พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการชดใช้ทุน: การกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนหลังถูกปลดออกและได้รับการล้างมลทิน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อ หรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(โจทก์)เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับเข้ารับราชการหลังรับบำนาญ: ผลกระทบต่อสิทธิบำนาญและการงดบำนาญระหว่างรับราชการ
โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนรับราชการเป็นครูในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง จำเลยที่ 3 ต่อมาเทศบาลเมืองตรังได้ขยายเขตพื้นที่การปกครองออกไปรวมเอาโรงเรียนซึ่งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสอนอยู่เป็นของเทศบาลเมืองตรังด้วย โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสมัครใจสอนในโรงเรียนเดิม จำเลยที่ 3จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุทดแทนในวันเดียวกัน เทศบาลเมืองตรังได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนเข้ารับราชการเป็นพนักงานเทศบาลเมืองตรัง โดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนซึ่งได้ออกจากราชการและมีสิทธิรับบำนาญตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500 แล้วได้ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ในสังกัดเทศบาลโดยได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนเดิม โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจึงต้องบอกเลิกรับบำนาญตามมาตรา 30 และโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจะต้องถูกงดบำนาญในระหว่างที่เข้ารับราชการใหม่ด้วย ตามมาตรา 34 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานต่อการกระทำของข้าราชการ: หลักการแทน และความรับผิดแม้ไม่มีประมาทเลินเล่อ
รถยนต์ของกลางหายไปในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพันตำรวจตรี ส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจตรี ส. จึงกระทำไปในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวสูญหาย จำเลยที่ 1 ก็จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อแจ้งเรื่องวินัยข้าราชการ ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท หากกระทำโดยสุจริตและเป็นวิสัยของประชาชน
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่มีผู้สนทนากันกล่าวถึงผู้เสียหายทั้งสองมีพฤติกรรมในทางชู้สาวต่อกันที่โรงเรียนที่ผู้เสียหายทั้งสองสอนอยู่ไปเปิดให้นาย ส.ม.หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับพวกฟังที่บ้านของนาย ส.ม.โดยเกิดจากการแนะนำของนาย ส.กับนายส.ม. และผู้ร่วมฟังแถบบันทึกเสียงก็เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งสิ้น ทั้งไม่ใช่เปิดในที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะหากผู้เสียหายทั้งสองกระทำการในทางชู้สาวจริง นอกจากจะผิดต่อศีลธรรมแล้วยังผิดในทางวินัยข้าราชการอีกด้วย เนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองต่างรับราชการเป็นครูและต่างมีสามีและภรรยาแล้ว ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะใส่ความผู้เสียหายทั้งสองให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหาย แต่เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายตามที่ทำการ - ข้อยกเว้น พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้าน
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการ โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานคร และได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2526 ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่ และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) หรือมาตราอื่นใดแห่ง พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – การย้ายไปต่างท้องที่และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เดิมที่ทำการของโจทก์อยู่ที่กรุงเทพมหานครส่วนจำเลยเป็นข้าราชการสังกัดของโจทก์โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครเช่นกันต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฎิบัติราชการประจำที่ที่ทำการใหม่ของโจทก์ด้วยมีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำที่ทำการของโจทก์ในต่างท้องที่และเมื่อการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่ทำการแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่งหรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯที่จะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจำเลยจึงมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการโดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานครและได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่16มกราคม2526ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัยเขตพญาไทกรุงเทพมหานครต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีการที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่ง(1)ถึง(4)หรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการจำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อสัญญาที่ข้าราชการทำโดยมิได้รับมอบหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 3 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมจำเลยที่ 1ได้นำรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมโดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้างทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบหมายหรือตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาจ้างดังกล่าวและจำเลยที่ 3 มิได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกร้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยไม่มีหน้าที่อนุมัติจ่ายเงินโดยตรง
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้