คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขายทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจ ถือเป็นการละเมิด แม้จะทำแทนผู้อื่นก็ต้องรับผิด
จำเลยขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์โดยเชื่อทหารอังกฤษซึ่งเป็นผู้สั่งให้ขาย โจทก์มาคัดค้านในขณะขาย แต่จำเลยคงขืนขายทอดตลาดไป ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์เจ้าของทรัพย์ แม้จำเลยทำแทนผู้อื่นก็ไม่พ้นความรับผิด
ข้อที่จำเลยอ้างว่าขายโดยคำสั่งของทางสหะประชาชาตินั้นจำเลยจะต้องแสดงว่าสหะประชาชาติมีสิทธิประการใดที่จะมาขายทรัพย์ของโจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมจัดกิจการและทรัพย์สิน ฯลฯ นั้นก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้กระทำไปตามคำสั่งของคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.นั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องยักยอกต้องระบุชัดว่าจำเลยขายทรัพย์สินที่รับมอบหมายหรือไม่ หากไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องไม่ถูกต้อง
คดีหาว่า จำเลยยักยอกแหวนของโจทก์ที่ฝากจำเลยขายนั้น คำฟ้องของโจทก์จะต้องปรากฎให้แจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายแหวนที่ได้รับมอบหมายไปจากโจทก์แล้ว มิฉะนั้นจะกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกแหวนมิได้.
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวนแต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานยักยอกต้องชัดเจนว่าจำเลยขายทรัพย์สินแล้ว หากยังไม่ได้ขายถือว่าไม่ได้ยักยอก
คดีหาว่า จำเลยยักยอกแหวนของโจทก์ที่ฝากจำเลยขายนั้นคำฟ้องของโจทก์จะต้องปรากฏให้แจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายแหวนที่ได้รับมอบหมายไปจากโจทก์แล้ว มิฉะนั้นจะกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกแหวนมิได้
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวน แต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ก็ไม่ได้เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ต่างด้าวขายทรัพย์สินส่วนตัว ไม่ถือเป็นการประกอบอาชีพรับจ้าง จึงไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ช่วยอาชีพฯ
คนต่างด้าวขายน้ำมันยางและไต้ของตนเองมิได้ประกอบอาชีพรับจ้างบุคคลใดขาย ยังไม่ผิดตามพ.ร.บ.ช่วยอาชีพฯ 2485

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเงินจากการขายทรัพย์สินร่วมกัน ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์
จำเลยมีส่วนได้รับเงินในการขายนา รับเงินมาจากอำเภอแล้วไม่ได้มาจัดการแบ่งให้แก่พวกน้อง ๆ ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ หรือวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี แม้คืนราคาให้ภายหลังก็ยังถือเป็นความผิด
จำเลยขายทรัพย์ไปโดยรู้ว่าศาลจะออกหมายยึดแม้จำเลยจะคืนราคาทรัพย์ที่ขายนั้นในภายหลัง ก็ต้องมีผิดตาม ม.308

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้
เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 ทรัพย์สินซึ่งรวบรวมมาได้นั้นบทบัญญัติมาตรา 123 ให้อำนาจผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะนำออกขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้
ผู้คัดค้านที่ 1 ขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อผู้ร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมติเจ้าหนี้
การรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 117 ถึงมาตรา 123 โดยทรัพย์สินซึ่งรวบรวมได้มานั้นมาตรา 123 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่จะนำออกขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ เมื่อผู้คัดค้านขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อผู้ร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินโดยมิใช่ตัวแทน ยักยอกทรัพย์หรือไม่ และการบังคับชำระหนี้ในคดีอาญา
โจทก์ร่วมมอบทับทิมให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปขาย โดยโจทก์ร่วมกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ จำเลยจะขายในราคาที่สูงกว่าก็ได้ จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่ต้องนำเงินตามราคาที่โจทก์ร่วมกำหนดไว้มาชำระคืนให้แก่โจทก์ร่วมเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จำเลยย่อมมีสิทธิขายทับทิมอย่างเป็นของของตนเอง หาใช่เป็นตัวแทนไปขายในนามของโจทก์ร่วมไม่ แม้จะมีข้อตกลงให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่ขายทับทิมได้ ก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับโจทก์ร่วมยอมรับชำระหนี้บางส่วนจากจำเลย ตามพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมแสดงให้เห็นว่า โจทก์ร่วมประสงค์จะได้รับเงินที่ได้จากการขายทับทิมคืนเท่านั้น การที่จำเลยไม่ส่งมอบคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วนเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทางแพ่งต่อโจทก์ร่วมเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 คดียักยอกถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงิน 500,000 บาท ของโจทก์ร่วม และขอให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ร่วมด้วยแล้ว แม้จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานยักยอก แต่เมื่อจำเลยรับว่าต้องคืนเงิน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้ หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ยักยอกทรัพย์-สนับสนุนการกระทำผิด กรณีขายทรัพย์สินของรัฐโดยมิชอบ
ศาลาทรงไทยกลางน้ำสร้างจากงบประมาณของเทศบาลตำบล ป. แม้ไม่มีเลขทะเบียนครุภัณฑ์หรือเป็นพัสดุที่ไม่มีทะเบียนคุม การดำเนินการใดๆ กับศาลาทรงไทยดังกล่าวต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่าเป็นอำนาจสั่งการของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีตำบล ป. ผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบและจำหน่ายพัสดุของจำเลยที่ 1 ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติราชการในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ตาม ป.อ. จำเลยที่ 1 จำหน่ายศาลาทรงไทยกลางน้ำของเทศบาลให้แก่เอกชนในลักษณะที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว อีกทั้งไม่นำเงินที่ขายได้ส่งเป็นรายได้เทศบาลในทันที จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่เทศบาลทักท้วง ทวงถาม และถูกตรวจสอบโดยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด จึงให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเลขานุการนำเงินมาคืนในภายหลัง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และมาตรา 151 ซึ่งเป็นบทเฉพาะของบททั่วไปตามมาตรา 157 ย่อมไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 2 เป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีของจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดต่อขายศาลาทรงไทยกลางน้ำของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประชุมวาระอนุมัติรื้อถอนศาลาทรงไทยกลางน้ำ ก็เป็นเวลาในภายหลังจากจำเลยที่ 1 ติดต่อขายศาลาทรงไทยดังกล่าวไปแล้ว ทั้งการที่จำเลยที่ 2 รับฝากเงินค่าขายศาลาดังกล่าวไว้จากผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่อยู่ที่สำนักงาน เป็นการกระทำตามคำสั่งของ จำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชา ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ก่อนหรือขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ย่อมมิใช่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1
of 6