พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.เครื่องหมายการค้า
ฟ้องบรรยายเล่าเรื่องว่า จำเลยได้ผลิตแป้งน้ำปิดรูปเครื่องหมายอักษรไทยว่า แพนเค้กน้ำ มีลักษณะรูปเครื่องหมายตัวอักษรสำเนียงเรียกเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์นำออกจำหน่าย ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เช่นนี้เห็นได้ว่าคำฟ้องได้รวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุมาตรา 272 ไว้ แสดงให้เห็นเจตนาว่าประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 272(1) ด้วย
จำเลยที่ 2,3 รู้อยู่ดีแล้วว่าสินค้าเครื่องสำอางค์แป้งน้ำ PAN-CAKE ของโจทก์เป็นชื่อแพร่หลายคนรู้จักทั่วไป จำเลยจึงเอาคำว่า แพนเค้ก มาใช้กับสินค้าแป้งน้ำของจำเลยบ้าง เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้า PAN-CAKE ของโจทก์จึงเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ส่วนจำเลยที่ 4,5 เป็นเพียงผู้จำหน่าย ไม่ปรากฏว่าได้รู้ว่าสินค้านั้นเอาคำว่า PAN-CAKE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้จึงไม่มีความผิด
จำเลยที่ 2,3 รู้อยู่ดีแล้วว่าสินค้าเครื่องสำอางค์แป้งน้ำ PAN-CAKE ของโจทก์เป็นชื่อแพร่หลายคนรู้จักทั่วไป จำเลยจึงเอาคำว่า แพนเค้ก มาใช้กับสินค้าแป้งน้ำของจำเลยบ้าง เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้า PAN-CAKE ของโจทก์จึงเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ส่วนจำเลยที่ 4,5 เป็นเพียงผู้จำหน่าย ไม่ปรากฏว่าได้รู้ว่าสินค้านั้นเอาคำว่า PAN-CAKE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้จึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นพนัน: การพิสูจน์ความคล้ายคลึงกับโปกำพะนัน แม้ไม่มีวิธีการเล่นที่เหมือนกัน
การเล่นโปกำพะนันอันจะเป็นผิดกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือแลวิธีการเล่นเหมือนกันทุกอย่าง ถ้าหากปรากฎว่าสัญญาในส่วนสำคัญของการเล่นคล้ายคลึงกับโปกำผู้เล่นก็ต้องมีผิดฐานเล่นโปกำพะนัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16559/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง และขอบเขตคำพิพากษา
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า ของจำเลยที่ 3 กับเครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์ แม้รูปคชหงส์จะเป็นรูปลายไทยมีรายละเอียดแตกต่างกับรูปไก่ชน แต่ลักษณะจัดวางรูปคชหงส์และรูปไก่ชนให้ยืนหันหน้าเข้าหากันโดยมีตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนเหมือนกัน ทำให้ภาพรวมของเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน ประกอบกับตัวอักษรโรมันด้านบนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า ลำปำ จันทรา และลำปำ ตามลำดับ ส่วนตัวอักษรโรมันประดิษฐ์ด้านบนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แม้ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบุว่า อ่านไม่ได้ แปลไม่ได้ แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นตัวอักษรโรมันที่ประดิษฐ์จากคำว่า LAMPAM ซึ่งเรียกขานได้ว่า ลำปำ เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนสำหรับสินค้าทุกจำพวก
แม้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่รูปคชหงส์เป็นรูปของสัตว์ซึ่งไม่มีอยู่จริง โดยจำเลยที่ 3 อ้างว่านำลักษณะเด่นของหงส์ ช้าง และสิงโต มารวมกันแล้วเขียนขึ้นใหม่ในลักษณะรูปลายไทย รูปคชหงส์จึงเป็นรูปที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความแตกต่างกับรูปไก่ชน ไม่ได้เกิดจากการนำรูปไก่ชนมาดัดแปลง ลำพังการจัดองค์ประกอบของรูปให้มีคชหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากันซึ่งบุคคลทั่วไปก็สามารถทำได้ไม่ใช่การทำซ้ำ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ จึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมรูปไก่ชนสองตัวหันหน้าหากันของโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์รูปคชหงส์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจำเลยทั้งสามจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียน ทั้งการโฆษณาก็ระบุเครื่องหมายการค้าพร้อมที่มาของการออกแบบรูปคชหงส์เป็นเครื่องหมายการค้าใหม่ จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาลวงขายสินค้า ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาล การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ฟ้องผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์รายอื่นด้วยไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามยุติการจำหน่ายสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเครื่องหมายมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอ
ที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้และผลิตสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมัน คำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นอีกต่อไป คำขอดังกล่าวมุ่งบังคับการกระทำในอนาคตซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามที่เกินไปกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำขอของโจทก์ส่วนนี้ชอบแล้ว
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยจำเลยที่ 3 ไม่ต้องขอถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ถูกต้อง เมื่อการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3
แม้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่รูปคชหงส์เป็นรูปของสัตว์ซึ่งไม่มีอยู่จริง โดยจำเลยที่ 3 อ้างว่านำลักษณะเด่นของหงส์ ช้าง และสิงโต มารวมกันแล้วเขียนขึ้นใหม่ในลักษณะรูปลายไทย รูปคชหงส์จึงเป็นรูปที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความแตกต่างกับรูปไก่ชน ไม่ได้เกิดจากการนำรูปไก่ชนมาดัดแปลง ลำพังการจัดองค์ประกอบของรูปให้มีคชหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากันซึ่งบุคคลทั่วไปก็สามารถทำได้ไม่ใช่การทำซ้ำ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ จึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมรูปไก่ชนสองตัวหันหน้าหากันของโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 3 สร้างสรรค์รูปคชหงส์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจำเลยทั้งสามจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียน ทั้งการโฆษณาก็ระบุเครื่องหมายการค้าพร้อมที่มาของการออกแบบรูปคชหงส์เป็นเครื่องหมายการค้าใหม่ จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาลวงขายสินค้า ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาล การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ฟ้องผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์รายอื่นด้วยไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามยุติการจำหน่ายสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเครื่องหมายมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอ
ที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้และผลิตสินค้าที่ใช้ภาคส่วนอักษรโรมัน คำว่า LAMPAM รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าหงส์คู่ หรือเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายนั้น เมื่อพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นอีกต่อไป คำขอดังกล่าวมุ่งบังคับการกระทำในอนาคตซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามที่เกินไปกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำขอของโจทก์ส่วนนี้ชอบแล้ว
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยจำเลยที่ 3 ไม่ต้องขอถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ถูกต้อง เมื่อการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12650/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า แม้มิได้คัดค้านการจดทะเบียน และการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขอจดทะเบียนและการคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่หมวดที่ 1 ส่วนที่ 1 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาคำขอต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอรายนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็จะรับจดทะเบียนให้และลงประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น ตามมาตรา 29 อันเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการพิจารณาคำขอของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากนั้นก็เปิดโอกาสให้มีการคัดค้านคำขอที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนไว้เป็นเวลา 90 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณา ตามมาตรา 35 ซึ่งเป็นขั้นตอนในลำดับถัดไปที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 2 การรับจดทะเบียนและผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดคัดค้านหรือมีผู้คัดค้าน แต่ได้มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนตามมาตรา 40 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็จะมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนแล้วดังกล่าว อาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 3 และอาจมีการต่ออายุและอาจถูกเพิกถอนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการพิจารณาคำขอเครื่องหมายการค้าของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าอ้างว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 (4) ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าคนละขั้นตอนโดยอาศัยอำนาจตามบทมาตราของกฎหมายแตกต่างกัน แม้ผู้ร้องไม่เคยคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ตามมาตรา 35 ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้
เมื่อพิจารณาการยื่นคำขอใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ต้น และหลังจากนั้นโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของโจทก์เรื่อยมาตั้งแต่ ปี 2547 โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านหรือมีความเห็นเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าต้องห้ามจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแต่ประการใด ทั้งหลังจากโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2552 จนเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่ปรากฏว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สร้างความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับสินค้าของผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตโดยสาธารณชนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องหรือของบุคคลอื่นได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องจะใช้อักษรโรมันและมีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกัน กับได้จดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 61 (4)
เมื่อพิจารณาการยื่นคำขอใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ต้น และหลังจากนั้นโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของโจทก์เรื่อยมาตั้งแต่ ปี 2547 โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านหรือมีความเห็นเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าต้องห้ามจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแต่ประการใด ทั้งหลังจากโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2552 จนเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่ปรากฏว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สร้างความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับสินค้าของผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตโดยสาธารณชนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องหรือของบุคคลอื่นได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องจะใช้อักษรโรมันและมีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกัน กับได้จดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 61 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" และเครื่องหมายการค้าตัวอักษร "AR" และคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมทั้งสามเครื่องหมายดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งหมด ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้านั้นว่าเหมือนกันหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2504 ก่อนที่ บ. จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 เป็นเวลานานเกือบ 28 ปี และก่อนที่ บ. มาจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตัวอักษร "AR" และคำว่า "ARON" เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2535 และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2535 เป็นเวลานานถึง 31 ปี 2 เดือนเศษ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมคำว่า "ARON" จะเขียนตัวอักษร "A" ติดกับตัวอักษร "R" และตัวอักษร "O" ติดกับตัวอักษร "N" และมีตัวอักษร "R" แตกต่างจากตัวอักษร "V" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ก็ตาม แต่ตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์และตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมก็มีลักษณะการเขียนที่มองเห็นได้ว่าเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกับตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ หากประชาชนผู้ซื้อสินค้าของจำเลยร่วมและสินค้าของโจทก์ไม่สังเกตความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่มีตัวอักษรแตกต่างกันเพียงตัวอักษรเดียวให้ดีพอ ย่อมเกิดความสับสนและหลงผิดในการซื้อสินค้าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ซื้อได้ แม้สำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมจะอ่านว่า "อารอน" หรือ "อาร่อน" ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์จะอ่านว่า "เอวอน" หรือ "เอว่อน" ก็เป็นสำเนียงเรียกขานที่คล้ายกัน ไม่ถึงกับแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศโอกาสที่จะเรียกขานเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมคลาดเคลื่อนไปโดยอ่านว่า "เอรอน" หรือ "เอร่อน" ได้ เมื่อนำเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมไปใช้กับสินค้าลิปสติกตามที่จำเลยร่วมขอจดทะเบียนไว้ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าลิปสติกของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เพื่อใช้กับสินค้าของโจทก์ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดแก่ผู้ซื้อในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ส่วนเครื่องหมายการค้าตัวอักษร "AR" และคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมแม้จะมีตัวอักษร "AR" ในลักษณะอักษรประดิษฐ์รวมอยู่ในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวด้วย แต่ก็เป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้านั้นไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า ส่วนที่เป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "ARON" ซึ่งมีตัวอักษร "A, O และ N" อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ ทั้งลักษณะการเขียนคำว่า "ARON" ก็สามารถมองเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ การที่ บ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยเพิ่มตัวอักษรประดิษฐ์ "AR" เข้าไปด้วยยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ จนไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อนำเครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วมไปใช้กับสินค้าครีมทาผิว และไปใช้กับสินค้าแป้งทาหน้า อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว ดินสอเขียนขอบตา โฟมล้างหน้า ครีมล้างหน้า ครีมนวดหน้า ครีมทากันแดด น้ำหอม และน้ำหอมดับกลิ่นที่ บ. ขอจดทะเบียนไว้ซึ่งเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้า ครีมทาตัวและทาหน้า แป้ง อายแชโดว์ เครื่องสำอางใช้เขียนขอบปาก เครื่องสำอางใช้เขียนขอบตา เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดใบหน้า และเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เพื่อใช้กับสินค้าของโจทก์ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดแก่ผู้ซื้อในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ การที่ บ. ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 เพื่อใช้กับสินค้าลิปสติกซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2504 อันเป็นการที่ บ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวหลังจากที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เป็นเวลานานถึง 28 ปีเศษ กับการที่ บ. ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำนวน 2 คำขอเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2535 และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2535 ตามลำดับ เพื่อใช้กับสินค้าครีมทาผิว และเพื่อใช้กับสินค้า แป้งทาหน้า อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว ดินสอเขียนขอบตา โฟมล้างหน้า ครีมล้างหน้า ครีมนวดหน้า ครีมทากันแดด น้ำหอม และน้ำหอมดับกลิ่น ตามลำดับ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2504 อันเป็นการที่ บ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามคำขอจำนวน 2 คำขอดังกล่าวหลังจากที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เป็นเวลานานถึง 31 ปีเศษ นั้น เป็นการที่ บ. ได้อาศัยชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องสำอางสำหรับสตรีมาเป็นเวลานานจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย แล้วเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์โดยเปลี่ยนเพียงตัวอักษร "V" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษร "R" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมและนำไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำนวน 3 คำขอประกอบกับปรากฏว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยร่วมที่เป็นลูกกลิ้งน้ำหอมระงับกลิ่นกายอันเป็นสินค้าเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ชนิดเดียวกับสินค้าน้ำหอมดับกลิ่นที่จำเลยร่วมได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รวมจำนวน 7 แบบ จำนวน 7 สี มีลักษณะเป็นขวดพลาสติกขนาดเท่ากัน ฝาปิดขวดเหมือนกัน ขวดมีสีเดียวกัน รอบขวดพลาสติกมีข้อความต่าง ๆ ที่เป็นตัวอักษรอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" และคำว่า "ARON" วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันและเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เหมือนกัน ตลอดจนใช้สีของตัวอักษรเหมือนกัน กล่าวคือ ขวดบรรจุสินค้าสีน้ำตาลของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" กับคำว่า "ARON" อยู่บนฝาขวดภายในรูปวงกลมในตำแหน่งเดียวกัน มีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบนของขวดอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ถัดลงมาใช้รูปหัววัวในรูปวงกลมที่กลางขวดเหมือนกันโดยขวดมีคำว่า "AVON WILD COUNTRY" เขียนภายในวงกลมล้อมรอบรูปหัววัว ส่วนขวดสินค้าของจำเลยร่วมมีคำว่า "ARON NEW COUNTRY" เขียนภายในวงกลมล้อมรอบรูปหัววัว และมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" อยู่ใต้รูปหัววัวเหมือนกันและที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีแดงของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นตัวอักษร "a" ในวงกลมเหมือนกัน ใต้อักษร "a" ดังกล่าว ขวดสินค้าของโจทก์มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ส่วนขวดสินค้าของจำเลยร่วมเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" และของโจทก์มีข้อความว่า "ariane ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ส่วนของจำเลยร่วมมีข้อความว่า "aria ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ซึ่งมีข้อความคล้ายคลึงกันมาก และที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีม่วงของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นรูปผีเสื้อกำลังบินคล้ายกัน ใต้รูปผีเสื้อขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "Butterfly" ส่วนขวดสินค้าของจำเลยร่วมเป็นคำว่า "Beautiful" และถัดลงมาของโจทก์มีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ส่วนของจำเลยร่วมมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกันและที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมมีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีชมพูของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นรูปดอกไม้สีเหลืองคล้ายกัน ด้านข้างดอกไม้สีเหลืองในแนวดิ่งของโจทก์มีคำว่า "Sweet Honesty" ส่วนของจำเลยร่วมใต้รูปดอกไม้สีเหลืองมีคำว่า "ARON Sweet Harmony" และของโจทก์มีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ส่วนของจำเลยร่วมมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน และที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมมีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีฟ้าของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นคำว่า "pretty Blue" กับคำว่า "Lovable Blue" คล้ายกัน และถัดลงมาที่ด้านล่างสุดมีข้อความ "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน ส่วนที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีขาวของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นคำว่า "AVON" กับคำว่า "ARON" ใต้คำว่า "AVON" มีคำว่า "feelin' fresh" พร้อมรูปใบไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมและคำว่า "white" ส่วนใต้คำว่า "ARON" มีคำว่า "feel fresh" พร้อมกับรูปเส้นโค้งสามเส้นคล้ายปลายใบไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมและคำว่า "Whitening" คล้ายกัน และถัดลงมาที่ด้านล่างสุดมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน ส่วนที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า และรอบขวดบรรจุสินค้าสีดำของโจทก์และของจำเลยร่วม มีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาของโจทก์เป็นคำว่า "BLACK SUEDE" ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนของจำเลยร่วมเป็นคำว่า "BLACK SUEZ" ในกรอบสี่เหลี่ยมคล้ายกัน และถัดลงมาที่ด้านล่างสุดมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน ส่วนที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า การที่จำเลยร่วมได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" กับสินค้าลูกกลิ้งน้ำหอมระงับกลิ่นกายดังกล่าว โดยไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับสินค้าดังกล่าวโดยทำให้ขวดบรรจุสินค้าคล้ายกับขวดบรรจุสินค้าของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งหากประชาชนผู้ซื้อไม่สังเกตให้ดีและไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษย่อมสับสนและหลงผิดซื้อสินค้าไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้ซื้อได้ การกระทำดังกล่าวของจำเลยร่วมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยร่วมอย่างแจ้งชัดว่าจำเลยร่วมประสงค์ที่จะอาศัยชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์โดยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" เพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตน ซึ่งโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียผู้มีสิทธิขอให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมทั้งสามเครื่องหมายดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (4) ได้
ตามหนังสือแจ้งคำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าระบุว่า โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 27 มิถุนายน 2550 จึงเป็นการฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ตามหนังสือแจ้งคำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าระบุว่า โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 27 มิถุนายน 2550 จึงเป็นการฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเสียงเรียกขานและการสับสนของสาธารณชน
ในแง่เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้า CHUPA CHUPS ของโจทก์และโจทก์ร่วมนั้น ไม่จำต้องเรียกขานตามที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุคำอ่านไว้ในคำขอจดทะเบียนเท่านั้น การเรียกขานที่จะนำมาพิจารณาจะต้องเป็นการเรียกขานที่สาธารณชนอาจเรียกขานได้ การที่เครื่องหมายการค้า Joopy Juups ของจำเลยเรียกขานว่า "จุ๊ปปี้ จุ๊ปส์" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมอาจเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" นั้น เสียงเรียกขานพยานค์แรกคือ "จูป" หรือ "ชู้ป" กับ "จู๊ป" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกันของจำเลยคล้ายกัน และเสียงเรียกขานพยางค์ที่สามของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคือ "จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ปส์" กับ "จุ๊ปส์" เหมือนหรือคล้ายกัน แม้ว่าเสียงเรียกของพยางค์ที่สองของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีความแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อออกเสียงโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าเสียงเรียกขานคล้ายกัน จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าลูกอมในจำพวก 30 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญคือเด็กเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และการเพิกถอนคำสั่งปฏิเสธจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน 2 รายการ ประกอบด้วยรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและคำว่า "Misty Mynx" ซึ่งเป็นคำอักษรโรมันสองคำประกอบกัน สำหรับคำว่า "Misty" เป็นคำธรรมดาทั่วไป มีความหมายปรากฏตามพจนานุกรมว่า ที่ปกคลุมไปด้วยหมอก คลุมเครือ พร่ามัว เลือนลาง จึงไม่เป็นคำที่สร้างความแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าอื่นได้ดี ส่วนคำว่า "Mynx" เป็นคำที่ไม่มีความหมายปรากฏในพจนานุกรม จึงเป็นส่วนที่สร้างความแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าอื่นได้ดีกว่าส่วนคำว่า "Misty" ย่อมมีเหตุผลให้เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและอักษรโรมันคำว่า "Mynx" เป็นสาระสำคัญ ส่วนคำว่า "Misty" ไม่ใช่ส่วนสาระสำคัญ ส่วนการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าโดยรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้า ดังนั้นจึงต้องนำรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและคำว่า "Mynx" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และคำว่า "Morning" ในเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมารวมพิจารณาเปรียบเทียบความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพราะทุกภาคส่วนล้วนต้องรวมกันจึงเป็นเครื่องหมายการค้าตามที่ขอจดทะเบียนมิใช่พิจารณาแยกเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปลักษณะเครื่องหมายและการประดิษฐ์ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เปรียบเทียบกับรูปลักษณะเครื่องหมายและลักษณะการประดิษฐ์ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้น เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบไปด้วย 2 ภาคส่วน คือ ภาคส่วนบนสุดเป็นรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและภาคส่วนล่างสุดเป็นอักษรโรมันคำว่า "Misty Mynx" นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนอีก 2 รายการ เป็นอักษรโรมันสองคำประกอบกัน คือ คำว่า "Misty" และคำว่า "Mynx" โดยอยู่ในระนาบเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้น ประกอบด้วยอักษรโรมันสองคำ คือคำว่า "MISTY" และคำว่า "MORNING" โดยคำว่า "MISTY" อยู่ด้านบนและมีขนาดใหญ่กว่าคำว่า "MORNING" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวมีความแตกต่างกันเป็นที่เห็นได้ชัดเจนหลายประการ ตั้งแต่รูปร่างโดยรวมของทุกภาคส่วนในแต่ละเครื่องหมาย รูปประดิษฐ์ ตัวอักษรที่ใช้และลักษณะการวางตัวอักษร ล้วนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และเมื่อพิจารณาในส่วนเสียงเรียกขานตามคำที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจเรียกขานได้ว่า "มิส-ตี้-มิ้งซ์" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วอาจเรียกขานได้ว่า "มิส-ตี้-มอร์-นิ่ง" ซึ่งแม้มีคำเรียกขานว่า "มิส-ตี้" คล้ายกันส่วนหนึ่ง แต่เสียงเรียกขานโดยรวมก็แตกต่างกัน มิใช่จะเรียกขานแต่เฉพาะคำว่า "มิส-ตี้" ประกอบกับคำว่า "MISTY" เป็นคำธรรมดาที่ใช้กันทั่วไปซึ่งมีความหมายเข้าใจกันตามธรรมดา มิใช่คำประดิษฐ์ ดังนั้นแม้จะมีบุคคลอื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "MISTY" ประกอบอยู่ด้วยไว้ก่อนแล้ว บุคคลอื่นก็ยังคงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวได้ตราบเท่าที่ได้มีการสร้างความแตกต่างเพียงพอจนสามารถทำให้เป็นที่สังเกตได้ถึงความแตกต่างกันนั้น เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีรูปประดิษฐ์รูปหัวใจประกอบอยู่ด้วย และมีลักษณะการใช้และการวางตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่แตกต่างกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีความแตกต่างกันเพียงพอที่สาธารณชนผู้บริโภคจะจดจำและสังเกตได้ถึงความแตกต่างกันนั้นแล้ว แม้รายการสินค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับรายการสินค้าที่บุคคลอื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว จะเป็นรายการสินค้าเดียวกันและเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในครัวเรือนเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีผู้บริโภคกลุ่มเดียวกันหรือมีสถานที่วางจำหน่ายแห่งเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำฟ้องทั้งสี่คำขอมีความแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า