พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนของกลางคดีอาญา: การริบอาวุธปืนและสัตว์ป่า, เจ้าของต้องไม่รู้เห็นเป็นใจ
ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 29 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จําเลยทั้งสองกระทําความผิดบัญญัติให้ริบอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้และยานพาหนะใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทําความผิดเสียทั้งสิ้นโดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือไม่และตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 57 ก็บัญญัติให้ริบอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้...ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทําความผิดหรือมีไว้เนื่องในการกระทําความผิดเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่ ส่วนการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคําร้องขอต่อศาลที่สั่งริบในคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปของการขอคืนของกลางในคดีอาญา และศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์สินเมื่อเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิด คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีคําขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16 (3) (9) (13) (16), 24, 25, 27, 29 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 16, 19 วรรคหนึ่ง, 47, 57 ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว และสั่งริบของกลางรวมทั้งอาวุธปืนยาว 2 กระบอก การที่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 29 บัญญัติให้ริบอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้...เสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดหรือไม่ นั้น มิใช่เป็นการริบโดยเด็ดขาดเพราะจะเป็นการลงโทษบุคคลอื่นผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งมิใช่ผู้กระทําผิดอาญา เนื่องจากริบทรัพย์สินเป็นโทษทางอาญาสถานหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) ขัดกับหลักทั่วไปของการใช้กฎหมายอาญาที่ว่า บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทําความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเจ้าของที่แท้จริงมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลขอให้สั่งคืนทรัพย์ที่ถูกริบได้ สําหรับคดีนี้คือการยื่นขอคืนตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะจําเลยทั้งสองกระทําความผิด
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 109 และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 56 บัญญัติให้ศาลเป็นผู้สั่งริบทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทําความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทําความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทําความผิดโดยการร้องขอของพนักงานอัยการเช่นเดิม แต่ก็ยังให้โอกาสเจ้าของทรัพย์สินยื่นคําขอคืนได้ มิได้ตัดโอกาสเจ้าของมิให้ขอคืน โดยการขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 56 วรรคสอง และตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 109 วรรคสอง พนักงานอัยการสามารถร้องขอได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าของที่แท้จริงสามารถพิสูจน์ในทํานองเดียวกับการขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 โดยต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า ตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการนําทรัพย์สินนั้นไปใช้ในการกระทําความผิด อีกทั้งตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทําความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามบทบัญญัติมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 109 วรรคสอง ดังกล่าว ไม่อาจนํามาบังคับใช้กับคดีนี้ซึ่งศาลได้มีคําพิพากษาไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทําความผิดได้ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิร้องขอคืนของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 36 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคําร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคําพิพากษาถึงที่สุด จึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 36
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 109 และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 56 บัญญัติให้ศาลเป็นผู้สั่งริบทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทําความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทําความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทําความผิดโดยการร้องขอของพนักงานอัยการเช่นเดิม แต่ก็ยังให้โอกาสเจ้าของทรัพย์สินยื่นคําขอคืนได้ มิได้ตัดโอกาสเจ้าของมิให้ขอคืน โดยการขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 56 วรรคสอง และตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 109 วรรคสอง พนักงานอัยการสามารถร้องขอได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าของที่แท้จริงสามารถพิสูจน์ในทํานองเดียวกับการขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 โดยต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า ตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการนําทรัพย์สินนั้นไปใช้ในการกระทําความผิด อีกทั้งตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทําความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามบทบัญญัติมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 109 วรรคสอง ดังกล่าว ไม่อาจนํามาบังคับใช้กับคดีนี้ซึ่งศาลได้มีคําพิพากษาไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทําความผิดได้ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิร้องขอคืนของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 36 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคําร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคําพิพากษาถึงที่สุด จึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: กำหนดเวลาหนึ่งปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
การขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถกระบะของกลางเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จำเลยย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 จำเลยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่ขยายไว้ สิทธิที่ผู้ร้องจะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงต้องนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561