คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยจากความประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย แม้ไม่มีข้อกำหนดในกรมธรรม์
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมิได้มีข้อกำหนดยกเว้นให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเหตุอันเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ขับขี่ไว้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 879 ก็ได้บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ จำเลยจึงยกขึ้นอ้างได้ แม้จะไม่ได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรมและการจดทะเบียนสิทธิ แม้พินัยกรรมไม่ได้ระบุ และการข้อยกเว้นอายุความ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636-6637/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาถูกระงับจากการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง แม้มีข้อยกเว้น
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายที่ได้สละนั้นระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก ดังนั้น หนี้ตามเช็คจึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า การยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 แต่ข้อตกลงนั้นสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงอื่น ๆ ได้หาทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง และข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย
สินค้าที่ขนส่งเสียหายและเหตุแห่งการเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 39 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่ง เช่น การบรรจุหีบห่อ ไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เหมาะสมกับสภาพแห่งของหรือการเสียหายนั้นเกิดจากสภาพแห่งของนั้นเองตามมาตรา 52(9) และ (10)จำเลยที่ 1 นำสืบว่าได้บันทึกข้อสงวนไว้ในใบตราส่งแต่ไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เห็นว่าการเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเป็นผลมาจากการบรรจุหีบห่อไม่ดีหรือไม่เหมาะสมกับสภาพแห่งของหรือการเสียหายนั้นเกิดจากสภาพแห่งของนั้นเองหรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแต่สามารถบอกเลิกได้ก่อนกำหนด ไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบด้วยไม่ได้เมื่อสัญญาจ้างกำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญาจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจเงินทุนและข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 การประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนมา แต่โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจในการจัดหาเงินทุนมาเพื่อนำออกให้ผู้อื่นกู้ยืม จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.การประกอบธรุกิจเงินทุนฯ มาตรา8 วรรคหนึ่ง
โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน และตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง vs. ขายของโดยหลอกลวง และข้อยกเว้นใบอนุญาตขายอาหารสัตว์
จำเลยส่งไข่ผงที่เสื่อมคุณภาพแล้วให้โจทก์ร่วม โดยหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าไข่ผงดังกล่าวเป็นนมผงตามที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อ เพื่อหวังจะได้เงินจากโจทก์ร่วมอันเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต แต่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง แต่ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ให้ผลิตอาหารสัตว์ตามใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย จึงถือได้ว่าบริษัท อ. ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมาย และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยและวรรคสองบัญญัติว่า ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. จึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: สิทธิในการฟ้องอาญาและข้อยกเว้นที่โมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความคดีเช็ค: ระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้มีข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก เหตุอันสมควร และข้อยกเว้นความผิด
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317เพื่อเอาโทษแก่ผู้ที่พรากเด็ก แม้เด็กเต็มใจไปด้วยการพรากเด็กตามมาตรานี้มิได้จำกัดว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใด ถ้าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีแล้วย่อมเป็นความผิดแม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต มีความรู้สึกผิดชอบเกินกว่า ปกติก็ตาม และการพรากก็มิได้จำกัดว่าพรากไปเพื่อประสงค์ใด หรือประโยชน์อย่างใดเพียงแต่มีเจตนาพรากเด็กไปเสียจาก บิดามารดาก็เป็นความผิดแล้ว แต่ถ้าจำเลยพรากเด็กไปโดยมีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ปรากฏว่าผู้เสียหายกำลังศึกษาเล่าเรียนยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพราก ผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาขณะที่บิดามารดาจำต้อง อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าง ที่เป็นผู้เยาว์และมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรอันเป็นสิทธิ และหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การกระทำของจำเลยจึงปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจ ต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้สมรสและมีบุตรด้วยกัน การกระทำของจำเลย ขาดเจตนากระทำเพื่อการอนาจาร จึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
of 41