พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียก การส่งหมายเรียกไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลต่อกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 ขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าได้ย้ายที่อยู่จากจังหวัดอุบลราชธานีไปอยู่กับบุตรสาวเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่จังหวัดเพชรบุรี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเนื่องจากโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ที่อยู่เดิมที่จังหวัดอุบลราชธานี จำเลยที่ 2 เพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2546 คำร้องดังกล่าวเป็นการอ้างว่าการส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 มาศาลในวันนัดพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากฟังได้ตามที่อ้าง กำหนดเวลาในการร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ก็ไม่อยู่ในบังคับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัด และให้พิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ยังไม่ทราบถึงกำหนดนัดพิจารณาคดี ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้วหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782-8785/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองที่ออกเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นโมฆะ, การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 จำเลยที่ 1 ได้ตรวจสภาพการจ้างของโจทก์โดยมาพบและสอบปากคำ อ. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโจทก์และพนักงานอื่น ๆ ของโจทก์ก่อนมีคำสั่ง อันเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 27 และ 29 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 มิได้ให้โจทก์มีโอกาสทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานในส่วนของโจทก์ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งแต่กรณีนี้เป็นเรื่องให้โจทก์ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งเป็นเรื่องความสงบในทางอุตสาหกรรม หากปล่อยเนิ่นช้าโดยให้โอกาสโจทก์ตามที่โจทก์อ้าง ย่อมเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ลูกจ้างและกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) คำสั่งดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฎว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนดและสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้างซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฎว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนดและสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้างซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782-8785/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาของพนักงานตรวจแรงงาน ศาลเพิกถอนคำสั่ง
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 จำเลยที่ 1 ได้ตรวจสภาพการจ้างของโจทก์ โดยมาพบและสอบปากคำ อ. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโจทก์และพนักงานอื่น ๆ ของโจทก์ก่อนมีคำสั่ง อันเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 27 และ 29 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 มิได้ให้โจทก์มีโอกาสทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานในส่วนของโจทก์ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แต่กรณีนี้เป็นเรื่องให้โจทก์ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นเรื่องความสงบในทางอุตสาหกรรม หากปล่อยเนิ่นช้าโดยให้โอกาสโจทก์ตามที่โจทก์อ้าง ย่อมเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ลูกจ้างและกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) คำสั่งดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์ โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์ โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8374/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดคดีแรงงาน: การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกินกำหนด 7 วัน ทำให้คำร้องไม่เป็นผล
ศาลแรงงานกลางได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งจดแจ้งรายการแห่งข้อหาและคำขอบังคับให้จำเลยทราบ และคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งให้จำเลยมาศาลในการพิจารณาคดีในวันที่ 8 เมษายน 2546 เวลา 13.00 นาฬิการ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการส่งหมายเรียกกำหนดเวลาในการนัดพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางให้จำเลย และจำเลยได้รับไว้โดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว จำเลยไม่มาตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุที่ไม่มาให้ศาลทราบ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันนัดพิจารณาคดีว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยประสงค์จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงจะมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นของจำเลยที่ไม่อาจมาศาลได้ แต่จำเลยมายื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันดังกล่าวแล้ว กรณีนี้เป็นกรณีขาดนัดตามมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ได้บัญญัติถึงกรณีดังกล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ค่าขึ้นศาล: กำหนดเวลาและกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มขึ้น เป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะที่จะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยทั้งสามเห็นว่าอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวมิใช่อุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ตามนัยของ ป.วิ.พ. มาตรา 227 โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสามได้ใช้สิทธิดังกล่าวโดยยื่นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 นั้นแล้ว หากจำเลยทั้งสามประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยทั้งสามก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 234 กล่าวคือ จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง และเมื่อปรากฏว่ามีกำหนดให้จำเลยทั้งสามมาทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นับแต่วันที่กำหนดไว้นั้นแล้ว การที่จำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์โดยตรงในวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย: การเพิ่มจำนวนหนี้ไม่ใช่การแก้ไขเล็กน้อย
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง บัญญัติให้คำขอรับชำระหนี้ต้องทำตามแบบพิมพ์โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ เมื่อจำนวนเงินตามคำขอรับชำระหนี้ทั้งในด้านหน้าคำขอรับชำระหนี้ข้อ 4 และด้านหลังตามรายการในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินมีจำนวนตรงกัน แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้นั้น โดยไม่มีข้อสงสัยว่าจำนวนเงินดังกล่าวเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ทั้งจำนวนเงินที่ผู้ร้องยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มจากเดิมจำนวน 3,854,472.56 บาท เป็น 8,419,095.03 บาท ก็แตกต่างกันมาก มิใช่การแก้ไขเพียงเล็กน้อย หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ด้วย
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5047/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบเนื่องจากการส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้อง และประเด็นเรื่องการยื่นคำร้องขัดเกินกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าพนักงานเดินหมายไม่ได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาที่ถูกต้องของจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์ระบุมาในคำฟ้อง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 74 (2) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ และมาตรา 27 นั้นให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรได้ คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 208 (ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องคดีนี้) แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลก็ไม่ทำให้เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ได้แต่งทนายความเข้ามาในคดีและทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำแถลงขอคัดหรือถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนคดีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบเช่นว่านี้อย่างช้าในวันดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ได้แต่งทนายความเข้ามาในคดีและทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำแถลงขอคัดหรือถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนคดีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบเช่นว่านี้อย่างช้าในวันดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบ เนื่องจากยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดตามกฎหมาย
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546 ว่าถือไม่ได้ว่าจำเลยยากจน จึงยกคำร้อง หากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายใน 15 วัน ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2546 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง