พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการกู้ยืมที่สูญหาย และการอนุญาตให้สืบพยานบุคคล
การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้ เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่อง ถือว่าได้อนุญาตโดยปริยาย การสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะนิติสัมพันธ์เป็นบัญชีเดินสะพัด ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แม้ฟ้องอ้างเป็นการกู้ยืม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้เอาเงินไปจากโจทก์เป็นคราว ๆ โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาเงินที่รับไปเหมามะม่วงและเอามะม่วงมาส่งให้โจทก์โดยหักค่ามะม่วงจากเงินที่รับไป เมื่อส่งมะม่วงหมดแล้วจึงคิดบัญชีกัน หากค่ามะม่วงที่ส่งให้โจทก์ยังไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเอาไป จำเลยจะต้องรับผิดชอบ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 แต่กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลักษณะของบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856
แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้อง อันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไป และข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้อง อันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไป และข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางมัดจำกับการกู้ยืม: การพิสูจน์เจตนาของคู่สัญญาเพื่อกำหนดลักษณะของธุรกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวน 277,000 บาทตามเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่าโจทก์จะซื้อที่ดินจากจำเลย ได้วางเงินมัดจำ 277,000 บาท แก่จำเลยเอกสารสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่หลักฐานการกู้เงิน จำเลยจึงนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่าเงินตามที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว เป็นเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดหรืออีกนัยหนึ่งหนี้ที่ระบุในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการชำระหนี้ไม่ชอบฎีกาหากไม่โต้แย้งการกู้ยืมจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าจำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์เพียงครั้งเดียวจำนวน20,000บาทและจำเลยที่1ชำระหนี้เงินที่กู้ยืมจำนวนดังกล่าวครบถ้วนแล้วซึ่งมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่1มิได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน54,640บาทตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่1กู้เงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่นำสืบการใช้เงินขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสองนั้นเป็นการโต้เถียงการนำสืบการชำระเงินจำนวน20,000บาทไม่ได้โต้เถียงว่าจำเลยที่1กู้เงินโจทก์ตามฟ้องจริงจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2เป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานประจำวันคดีใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากมีลายมือชื่อผู้ยืมและระบุข้อตกลงชัดเจน
โจทก์กับจำเลยเป็นคู่รักกันต่อมาโจทก์กับจำเลยทะเลาะกันและจำเลยตบหน้าโจทก์โจทก์จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนซึ่งได้เปรียบเทียบปรับจำเลยตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับคดีอาญาแล้วยังได้บันทึกว่าจำเลยได้ขอยืมเงินของโจทก์และจำเลยสัญญาจะชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ทั้งจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างท้ายบันทึกนั้นด้วยแล้วกรณีถือได้ว่ารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินซึ่งโจทก์สามารถใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานกู้ยืมต้องมีลายมือชื่อผู้ยืม จึงใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้
แม้จำเลยเบิกความรับว่าจำเลยเป็นผู้เขียนข้อความในเอกสารด้วยตนเองว่าจำเลยได้ยืมเงินโจทก์หกหมื่นบาทถ้วนแต่เมื่อเอกสารไม่มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้เป็นผู้ยืมก็ถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้เป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยตามความหมายของมาตรา653วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมและอายุความดอกเบี้ย: ฟ้องบังคับคดีได้แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นปลอม และอายุความดอกเบี้ยแยกจากดอกเบี้ยค้างชำระ
ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้นเมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้ว ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อ ส.ผู้ให้กู้แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยเสียไปไม่
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้อง ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระจะใช้มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่) บังคับไม่ได้
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้อง ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระจะใช้มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่) บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อ แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นปลอม ก็ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ และดอกเบี้ยหลังวันฟ้องไม่ติดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย เมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงิน และลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม ก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยได้ที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไปไม่ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่)หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้อง ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี โดยไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อ แม้ผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อปลอม ก็ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้นเมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อส. ผู้ให้กู้แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยเสียไปไม่ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่)นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้อง ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระจะใช้มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่) บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการกู้ยืมส่วนตัวไม่เป็นหนี้ร่วม ภริยาไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีกู้ยืมเงินโจทก์มาใช้ส่วนตัว หนี้ดังกล่าวย่อมไม่ใช่หนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ภริยาจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์