พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการก่อสร้างอาคาร, อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมดแม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆแทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมดและตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มว่าจำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จ จำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็นรายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดเงื่อนไขใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฎีกาที่ไม่สามารถทำได้ในประเด็นข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยดำเนินการก่อสร้างผิดไปจากเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองจึงไม่เกินคำขอ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งงานก่อสร้างต่อความเสียหายที่เกิดจากผู้รับเหมา รวมถึงความรับผิดต่อค่าเช่าที่สูญเสีย
การก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 และในระหว่างการก่อสร้าง อ.กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ไปสังเกตการณ์ทุกวัน ดังนี้ พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาและมีข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่ง ป.พ.พ.จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ให้ ร.เช่าอาคารของโจทก์ และต่อมา ร.เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ ร.เช่าจากโจทก์ ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจาก ร.บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้
หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
โจทก์ให้ ร.เช่าอาคารของโจทก์ และต่อมา ร.เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ ร.เช่าจากโจทก์ ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจาก ร.บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้
หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาในการก่อสร้างที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อสร้างอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 22 ชั้น ใต้ดิน 1 ชั้น ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์และตาม สัญญารับจ้างเหมางานการก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าการก่อสร้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องกระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับในสัญญา ดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยที่ 1มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างการก่อสร้างจำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้าง ตลอดเวลาและมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1เช่นนี้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อจากการก่อสร้าง การพิพากษาเกินคำขอ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในระหว่างการก่อสร้าง บ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรง สั่นสะเทือนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็มแต่อย่างใด อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพง รั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีต ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจาก การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้าง ทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อ ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง เพราะ ตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิด ในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร และแม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดง ให้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิด ตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อก่อสร้าง/ซ่อมแซมรั้ว อาคาร แม้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติ ก็ใช้สิทธิได้หากสุจริต
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อที่ดินของโจทก์ด้านที่โจทก์จำเป็นต้องใช้ฉาบปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการปลูกสร้างอาคารของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1351 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ที่ดินของจำเลย ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ที่ดินของจำเลย ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อการก่อสร้าง/ซ่อมแซมรั้ว/กำแพง แม้มีข้อจำกัดตามเทศบัญญัติ ก็ไม่ตัดสิทธิผู้มีสิทธิใช้
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อด้านที่โจทก์จำเป็น ต้องใช้ฉาบปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการปลูกสร้างอาคาร ของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยทราบ เป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลย ครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 บทบัญญัตินี้เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ ทั้งการที่โจทก์ก่อสร้างอาคารของตน ก็ได้กระทำไปภายในขอบเขตที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคาร ของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติ ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 1351 ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดและการก่อสร้างใกล้สถานศึกษา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นความรับผิดตามมาตรา 428
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่ได้กล่าวเลยว่า จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ก่อสร้างอาคารในลักษณะจ้างแรงงานหรือจ้างทำของอันจะเป็นการต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 428 แต่คงกล่าวรวม ๆ กันไปว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างเหมาจำเลยที่ 2 ในลักษณะจ้างทำของไปแล้ว จึงไม่ต้องรับผิด คงให้การแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารและรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก อีกทั้งได้ประกันความเสียหายไว้แก่บริษัทประกันภัย และจำเลยทั้งสองได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสองไปแล้วจึงไม่ต้องรับผิด ด้วยเหตุนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 จึงไม่ชอบ ตลอดจนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวรวม ๆ กันไปกับประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการที่ต้องร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 หรือไม่ ถือเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ซึ่งสูงถึง 29 ชั้น และอยู่ห่างจากโรงเรียนของโจทก์ทั้งสองเพียง 4 เมตร มีวัสดุก่อสร้างตกเรี่ยราดเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณโรงเรียน หล่นใส่อาคารเรียน โรงฝึก และส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย นักเรียนสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนน้อยลงผิดปกติเป็นเวลาถึง 3 ปี จนกระทั่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาว่าสถานศึกษาต้องเป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน ปลอดภัย เมื่อผู้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ก่อสร้างที่เกรงว่าน่าจะเกิดอันตราย จึงไม่พึงปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าไปเล่าเรียน การที่มีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อยลงจึงถือเป็นความเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับจากการกระทำละเมิดดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ซึ่งสูงถึง 29 ชั้น และอยู่ห่างจากโรงเรียนของโจทก์ทั้งสองเพียง 4 เมตร มีวัสดุก่อสร้างตกเรี่ยราดเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณโรงเรียน หล่นใส่อาคารเรียน โรงฝึก และส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย นักเรียนสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนน้อยลงผิดปกติเป็นเวลาถึง 3 ปี จนกระทั่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาว่าสถานศึกษาต้องเป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน ปลอดภัย เมื่อผู้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ก่อสร้างที่เกรงว่าน่าจะเกิดอันตราย จึงไม่พึงปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าไปเล่าเรียน การที่มีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อยลงจึงถือเป็นความเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับจากการกระทำละเมิดดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ผังเมืองรวม: การก่อสร้างที่ผิดผังหลังกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ และการปรับใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่
ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่งการใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวง และตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งบัญญัติห้ามไว้ว่า ในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมนั้น โดยบัญญัติบทลงโทษทางอาญาและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 83 ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีการออก พ.ร.บ.ให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะในท้องที่เดียวกันก่อนจึงจะทำให้กฎกระทรวงข้างต้นมีผลใช้บังคับได้ เพราะการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเป็นกรณีที่บัญญัติแยกไว้ต่างหากทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 27 ซึ่งกำหนดโทษและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา 83 นั้น ได้บัญญัติห้ามเฉพาะกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมเท่านั้น มิได้ระบุถึงผังเมืองเฉพาะด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529)ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าวระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวงฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคารตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้
ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182(พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบ ง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้
จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าวระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวงฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคารตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้
ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182(พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบ ง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้