พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดี: การส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมายและการพิสูจน์เหตุสมควรที่มาศาลไม่ได้
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นว่า มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ โดยได้ส่งหมายนัดให้โจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในคำฟ้อง และพ.ทนายความโจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในใบแต่งทนายความของ พ.ตั้งแต่วันที่ 9โดยมี ช.ซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับโจทก์และทนายความโจทก์เป็นผู้รับหมายไว้แทนการส่งหมายนัดของศาลจึงเป็นไปโดยชอบและต้องถือว่าโจทก์และทนายความโจทก์ได้ทราบวันนัดของศาลก่อนถึงวันนัดแล้ว การที่โจทก์อ้างว่า พ.ทนายความโจทก์ทราบนัดล่าช้าเพราะเหตุสำนักงานใหญ่และสำนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์อยู่คนละที่กันก็ดี และ พ.เดินทางไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อพิธีไหว้สารทจีนตั้งแต่ก่อนวันที่รับหมายไว้แทนนั้นก็ดี ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบัติภายในของโจทก์และทนายความโจทก์มิใช่กรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4656/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเบียดบังเงินของทางราชการ และความผิดพลาดในการดำเนินคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ใช้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาอันเดียวกัน ในคำฟ้องคดีเดียวที่รวมเอาความผิดหลายกระทงไว้ด้วยกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 หรือคำฟ้องหลายคดีที่พิจารณาพิพากษารวมกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันก็ให้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปโดยมีข้อยกเว้นว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มิได้บัญญัติห้ามว่าการนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป เมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ ซึ่งการขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใดซึ่งหากไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
คดีนี้และคดีก่อนเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำผิดทุจริตเบียดบังค่าธรรมเนียมและค่าคำขอในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินจากส่วนราชการของกรมที่ดิน หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็คือกรมที่ดินรายเดียวกัน สำนวนการสอบสวนของคดีนี้และคดีก่อนก็เป็นสำนวนเดียวกัน โจทก์สามารถฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกันได้ เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานก็เป็นชุดเดียวกัน แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เหตุที่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพราะเกิดความผิดพลาดในการดำเนินคดี และศาลชั้นต้นไม่มีโอกาสสั่งให้คดีก่อนพิจารณาพิพากษารวมกัน ประกอบกับคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวมเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 หากให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนก็จะทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกหนักขึ้น โดยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 เพียงเพราะความผิดพลาดในการดำเนินคดี จึงไม่มีเหตุสมควรให้นับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อน
คดีก่อนเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคดีนี้ แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีนี้ ในทางปฏิบัติไม่อาจยื่นฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้น ทั้งไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีนี้ได้ จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยติดต่อกันได้
คดีนี้และคดีก่อนเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำผิดทุจริตเบียดบังค่าธรรมเนียมและค่าคำขอในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินจากส่วนราชการของกรมที่ดิน หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็คือกรมที่ดินรายเดียวกัน สำนวนการสอบสวนของคดีนี้และคดีก่อนก็เป็นสำนวนเดียวกัน โจทก์สามารถฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกันได้ เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานก็เป็นชุดเดียวกัน แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เหตุที่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพราะเกิดความผิดพลาดในการดำเนินคดี และศาลชั้นต้นไม่มีโอกาสสั่งให้คดีก่อนพิจารณาพิพากษารวมกัน ประกอบกับคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวมเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 หากให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนก็จะทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกหนักขึ้น โดยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 เพียงเพราะความผิดพลาดในการดำเนินคดี จึงไม่มีเหตุสมควรให้นับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อน
คดีก่อนเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคดีนี้ แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีนี้ ในทางปฏิบัติไม่อาจยื่นฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้น ทั้งไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีนี้ได้ จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4376/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของมรณะของโจทก์ระหว่างพิจารณาคดี และการบังคับคดีชำระหนี้ด้วยการโอนทรัพย์สิน
แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโดยไม่มีทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42 วรรคสองให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบความได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงมาสู่ศาลว่าคู่ความได้มรณะลงระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น คดีนี้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมาสู่สำนวนศาลระหว่างคดีค้างพิจารณาของศาลฎีกาว่าโจทก์ถึงแก่กรรม ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาและได้อ่านให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลย จำเลยจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและจำหน่ายคดีจากสารบบความมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าทนายที่ใช้ที่ดินและเงินจากคดีชำระค่าตอบแทนเป็นโมฆะ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาทแต่เนื่องจาก จ.ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใด จ.ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40 เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1 เป็นที่ดินที่ จ.จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ.ลูกความ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41 ประกอบ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มี พ.ร.บ.ทนายความพ.ศ.2528 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 แล้ว และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ มาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีศาลแรงงานกลางผูกพันเฉพาะคดีที่วินิจฉัย แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด มีความหมายว่า หากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไร คำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้น หาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่ แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 321/2538ของศาลแรงงานกลาง เป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน ซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้าง คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงาน และศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไถ่ทรัพย์ขายฝาก: ทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ ไม่ใช่คดีปลดเปลื้องทุกข์
คดีฟ้องขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก โดยโจทก์อ้างว่า ได้ขอไถ่ทรัพย์ดังกล่าวภายในกำหนดตามสัญญาขายฝากแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมให้ไถ่คืน เป็นคดีที่พิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายฝากอันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หรือเสียสิทธิในทรัพย์นั้น เข้าลักษณะคดีมีทุนทรัพย์โดยถือทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่ขายฝากหาใช่เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีครอบครองปรปักษ์: ผู้มีส่วนได้เสียยื่นร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดที่ดินบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์แต่โฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งแปลงผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียในคดีนี้ดังนั้นการที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณาโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องสอดของผู้ร้องสอดไว้เพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดให้ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลกระทบต่อสิทธิลูกหนี้ในการดำเนินคดี
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223-6224/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมต้องแยกสำนวนคดี หากโจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความในสำนวนแรก
คดีสองสำนวนที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อสำนวนคดีแรกโจทก์ที่2มิได้เป็นคู่ความที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ที่2ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับโจทก์ที่1ทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลและการขาดการเอาใจใส่คดี ทำให้คำร้องขออนาถาไม่ได้รับการพิจารณา
เมื่อมิได้มีการพิจารณาคดีโดยขาดนัด คำร้องของจำเลยทั้งสองมิใช่เป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ โดยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยทั้งสองจดวันนัดผิดนั้น หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาล ไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่
คำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอีกโดยขอให้นัดไต่สวนคำร้องใหม่ โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองโดยมิได้มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้จำเลยทั้งสองนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7 วันนับแต่วันนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จึงชอบแล้ว
การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ โดยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยทั้งสองจดวันนัดผิดนั้น หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาล ไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่
คำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอีกโดยขอให้นัดไต่สวนคำร้องใหม่ โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองโดยมิได้มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้จำเลยทั้งสองนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7 วันนับแต่วันนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จึงชอบแล้ว