครัวของโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย โจทก์เพิ่งกลับมาปลูกบ้านบนที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 30212 เมื่อเดือนมิถุนายน 2510 ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้ที่พิพาทติดต่อกันตลอดมาเพราะโจทก์ได้ขาดการใช้ที่พิพาทเป็นเวลาถึงกว่า 10 ปี การใช้ที่พิพาทของโจทก์ตอนก่อนที่โจทก์ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นอันสะดุดหยุดลงไปแล้ว โจทก์จะนับระยะเวลาตอนนั้นมาร่วมกับระยะเวลาการใช้ที่พิพาทตอนใหม่ของโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์เพิ่งกลับมาใช้หรือเดินผ่านที่พิพาทใหม่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้ภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ
ระหว่างไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แม้โจทก์จะได้กลับบ้านเดือนละ 2-3 ครั้ง และเข้าออกตามทางพิพาท ก็เป็นเพียงเพื่อไปหาผู้ที่อยู่ในที่ดินโฉนดที่ 2177 อันเป็นการเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ถือว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในระหว่างนั้นเป็นการใช้ทางพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับหอพัก: การใช้ประโยชน์เพื่อการค้าทำให้ไม่ได้รับการยกเว้น
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินทุกชนิด เว้นแต่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 9 และ 10 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475 มาตรา 3 โรงเรือนของจำเลยใช้ทำเป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนและบริการอย่างอื่นจากผู้มาพักตามพระราชบัญญัติหอพัก แม้จำเลยจะอยู่อาศัยในหอพักนั้นด้วย โรงเรือนของจำเลยก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว การใช้เป็นหอพักได้ผลประโยชน์ตอบแทนเหมือนการใช้ประกอบกิจการอย่งอื่น จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 10 เมื่อจำเลยไม่ไปรับแบบพิมพ์มากรอกรายการยื่นภายในกำหนดตามประกาศ ย่อมเป็นการละเลยต่อหน้าที่ของผู้รับประเมินที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย จึงมีความผิดตามมาตรา 20,46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์จากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การรอนสิทธิของเจ้าของที่ดินติดทะเล
ที่ดินของโจทก์จดชายทะเลอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จำเลยเข้าปลูกเรือนในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินปิดเต็มหน้าที่ดินของโจทก์จนโจทก์ไม่สามารถจะใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นได้โดยสะดวก ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในลำเหมืองเมื่อฟ้องไม่ชัดเจน: เจ้าของที่ดินมีสิทธิใช้ประโยชน์และขัดขวางการสอดเข้าเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีกล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดเอาดินถมปิดลำเหมืองของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ในป่าไม่มีเจ้าของ.มิได้ฟ้องว่าลำเหมืองอยู่ในที่ดินของจำเลย.และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ กระทำการกลบลำเหมืองอันเป็นภารจำยอม. เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก. ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองโดยอายุความหาได้ไม่. เพราะนอกประเด็นในคำฟ้อง.
เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้อ้างสิทธิ.ว่าโจทก์ได้ทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองพิพาท. ก็ต้องถือว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองพิพาท. จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลำเหมืองพิพาทตั้งอยู่ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กลบลำเหมืองพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้. บทบัญญัติมาตรา 1337 หาลบล้างสิทธิของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในอันที่จะใช้สิทธิของตนตามมาตรา 1336 ไม่.
กรณีที่จะเป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา421 นั้น. จะต้องเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถ่ายเดียว. แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาแห่งสิทธินั้น. แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นละเมิด.
เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้อ้างสิทธิ.ว่าโจทก์ได้ทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองพิพาท. ก็ต้องถือว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองพิพาท. จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลำเหมืองพิพาทตั้งอยู่ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กลบลำเหมืองพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้. บทบัญญัติมาตรา 1337 หาลบล้างสิทธิของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในอันที่จะใช้สิทธิของตนตามมาตรา 1336 ไม่.
กรณีที่จะเป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา421 นั้น. จะต้องเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถ่ายเดียว. แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาแห่งสิทธินั้น. แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่อเนื่อง การขัดขวางการใช้ประโยชน์ และละเมิดจากผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาเช่าข้อ 2 มีความว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 15เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2504 และแทนการชำระค่าเช่าในระหว่างการเช่าดังกล่าวนี้ ผู้เช่าตกลงซ่อมแซมโรงและหน้าโรงในส่วนที่จำเป็นเพราะทรุดโทรมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ประมาณเงิน 200,000 บาท เป็นการตอบแทนแทนค่าเช่า ฯลฯ สัญญาข้อ 10 มีความว่าถ้าหมดสัญญาเช่า ผู้เช่า ไม่อาจจะดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะกิจการไม่เจริญตามความคาดหมาย แต่เพื่อมิต้องขนย้ายทรัพย์สินที่ซื้อมาจากบริษัท ค. ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าต่อสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่ให้คิดหักเป็นรายเดือนออกจากเงิน 170,000 บาท เป็นจำนวนเดือนละ 5,000 บาท จนครบจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว เมื่ออยู่ต่อไปจนครบจำนวนเงิน 170,000 บาทที่จ่ายไปแล้ว ผู้เช่ายินยอมโอนทรัพย์สมบัติรายนี้ให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของผู้เช่าว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาเช่าข้อ 2 ข้อ 10 ประกอบกันแล้ว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะที่ทำสัญญาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้การเช่าระยะแรกกับระยะหลังติดต่อกันไป คำว่า'ต่อสัญญา' ในข้อ 10 นั้น ในที่นี้ไม่มีทางแปลเป็นอย่างอื่นนอกจากต่อจากกำหนดเวลาเช่าระยะแรก ข้อความในสัญญาข้ออื่นก็ไม่มีตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะเว้นระยะการเช่าสองระยะนั้นให้ห่างจากกันในกรณีใด ฉะนั้นเมื่อการเช่าระยะแรกครบกำหนด 15 เดือนในวันที่ 15 มิถุนายน 2505. การเริ่มต้นนับกำหนดเวลาเช่าระยะที่ 2 จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 16มิถุนายน 2505 ตามสัญญา และเมื่อคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท หักกับจำนวนเงิน 170,000 บาท ตามสัญญาข้อ 10 แล้ว การเช่าระยะที่ 2 มีกำหนด 34 เดือน และครบกำหนดในวันที่ 15 เมษายน 2508
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506.หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนต์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนต์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนต์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506.หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนต์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนต์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนต์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของประชาชนในการใช้บ่อน้ำสาธารณะ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีบ่อน้ำกินคือบ่อพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์ใช้บ่อน้ำบ่อนี้เสมอมา จำเป็นแก่ความเป็นอยู่ของโจทก์ จำเลยกระทำการให้น้ำในบ่อไม่มีให้โจทก์ใช้เช่นเคย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เสียหายเป็นพิเศษ มีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะประโยชน์ การกีดขวางการใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้อื่น และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนแพอยู่อาศัยเป็นที่สาธารณประโยชน์ เรือนแพของจำเลยอยู่ตรงหน้าที่ดินของโจทก์และใกล้ที่ดินของโจทก์ เห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยใช้ที่สาธารณะประโยชน์ตรงหน้าที่ดินของโจทก์จำเลยไม่มีสิทธิปลูกสร้างกีดขวางการใช้ที่สาธารณประโยชน์หน้าที่ดินของโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์จำเลยจะทำสัญญาเช่าสาธารณสมบัติของแผ่นดินมิได้ แต่โจทก์อาจจะยินยอมให้จำเลยทำการกีดขวางหน้าที่ดินของโจทก์ได้ และจะตกลงให้สินจ้างแลกเปลี่ยนในการที่โจทก์ยอมสละความสะดวกของตนก็ได้ แต่มิใช่เป็นการเช่า แม้จำเลยจะเคยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกเรือนพิพาท เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและไม่ยินยอมให้เรือนพิพาทกีดขวางหน้าที่ดินต่อไป จำเลยจะอ้างความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯไม่ได้ จำเลยต้องรื้อเรือนพิพาทออกไป
โจทก์จำเลยจะทำสัญญาเช่าสาธารณสมบัติของแผ่นดินมิได้ แต่โจทก์อาจจะยินยอมให้จำเลยทำการกีดขวางหน้าที่ดินของโจทก์ได้ และจะตกลงให้สินจ้างแลกเปลี่ยนในการที่โจทก์ยอมสละความสะดวกของตนก็ได้ แต่มิใช่เป็นการเช่า แม้จำเลยจะเคยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกเรือนพิพาท เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและไม่ยินยอมให้เรือนพิพาทกีดขวางหน้าที่ดินต่อไป จำเลยจะอ้างความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯไม่ได้ จำเลยต้องรื้อเรือนพิพาทออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยจำกัดเฉพาะโรงเรือน การใช้ที่ดินโดยได้รับอนุญาตไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสิทธิอาศัยล่วงหน้า
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1402 สิทธิอาศัยใช้ได้แต่เรื่องอาศัยโรงเรือนเท่านั้น การที่โจทก์ยอมให้จำเลยปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าจึงไม่ใช่เรื่องอาศัย แต่เป็นการได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้อื่นโดยได้รับอนุญาต ฉะนั้น จะนำเรื่องการบอกเลิกล่วงหน้าแก่ผู้อาศัยตามมาตรา 1403 วรรค 2 มาใช้แก่กรณีที่ดินหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์มีใจความว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์จำเลยแสดงอาการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าที่รายนี้เป็นของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และขอให้ขับไล่จำเลย เมื่อเกิดพิพาทกันขึ้นแล้วว่าที่ดินเป็นของฝ่ายใดเช่นนี้ แม้โจทก์จะได้กล่าวไว้ด้วยว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยโจทก์ให้อาศัย ก็ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบอกเลิกล่วงหน้าแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อไปแล้ว
ตามฟ้องโจทก์มีใจความว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์จำเลยแสดงอาการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าที่รายนี้เป็นของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และขอให้ขับไล่จำเลย เมื่อเกิดพิพาทกันขึ้นแล้วว่าที่ดินเป็นของฝ่ายใดเช่นนี้ แม้โจทก์จะได้กล่าวไว้ด้วยว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยโจทก์ให้อาศัย ก็ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบอกเลิกล่วงหน้าแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณประโยชน์: การพิสูจน์ความเป็นที่สาธารณะโดยการใช้ประโยชน์กว่า 50 ปี และอำนาจสั่งการของปลัดอำเภอ
ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่สั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ ได้บรรยายว่าที่สาธารณประโยชน์นั้นอยู่ตำบล อำเภอใด และวันเดือนปีที่จำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด อีกทั้งได้กล่าวถึงบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จำเลยพอเข้าใจข้อหาได้แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและหลงต่อสู้ จึงไม่เคลือบคลุม (จำเลยอ้างว่า ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยบุกรุกเมื่อใด ที่ที่บุกรุกอยู่ตรงไหน เนื้อที่เท่าใดได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อใด ประกาศให้ประชาชนทราบเมื่อใด ไม่ได้ประกาศในราชกิจจาฯ หรือออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โจทก์ไม่เสนอประกาศมาพร้อมฟ้อง)
ที่สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) ทั้งเป็นมาไม่น้อยกว่า 50 ปี มีมาก่อนประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯ พ.ศ.2478 ไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามหรือสงวนแต่ประการใด ทางราชการจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่สารสำคัญ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า ปลัดกิ่งอำเภอฯ ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เป็นแต่เพียงขยายความ จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพังแล้ว เท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่
ที่สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) ทั้งเป็นมาไม่น้อยกว่า 50 ปี มีมาก่อนประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯ พ.ศ.2478 ไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามหรือสงวนแต่ประการใด ทางราชการจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่สารสำคัญ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า ปลัดกิ่งอำเภอฯ ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เป็นแต่เพียงขยายความ จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพังแล้ว เท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่