พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12490/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินคดียาเสพติด ผู้ไม่คัดค้านมิใช่คู่ความ อุทธรณ์ฎีกาไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27, 29, 31 ศาลชั้นต้นได้ประกาศหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินเข้ามาในคดีแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามารวมทั้งจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีจึงมิใช่คู่ความ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาในส่วนนี้และศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยในปัญหานี้ให้นั้น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกรรมเดียวกับฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฐานทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น และฐานทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และคดีที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ได้ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ได้ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8639/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำขอรับฎีกาในคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม (2) พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 12 (2) และริบรถกะบะของกลาง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถกระบะของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นผลสืบเนื่องมาจากคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 คดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ร้องฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ที่บัญญัติให้คู่ความยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีของผู้ร้องจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติดสิ้นสุดลงเมื่อศาลฎีกายกฟ้องคดีอาญา
บทบัญญัติมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง..." ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดอันเป็นเหตุให้มีการยึดทรัพย์รายนี้ การยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ผู้ร้องอ้างว่าเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้คัดค้านย่อมสิ้นสุดลง ศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินนั้นได้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวของผู้คัดค้านนั้นเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5803/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าปรับในคดียาเสพติดภายหลัง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 โดยในบทเฉพาะกาลตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "บรรดาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติบังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด แต่ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นการบังคับโทษปรับหรือการบังคับให้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาเป็นชั้นของการบังคับคดี ซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษปรับ ให้พนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องโทษแทนค่าปรับได้" และวรรคสองบัญญัติว่า "การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีอำนาจตรวจสอบทรัพย์สิน และให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา" เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 21 วรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว เห็นว่า บัญญัติไว้ต่างหากในหมวด 5 การบังคับโทษปรับ ส่วนบทเฉพาะกาลตามมาตรา 24 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของศาลซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น จึงเป็นคนละขั้นตอนกัน นอกจากนี้ พนักงานอัยการโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีจำเลยที่ 3 เพื่อแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แทนค่าปรับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งเป็นเวลาภายหลัง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาคำพิพากษาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีจำเลยที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 29 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายบังคับคดีจำเลยที่ 3 ตามคำร้องขอของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550
คดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2723/2551 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2551 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ภายหลังที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือเมื่อมีการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์หรือคำร้องเช่นว่านั้นพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว" ดังนี้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำขอรับฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550
คดีขอให้ริบทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30, 31 นั้นอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" แต่ผู้คัดค้านฎีกาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง โดยไม่ได้ยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนขอรับฎีกาในคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 โดยมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" ดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19673/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดียาเสพติดจากการให้ข้อมูลผู้กระทำผิดอื่น และอำนาจศาลในการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่คู่ความยกขึ้น
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดนั้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้กระทำความผิดที่ถูกจับกุมให้ข้อมูลเครือข่ายผู้กระทำความผิดที่ตนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือติดต่ออยู่ เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดที่เหลืออยู่ในสังคมให้หมดสิ้น เพื่อความสงบสุขของสังคม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกา แต่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบไว้แล้วในศาลชั้นต้น
คำเบิกความของดาบตำรวจ อ. ผู้จับกุมและคำให้การชั้นสอบสวนของสิบตำรวจโท ค. กล่าวอ้างขึ้นลอย ๆ ว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจจนสามารถจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้อีก 2 ราย ไม่มีรายละเอียดของบุคคล วันเวลา สถานที่ที่จับกุมรวมทั้งยาเสพติดให้โทษหรือพยานหลักฐานในการจับกุมที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและผู้ถูกจับกุมให้ตรวจสอบได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลใด ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จำเลยเกี่ยวข้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและมีการจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีอีก ๒ รายจริง
คำเบิกความของดาบตำรวจ อ. ผู้จับกุมและคำให้การชั้นสอบสวนของสิบตำรวจโท ค. กล่าวอ้างขึ้นลอย ๆ ว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจจนสามารถจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้อีก 2 ราย ไม่มีรายละเอียดของบุคคล วันเวลา สถานที่ที่จับกุมรวมทั้งยาเสพติดให้โทษหรือพยานหลักฐานในการจับกุมที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและผู้ถูกจับกุมให้ตรวจสอบได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลใด ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จำเลยเกี่ยวข้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและมีการจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีอีก ๒ รายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13353/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อใช้ค่าปรับ แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ขอให้ศาลไม่บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย