พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังไม่สิ้นสุด แม้มีการอุทธรณ์ภายในกำหนด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาแล้ว โดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด หลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อน และต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษา และคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด กรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว
ขณะโจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทั้งสองขาดนัดพิจารณายังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้และต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ต้องถือว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่คดีก่อนของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาว่าคำสั่ง จำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นชอบแล้วและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นเดียวกันเคยถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้อง
จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมว่า โจทก์ตกลงเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลย จำเลยตกลงให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืน หากไม่ซื้อภายในกำหนดยอมออกไปจากที่ดินพิพาทหากผิดสัญญายินยอมให้โจทก์บังคับคดีโดยจำเลยยอมออกจากที่ดินพิพาทคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเจตนาไม่ขายที่ดินพิพาท ขอให้ยกเลิกหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าตามสัญญา ยกคำร้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้นอีก เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน แม้ฝ่ายฟ้องแตกต่างกัน หากประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนจำเลยได้ฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงาน หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไป ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ เมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงให้ผิดแผกแตกต่างไปจากคดีก่อนมิได้ ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ขาดบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นความรับผิดจากละเมิดของลูกจ้างต่อนายจ้าง และการผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน
จำเลยให้การว่า ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบจำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินสดที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาทโจทก์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสอบสวนผลการสอบสวนไม่สามารถหาสาเหตุแห่งการที่เงินสดสูญหายไป แต่จำเลยยอมรับว่าเงินสดที่ขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นคนครอบครองเงินเงินสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งจำเลยก็ให้การว่าเงินได้ขาดหายไปขณะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการและสมุห์บัญชี ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยจำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานและลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแล้ว ยังเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดหน้าที่ที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดอายุความเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี แม้คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงานหรือใช้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไปจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย แต่เหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ แม้คดีก่อนจำเลยจะเป็นฝ่ายฟ้องโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องจำเลย แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม หมายถึง โจทก์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกิน 5 ปี แล้วไม่ได้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างส่งก่อนวันฟ้องนับย้อนหลังไปไม่เกิน5 ปี โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องได้ หาใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแล้ว สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งจะขาดอายุความไปทั้งหมดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ & อำนาจฟ้อง: ผลผูกพันคู่ความที่ไม่เข้าร่วมคดีก่อน, สิทธิในที่ดิน
แม้จำเลยจะมิได้ให้การเรื่องอำนาจฟ้องไว้โดยชัดแจ้ง แต่จำเลยก็ได้ให้การและอุทธรณ์ต่อมาถึงการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอีกคดีหนึ่งว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ไว้แล้ว ทั้งอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงฎีกาในปัญหานี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น แม้โจทก์ทั้งหกในคดีนี้จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ทั้งหกไม่โต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนด โจทก์ทั้งหกก็ย่อมหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอและการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลภายนอก คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ทั้งหก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยในที่ดินพิพาทจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า ขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ระหว่างพิจารณา แม้จำหน่ายจากสารบบความแล้ว หากจำเลยอุทธรณ์ คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คำว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 201 วรรคแรกไปแล้ว แต่จำเลยยังอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวอยู่ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้เป็นฟ้องซ้อนและเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้น แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็ตามก็ไม่ทำให้คดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้อน การจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกที่ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่นั้นเป็นเพียงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ ส่วนโจทก์จะยื่นคำฟ้องใหม่ ได้หรือไม่ต้องบังคับตามมาตรา 173 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องและฟ้องซ้อน เหตุจำเลยยกเหตุใหม่และฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรม ร. มีอำนาจฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องพิพาทและมีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อน และใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบห้องคืนโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ คดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าผิดสัญญาเช่า ปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ร. ทำให้โจทก์(จำเลยที่ 2 คดีนี้) เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงินจำนวน2,400,000 บาท ค่าขาดรายได้คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงิน 600,000 บาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่ คำนวณเป็นเงิน 2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกัน ฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำกับคดีก่อนที่เคยฟ้องแล้วย่อมถูกห้ามตามกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ขอให้แบ่งปันมรดกให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยทั้งสามทำกับผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายโดยมิได้ขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายด้วย คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแม้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุถึงส่วนแบ่งมรดก การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นการเรียกร้องมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทนั่นเอง ในเมื่อคดีก่อนโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทที่เป็นมรดกมาด้วยตามสิทธิที่จะเรียกร้องได้ คงมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสามเป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เคยถูกยกฟ้องในคดีก่อน
คดีก่อนจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติเนื้อที่ 30 ไร่เศษ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลยตาม ส.ค.1 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยเข้าแผ้วถางบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองท่าเรือเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่เศษ โดยจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย และเมื่อมีการตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย แต่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยรู้แล้วยังเข้าแผ้วถาง ปลูกต้นมะพร้าว ต้นมะม่วงหิมพานต์ นำเปลือกมะพร้าวไปถมที่ดินและครอบครองตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องคดีนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ