พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบุคคลสืบได้ในสัญญาจ้างทำของ, แก้ไขจำนวนเงินเบี้ยปรับตามข้อผิดพลาดเล็กน้อย
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: พยานบุคคลสืบแก้ข้อความในสัญญาได้, แก้ไขข้อผิดพลาดคำพิพากษา
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน248,625บาทแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น248,625บาทเพื่อให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ชื่อจำเลยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ทำให้คำพิพากษานั้นเป็นโมฆะ
แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิมพ์ชื่อจำเลยผิดพลาดก็ตาม แต่เนื้อหาของคำพิพากษาก็วินิจฉัยถึงความผิดของจำเลยผู้ออกเช็คตามที่โจทก์ฟ้อง และวินิจฉัยตามประเด็นที่จำเลยยกมาอุทธรณ์ กรณีหามีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นโมฆะถึงกับต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ และผลกระทบต่อการล้มละลาย รวมถึงข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดี
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้น มีความว่า ข้อ 1. ลูกหนี้ที่ 2 ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130 (1)-(7) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ 2 นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ 1 ลูกหนี้ที่ 2 ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้ คือ งวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 1 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน โดยมีกำหนด 4 เดือน ต่อ 1 งวด ข้อ 3.หนี้ตามข้อ 1. และ 2. นั้น ลูกหนี้ที่ 2 จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 จำนวน 10 รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน 9 ราย แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา 130 (4) กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ 1. และข้อ 2. เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 นี้เท่านั้น แต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130 (1)-(7) และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้ว มิใช่ไม่อาจคำนวณได้ และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไป ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่ 2 จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่ 2 ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่ 2 กลับเพิกเฉยเสีย ย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่ 2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่ 2 ล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด และคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่ 2 โดยในวันนัดลูกหนี้ที่ 2 ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันปิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติ-ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้ และถือว่าลูกหนี้ที่ 2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตาม แต่ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ได้รับผลเสียหายใด ๆ จากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด และคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่ 2 โดยในวันนัดลูกหนี้ที่ 2 ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันปิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติ-ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้ และถือว่าลูกหนี้ที่ 2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตาม แต่ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ได้รับผลเสียหายใด ๆ จากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย/ผิดหลงเล็กน้อย และค่าธรรมเนียมผิดนัด
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำฟ้องจำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์ซึ่งตามปกติการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172ถือว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในข้อสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรสินเชื่อที่โจทก์ออกให้ไปใช้โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน20,620บาทจำเลยต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน20,620บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนคำนวณถึงวันฟ้องจำนวน4,646.37บาทรวมเป็นเงิน25,266.37บาทซึ่งปกติถ้าโจทก์ไม่บรรยายคำฟ้องต่อไปว่าไม่ประสงค์เรียกร้องให้ตรงจำนวนหนี้แล้วโจทก์ก็ต้องบรรยายคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดดังกล่าวแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนในต้นเงินจำนวน20,620บาทเห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนาต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 โจทก์ได้บรรยายวิธีการใช้บัตรสินเชื่อไว้ว่าเมื่อสมาชิกผู้มีบัตรประสงค์จะซื้อสินค้าใช้บริการหรืออื่นๆสมาชิกสามารถนำบัตรดังกล่าวไปแสดงต่อบุคคลนิติบุคคลหรือร้านค้าต่างๆซึ่งตกลงรับบัตรที่โจทก์ออกให้โดยไม่ต้องชำระเงินสดซึ่งโจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกแล้วภายหลังจึงเรียกเก็บจากสมาชิกเป็นรายเดือนโดยแนบใบแจ้งยอดบัญชีกับหลักฐานซึ่งแสดงว่าสมาชิกได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการแต่ละครั้งไปด้วยฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาผิดสัญญาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้วไม่เคลือบคลุม ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อของโจทก์เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดโดยไม่เรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีกค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศขายทอดตลาดที่ดินจำนอง: ข้อผิดพลาดในการคำนวณดอกเบี้ยไม่ถึงขั้นทำให้การบังคับคดีเป็นโมฆะ
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินโดยติดจำนองและคิดดอกเบี้ยเกิน 5 ปี อาจทำให้ผู้เข้าประมูลเข้าใจผิดในยอดหนี้จำนองซึ่งเป็นการไม่สมควร แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จำเลยไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขประกาศขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถานชอบธรรมหากเป็นแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และประเด็นฟ้องเคลือบคลุมต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
คำขอท้ายฟ้องเป็นคำขอบังคับที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายมาในตอนต้นเมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสาเหตุความรับผิดของจำเลยทั้งสามรวมทั้งได้บรรยายจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดซึ่งเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างกันมาด้วยการขอแก้ไขคำฟ้องตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยที่2เป็นขอให้บังคับจำเลยที่3ให้ตรงกับที่บรรยายฟ้องมาในตอนต้นจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่จะต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน แม้จำเลยจะให้การเป็นประเด็นต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแต่เหตุที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในฎีกาเป็นคนละเรื่องแตกต่างจากที่อ้างในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ถือว่าฎีกาของจำเลยเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดเลขทะเบียนรถในฟ้อง ไม่ใช่ข้อแตกต่างสาระสำคัญ หากจำเลยต่อสู้เรื่องเหตุสุดวิสัย ศาลลงโทษได้
กรณีฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสนั้น สาระสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสหรือไม่ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายหมายเลขทะเบียนรถผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณา ก็หาเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญไม่ เมื่อจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าพวงมาลัยไม่สามารถบังคับรถได้ จึงถือว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ต้องร้องขอให้บังคับคดีตามที่ถูกต้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 142 คำพิพากษานั้นกฎหมายห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้ในสิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง แต่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกัน ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้วมีข้อความผิดพลาดไม่ถูกต้องนั้น เมื่อโจทก์บังคับคดี จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลบังคับคดีโดยถูกต้อง โดยอ้างว่าการคิดต้นเงินหรือดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้องอย่างใด ที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใดแล้วขอให้บังคับคดีไปตามนั้นได้ เพราะคำพิพากษาตามยอมต้องบังคับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1จะต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล ในชั้นนี้ศาลฎีกายังวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการระบุปริมาณยาเสพติดในฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ฟ้องไม่เคลือบคลุม
ตามฟ้องโจทก์ข้อ 1 (ก) และ (ข) ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสามมีกัญชาจำนวน 27.270 กิโลกรัม แต่เหตุที่ตามฟ้องโจทก์ข้อ 2ระบุว่า กัญชาของกลางหมดไปในการตรวจพิสูจน์ 150 กรัม ที่เหลือ 27.120กรัม เป็นความผิดพลาดที่ใส่จุดทศนิยมระหว่างเลข 7 และเลข 1 แทนที่จะใช้เครื่องหมายจุลภาคระหว่างเลขทั้งสองตัวดังกล่าว เป็นความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เกิดความสับสน เพราะจำเลยต่อสู้คดีว่ากัญชาของกลางไม่ใช่ของจำเลย จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม