คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วินัย, การลงโทษ, และข้อเรียกร้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
วินัยและโทษทางวินัยเป็นรายการที่นายจ้างต้องให้มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 68 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย แม้ไม่มีระบุไว้ในรายการของข้อ 68 แต่นายจ้างจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยก็ได้ เพราะรายการในข้อ 68 เป็นเพียงรายการที่กำหนดว่าอย่างน้อยต้องมีเท่านั้น และการที่นายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับก็หาเป็นการทำให้นายจ้างลงโทษลูกจ้างโดยปลดออกจากงานแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่เพราะการที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อปลดออกจากงานนั้น ต้องพิจารณาว่าเป็นการปลดออกในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 47 (1) ถึง (6) หรือไม่
"ข้อเรียกร้อง" ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 31 หมายถึงข้อเรียกร้องที่สมบูรณ์ตามบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นช่องทางให้ลูกจ้างผู้ไม่สุจริตหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษทางวินัยได้โดยง่าย ดังนั้น เมื่อได้ความว่าสหภาพแรงงานมีสมาชิกไม่ถึงหนึ่งในห้า ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานที่ขอให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจึงไม่สมบูรณ์เป็นข้อเรียกร้องตามมาตรา 15 แม้ข้อเรียกร้องนั้นจะผ่านการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทจนอยู่ในระหว่างการพิจารณาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ก็ถือไม่ได้ว่ามีข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และการที่โจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่นายจ้างปลดโจทก์ ออกจากงานระหว่างนั้นจึงไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วินัย, การลงโทษทางวินัย, และการคุ้มครองลูกจ้าง: ข้อเรียกร้องไม่สมบูรณ์ไม่คุ้มครองการเลิกจ้าง
วินัยและโทษทางวินัยเป็นรายการที่นายจ้างต้องให้มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 68 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย แม้ไม่มีระบุไว้ในรายการของข้อ 68 แต่นายจ้างจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยก็ได้เพราะรายการในข้อ 68 เป็นเพียงรายการที่กำหนดว่าอย่างน้อยต้องมีเท่านั้น และการที่นายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับก็หาเป็นการทำให้นายจ้างลงโทษลูกจ้างโดยปลดออกจากงานแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่เพราะการที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อปลดออกจากงานนั้น ต้องพิจารณาว่าเป็นการปลดออกในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 47(1) ถึง (6) หรือไม่ 'ข้อเรียกร้อง' ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 31 หมายถึงข้อเรียกร้องที่สมบูรณ์ตามบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นช่องทางให้ลูกจ้างผู้ไม่สุจริตหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษทางวินัยได้โดย ง่าย ดังนั้น เมื่อได้ความว่าสหภาพแรงงานมีสมาชิกไม่ถึงหนึ่งในห้า ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานที่ขอให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจึงไม่สมบูรณ์เป็นข้อเรียกร้องตามมาตรา 15 แม้ข้อเรียกร้องนั้นจะผ่านการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทจนอยู่ในระหว่างการพิจารณาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ก็ถือไม่ได้ว่ามีข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และการที่โจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่นายจ้างปลดโจทก์ ออกจากงานระหว่างนั้นจึงไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อเรียกร้องและเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างต้องครอบคลุมลูกจ้างทั้งหมด มิเช่นนั้นข้อตกลงทำกับผู้แทนที่ไม่ชอบจะไม่มีผลผูกพัน
การที่นายจ้างแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างนั้น เพียงแต่นายจ้างปิดประกาศข้อเรียกร้อง และส่งสำเนาประกาศแก่หัวหน้าแผนกทราบเพื่อชี้แจงแก่ลูกจ้างในแผนกก็เป็นการเพียงพอแล้ว
การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างโดยลูกจ้างจัดการเอง ต้องมีการประชุมลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในกรณีที่ข้อเรียกร้องของนายจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้างข้อเรียกร้องนี้จึงเกี่ยวข้องกับลูกจ้างทั้งหมด การประชุมเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างจึงต้องเป็นการประชุมลูกจ้างทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนในการเจรจากับฝ่ายนายจ้างไม่ใช่เลือกตั้งกันเป็นแผนก ๆ เพราะลูกจ้างที่แผนกอื่นเลือกตั้งมาอาจไม่ใช่ผู้ที่ลูกจ้างในอีกแผนกหนึ่งประสงค์จะเลือกเป็นผู้แทนก็ได้
ถ้าผู้แทนที่เลือกตั้งมาไม่ใช่ผู้แทนของลูกจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างนั้นไม่ชอบ เมื่อผู้ซึ่งไม่ได้เป็นผู้แทนลูกจ้างที่แท้จริงไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้าง ข้อตกลงนั้นทั้งฉบับไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างต้องครอบคลุมลูกจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ข้อตกลงที่ทำโดยผู้แทนที่ไม่ชอบ ไม่มีผลผูกพัน
การที่นายจ้างแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างนั้น เพียงแต่นายจ้างปิดประกาศข้อเรียกร้อง และส่งสำเนาประกาศแก่หัวหน้าแผนกทราบ เพื่อชี้แจงแก่ลูกจ้างในแผนกก็เป็นการเพียงพอแล้ว
การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างโดยลูกจ้างจัดการเอง ต้องมีการประชุมลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในกรณีที่ข้อเรียกร้องของนายจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้างข้อเรียกร้องนี้จึงเกี่ยวข้องกับลูกจ้างทั้งหมด การประชุมเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างจึงต้องเป็นการประชุมลูกจ้างทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนในการเจรจากับฝ่ายนายจ้างไม่ใช่เลือกตั้งกันเป็นแผนก ๆ เพราะลูกจ้างที่แผนกอื่นเลือกตั้งมาอาจไม่ใช่ผู้ที่ลูกจ้างในอีกแผนกหนึ่งประสงค์จะเลือกเป็นผู้แทนก็ได้
ถ้าผู้แทนที่เลือกตั้งมาไม่ใช่ผู้แทนของลูกจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างนั้นไม่ชอบ เมื่อผู้ซึ่งไม่ได้เป็นผู้แทนลูกจ้างที่แท้จริงไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้าง ข้อตกลงนั้นทั้งฉบับไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602-2603/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากยื่นข้อเรียกร้อง: การเลิกจ้างไม่ชอบตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แม้จะยื่นในระหว่างที่ยังใช้ข้อบังคับเดิมที่ตกลงกัน ก็ถือได้ว่าได้มีการยื่นข้อเรียกร้องแล้ว บริษัทนายจ้างจึงต้องห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 161 การเลิกจ้างจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602-2603/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้อง: การเลิกจ้างไม่ชอบตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา 121
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทผู้เป็นนายจ้างแม้จะยื่นในระหว่างที่ยังใช้ข้อบังคับเดิมที่ตกลงกันก็ถือได้ว่าได้มีการยื่นข้อเรียกร้องแล้ว บริษัทนายจ้างจึงต้องห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 การเลิกจ้างจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างลดวันทำงานลูกจ้างหลังยื่นข้อเรียกร้องถือเป็นการกลั่นแกล้งขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างลดวันทำงานของลูกจ้าง 9 คน จาก 6 วันเหลือ 2 วันต่อสัปดาห์ เพราะยื่นข้อเรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา121(1) คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้นายจ้างใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: มูลค่าทรัพย์สินน้อยกว่าข้อเรียกร้อง
ทรัพย์มรดกกว่าสองพันบาทโจทก์ฟ้องแบ่งไม่ถึงสองพันบาทเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขศาลชั้นต้นเล็กน้อย คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
กรณีที่ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามของ: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับของตามข้อตกลง แม้มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติมจากผู้แทน
ผู้ซื้อมีอำนาจติดตามของ ๆ ตน
of 6