พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุ: การสนองรับคำเสนอภายในกำหนดระยะเวลาทำให้สัญญาเช่าเกิดผลใหม่
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทข้อ 10 กำหนดว่า 'เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา และผู้เช่าประสงค์จะเช่าต่อไป ผู้เช่าจะได้เสนอขอต่อสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าภายในกำหนด 60 วัน หากมิได้ขอต่อสัญญาภายในกำหนดนี้ให้ถือว่าผู้เช่าสละสิทธิการเช่า ........' และมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาดังกล่าวว่า 'สัญญานี้มีอายุ 15 ปี ต่ออายุสัญญา 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง ทุกครั้งที่ต่ออายุสัญญาผู้เช่าต้องนำเงินมาบำรุงวัดเป็นจำนวน 6,000 บาท 'ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดจำเลยผู้เช่าได้มีหนังสือแสดงความจำนงขอเช่าต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ให้เช่าภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เท่ากับผู้เช่าสนองรับคำเสนอของผู้ให้เช่าแล้วถือได้ว่าสัญญาเช่าเกิดขึ้นใหม่ทันทีตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าฉบับเดิมโดยไม่จำต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่อีก จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมา จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยผู้เช่าขอให้บังคับผู้เช่าช่วงส่งมอบตึกแถวพิพาทแก่จำเลยเพื่อเข้าครอบครองใช้สิทธิตามสัญญาเช่าอันเป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้ตามคำพิพากษาของศาลนั้น ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าได้เช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1.
การที่จำเลยผู้เช่าขอให้บังคับผู้เช่าช่วงส่งมอบตึกแถวพิพาทแก่จำเลยเพื่อเข้าครอบครองใช้สิทธิตามสัญญาเช่าอันเป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้ตามคำพิพากษาของศาลนั้น ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าได้เช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75 จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา แม้ทำงานเกิน 120 วัน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับกำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำแต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและการยกเว้นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่1รับโจทก์ที่1เข้าทำงานโดยไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่าไม่ต้องทำสัญญาจ้างที่จำเลยที่1ยอมให้โจทก์ที่1เข้าทำงานไปก่อนโดยมิได้ทำสัญญาจ้างทันทีจะถือว่าจำเลยที่1รับโจทก์ที่1เข้าทำงานเป็นลูกจ้างโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆหาได้ไม่เมื่อโจทก์ที่1ทำงานกับจำเลยที่1ได้1เดือนแล้วก็ได้ทำสัญญาจ้างกันซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนสัญญาจ้างย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่1ถือไม่ได้ว่าการทำสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา20เมื่อจำเลยที่1เลิกจ้างโจทก์ที่1ตามกำหนดนั้นจำเลยที่1ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ46วรรคสามไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538 ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปี กลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไป แต่อย่างใดไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดระยะเวลาได้ นายจ้างมิอาจอ้างหลีกเลี่ยงค่าชดเชยโดยง่าย
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้างซึ่งมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็นข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลาหลังผ่านทดลองงาน ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้ สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้าง ซึ่งมีข้อตกลง หรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของ นายจ้างหรือข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อ ประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็น ข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้าง ไว้แน่นอนได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อพนักงานสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจศาล และการไม่ผูกพันตามกำหนดระยะเวลาฟ้อง
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติอยู่ในเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่จำเลยกระทำความผิดและถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ วรรคสุดท้าย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันจับกุมหรือผัดฟ้องตามมาตรา24ทวิ วรรค 1,2 และ 3 ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาตามที่มาตรา 24 ทวิ กำหนดไว้และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวาพนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างตามกำหนด ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ช่วงละ 6 เดือนครั้งสุดท้ายมีกำหนดระยะเวลา 4 เดือน สัญญาจ้างระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ทุกช่วงจึงถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม