คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลดโทษจากประโยชน์ที่ได้จากการรับสารภาพ และการรวมโทษคดีอื่น
การที่ศาลเห็นว่าคดีมีเหตุบรรเทาโทษเพราะจำเลยให้การรับสารภาพอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาในคดีนี้ ก็มีอำนาจที่จะลดโทษให้แก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งของโทษที่จะได้รับในคดีนี้ได้ แต่ไม่มีอำนาจที่จะไปลดโทษในคดีอื่นที่ศาลรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้และโจทก์ขอให้นำโทษมาบวกกับโทษคดีนี้ที่มิได้พิพากษาเพียงแต่สามารถนำโทษในคดีอื่นที่ถึงที่สุดแล้วมาบวกกับโทษที่จำเลยจะได้รับในคดีนี้ได้ตาม ป.อ.มาตรา 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4675/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้อง: ขอบเขตและข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
ป.วิ.พ. มาตรา 179 มิได้ห้ามการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยการเพิ่มสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับหรือข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่อย่างใด คำว่า เพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ มิได้หมายความว่าคำฟ้องเดิมมีความบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งโจทก์อาจขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพียงเพื่อให้คำฟ้องเดิมถูกต้องและสมบูรณ์ แต่มีความหมายเพียงว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่โจทก์ขอเพิ่มเติมจากคำฟ้องเดิมนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ แม้จะเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาขึ้นใหม่ต่างหากจากคำฟ้องเดิม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามมาตรา 179 (2) และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเดิมและตามคำร้องขอแก้ไข คำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นภายหลังเกี่ยวเนื่องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีและการใช้บทบัญญัติมาตรา 245(1) คพพ. เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ใช้เฉพาะกรณีที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์เท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142, 243,245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน: กรณีที่ยังไม่ได้เริ่มทำงาน และการซื้อของส่วนตัวไม่อยู่ในขอบเขตของหน้าที่
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่และประสบอุบัติเหตุในระหว่างเดินทาง โจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่นายจ้าง ที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงานก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์ต้องทำ และการที่โจทก์ตั้งใจแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทาง ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์มิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ฟ้องฐานใด ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษฐานนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ได้รับความยุติธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลการขาย การตีความขอบเขตการสละสิทธิ
ตามสัญญาการออกจากงานและคำแปล โจทก์มิได้ยอมสละเงินรางวัลการขายนั้น เห็นว่า สัญญาการออกจากงานซึ่งทำขึ้นสืบเนื่องมาจากโจทก์ลาออก และในการทำสัญญาการออกจากงานฉบับนี้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้ปลดปล่อยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งออกจากภาระเรื่องเงิน สิทธิเรียกร้อง การเรียกร้องสัญญาและการกระทำทั้งปวงไม่ว่าอย่างไรทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยจำเลยยอมจ่ายเงินแก่โจทก์จำนวน 1,387,525 บาท จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลให้สิทธิเรียกร้องเงินรางวัลการขายระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจ: การขอคืนของกลางต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส.มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจดำเนินคดีในศาล หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้อง และไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค.ยื่นคำร้องดังกล่าว ค.จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในสัญญาค้ำประกัน: ข้อตกลงและความเป็นลูกหนี้ร่วม
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ค้ำประกันตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยินยอมผูกพันตนเข้ารับใช้หนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดใช้ให้โจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยฎีกาว่า สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยมิได้ระบุว่าหากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยต้องรับผิดด้วย ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาเกี่ยวกับความมีหรือไม่มีอยู่ของข้อตกลงในสัญญาค้ำประกัน มิใช่เป็นการฎีกาว่า ศาลล่างตีความในสัญญาหรือแปลความหมายในสัญญาผิด จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ผู้ควบคุมงาน' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ และระเบียบข้อบังคับนายจ้าง: ตำแหน่งบังคับบัญชาสูงสุดเท่านั้น
ลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 36 หมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งบังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยเปรียบเสมือนเป็นนายจ้างในกรณีการจ้าง ลดค่าจ้าง เลิกจ้าง ให้บำเหน็จ ลงโทษ หรือวินิจฉัยข้อร้องทุกข์เพียงประการใดประการหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยกำหนดให้ "ผู้ควบคุมงาน"มีอำนาจทำการแทนจำเลยสำหรับการจ้าง ลดค่าจ้าง เลิกจ้าง ให้บำเหน็จ ลงโทษหรือวินิจฉัยข้อร้องทุกข์อย่างหนึ่งอย่างใด ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามประกาศเรื่องระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลย "ผู้ควบคุม" จึงหมายถึงลูกจ้างของจำเลยซึ่งทำงานในตำแหน่งบังคับบัญชามีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยเด็ดขาดเปรียบเสมือนเป็นนายจ้างด้วย ซึ่งปกติย่อมหมายถึงผู้มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดในแต่ละหน่วยงานของจำเลยเท่านั้น แต่โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยพยาบาลเท่านั้น มิใช่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วย โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยต้องชำระค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญาหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดการพิจารณาเฉพาะข้อความที่บรรยายในคำฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกนำข้อความที่ว่า โจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัด ช. ประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดสมัยวิสามัญประจำปีของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 326, 328, 83 แต่ทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยกับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรมอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่
of 66