พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนได้
ตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในข้อ 11.01 ตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งตามสัญญาทุกอย่างให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันความบกพร่องของงานเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาก่อสร้างอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญา และเมื่อเกิดข้อโต้แย้งดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ติดต่อทวงถามตามที่คิดว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยก่อน เมื่อจำเลยไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่เหนือจำเลย ข้อโต้แย้งตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยเกิดก่อนการเสนอคำฟ้องต่อศาลแล้ว
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว คำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ" ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใด และใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่ จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว คำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ" ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใด และใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่ จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย: สิทธิการปรับเพิ่มราคาตามประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ และการพิสูจน์ข้อตกลงการใช้บริการวิทยุสื่อสาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประกาศซึ่งมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ท. เป็นลูกจ้างของบริษัทควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยท. มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ ท. ตกลงกับโจทก์และโจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารให้พนักงานรักษาความปลอดภัยนำไปใช้เพื่อความสะดวกในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารดังกล่าว
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ท. เป็นลูกจ้างของบริษัทควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยท. มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ ท. ตกลงกับโจทก์และโจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารให้พนักงานรักษาความปลอดภัยนำไปใช้เพื่อความสะดวกในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงกับศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ และด้านทิศใต้อีกประมาณ 2 งานขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ600 บาท จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาที่ดินพิพาทคือทุนทรัพย์ชั้นฎีกามีเพียง 101,500 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: ประเด็นไม่ใช่การแย่งการครอบครอง แต่เป็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน
จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ไม่มีประเด็น เรื่องแย่งการครอบครองจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีของโจทก์ โจทก์จึง มีสิทธิฟ้องคดีหาใช่หมดสิทธิฟ้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เป็นบทบังคับเรื่อง กำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ซึ่งเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องคดี หากไม่ฟ้อง ภายในกำหนดก็หมดสิทธิฟ้อง มิใช่เรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานกรณีข้อพิพาทเรื่องการโอนชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการพิพากษา
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการแก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2.ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลยรับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยานตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทำการแทนบริษัทที่มีข้อพิพาท ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ.และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นว่า ให้ ก.เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก.ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่งตั้งให้ ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก.เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการที่ ก.ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก.เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ.กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยการที่ ณ.แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก.แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆรวมทั้งที่ ก.และ อ.เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่า การกระทำต่าง ๆดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก.เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว.ซึ่ง ณ.แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว.เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ก.และ อ.ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำกัดประเด็นข้อพิพาท และผลของการวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่าย
โจทก์จำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงกัน และตกลงให้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเอกสารฉบับที่พิพาท เพียงประเด็นเดียวว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย อันจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากข้อสัญญาดังกล่าวไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์และหากข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่ต้องมีการ สืบพยานกันต่อไป ข้อตกลงเช่นนี้ถือได้ว่ามีลักษณะ เป็นคำท้า หรือมีการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แล้ว หาจำต้อง มีข้อความว่าคู่ความตกลงท้ากันหรือให้ถือเอาเป็นประเด็น ข้อแพ้ชนะแห่งคดี จึงจะเป็นคำท้าไม่ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองในเรื่องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนให้สัญญากับโจทก์ ในฐานะตัวการว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองใน ราคาและเงื่อนไขที่กำหนด เรื่องการส่งเงินค่าปุ๋ยแก่โจทก์ ในกรณีขายเงินสด ขายเงินเชื่อ หากมีเงินค้างชำระยอมให้ คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ตกลงกัน และข้อปฏิบัติในเมื่อ สัญญาสิ้นสุดลง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อตกลงที่เป็นพันธะ ผูกพันระหว่างคู่กรณี มิได้เกี่ยวข้องหรือกระทบไปถึงผลประโยชน์ ส่วนได้เสียของประชาชนโดยทั่วไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อตกลง นี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามฟ้องตามคำท้า โดยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีในประเด็นข้ออื่นที่คู่ความตกลง สละแล้วต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอายุความสัญญาบัตรเครดิต สัญญาไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด อายุความ 2 ปี
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าวโดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตโจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่าโจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระ เป็นการ ผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้ อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7 มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า การคิดค่าเสียหาย ค่าเบี้ยปรับ และการคืนเงินมัดจำ
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงิน ประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลย สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้ บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379,381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้ สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะ ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่า ก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลย ชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อ ของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกันแต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอา ได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุ ให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบ หรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชย การยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงิน ค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับ ทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้า เมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียก เอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหาย ที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่า เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวน พอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่า ก่อนครบกำหนดกรณีเดียว ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัทป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหาย ที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้า ทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่า ในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่า ให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลย ผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่า นั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ ด้วย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้ จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 เพราะ มิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่า เป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่าผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้วหลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยโจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหัก ออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเขตที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการใช้สิทธิโดยสุจริต
ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 264 มา โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทตรงที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม การที่โจทก์ได้ขอรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยก แต่จำเลยคัดค้าน การนำชี้ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมเช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านต่อเจ้าของร่วมเดิมในที่ดินแปลงพิพาทก่อนขายให้โจทก์ ทั้งยังปรากฏอีกว่าผู้เช่าที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ใช้น้ำในคลองที่ฝ่ายจำเลยขุดขึ้นรวมตลอดลำรางในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินเดิมคัดค้าน เมื่อจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับจำเลยร่วม จำเลยมิได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ การที่จำเลยได้คัดค้านการชี้แนวที่ดินของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านการชี้แนวเขต