พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าพื้นที่เพื่อประกอบธุรกิจเลี้ยงเป็ดไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
จำเลยได้เช่าที่ดินทำการเลี้ยงเป็ดประมาณพันตัวไว้และขายไข่เป็นอาชีพและเช่าโรงเลี้ยงเป็ด โรงเตาต้มอาหารเป็ด จำเลยและครอบครัวก็อาศัยกินอยู่หลับนอนในที่บริเวรเขตติดต่อสองด้านมีคนเลี้ยงเป็นเป็นอาชีพเช่นจำเลยพวกที่เลี้ยงเป็ดข้างเคียงก็อาศัยกินอยู่หลับนอนในที่ในเขตตำบลเดียวกับที่จำเลยเช่า ที่ใกล้เคียงมีผู้ประกอบอาชีพในการเลี้ยงเป็ดประมาณ 100 หลังคาเรือนขึ้นไป ที่ ๆ จำเลยเช่าอยู่นี้อยู่ในเขตเทศบาลด้วยเช่นนี้เห็นได้ว่าเนื้อแท้ของการเช่าก็เพื่อประกอบธุระกิจเลี้ยงเป็ดขายไข่เป็นอาชีพตามทำเลที่กระทำกันในถิ่นนั้นทั่ว ๆ ไป การที่ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ด้วยก็เพื่อประกอบธุระกิจตามที่มุ่งเช่ามาจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ พ.ศ.2489 ม.16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสัญญาเช่าเคหะ แม้มีการประกอบกิจการค้าเล็กน้อย พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ยังใช้บังคับ
ในคดีฎีกาได้เฉพาะแต่ปัญหาข้อ ก.ม.ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาจากพยานหลักฐานในห้องสำนวน
เมื่อปรากฏว่าจำเลยเช่าห้องโดยเจตนาเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่แรก ซึ่งต่อมาได้ประกอบกิจการค้าบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการชั่วคราวและต่อมาก็ได้เลิกกิจการค้าไปแล้ว ดังนี้ห้องเช่ารายพิพาทก็ยังคงถือว่าเป็น "เคหะ" อันพึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ เจ้าของห้องหามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ไม่.
เมื่อปรากฏว่าจำเลยเช่าห้องโดยเจตนาเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่แรก ซึ่งต่อมาได้ประกอบกิจการค้าบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการชั่วคราวและต่อมาก็ได้เลิกกิจการค้าไปแล้ว ดังนี้ห้องเช่ารายพิพาทก็ยังคงถือว่าเป็น "เคหะ" อันพึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ เจ้าของห้องหามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมเลิกสัญญาเช่าและการสละสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ
จำเลยเช่าห้องโจทก์เพื่ออยู่อาศัยมีกำหนด 1 ปี และก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าเล็กน้อยจำเลยมีหนังสือยินยอมแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าจะเลิกการเช่า และสละสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ พ.ศ.2489 ในเมื่อถึงกำหนดสัญญาเช่า เช่นนี้ถือว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เช่าตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ พ.ศ.2489 มาตรา 16 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ให้เช่าและการสิ้นสุดความคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมค่าเช่าเมื่อมีการอนุมัติให้เข้าอยู่
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าตลอดจนกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตามความแห่งพระราชบัญญัตินี้มิได้บังคับให้ต้องสอบสวนผู้เช่าในกรณีที่ผู้ให้เช่าขอเข้าอยู่ในห้องเช่าการสอบสวนในที่นี้ก็คือสอบสวนความจำเป็นของผู้ให้เช่าที่จะต้องเข้าอยู่ในห้องของตนที่ให้เช่าโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับความจำเป็นของผู้เช่าฉะนั้นเมื่อคณะกรรมการสอบสวนผู้ให้เช่าแล้วลงมติไปโดยมิได้สอบสวนผู้เช่าเลยเช่นนี้จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้ให้เช่าจะร้องเท็จหรือปิดบังคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับเรื่องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าอย่างใดนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับกรรมการฯ อย่างใดเมื่อคณะกรรมการได้ลงมติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้เช่าจะอ้างเรื่องร้องเท็จนั้นมาทำลายมติของคณะกรรมการฯ ไม่ได้
ผู้ให้เช่าจะเข้าอยู่ในห้องเช่าต้องขอมติคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการฯ ลงมติให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าแล้วผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯต่อไป (พอได้รับมติผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิตามมติผู้เช่าไม่ยอมออก ผู้ให้เช่า จึงฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างมติคณะกรรมการฯ ผู้ให้เช่าตายลงระหว่างพิจารณาก่อนได้เข้าอยู่ในห้องเช่า) แม้ผู้ให้เช่าจะยังอยู่หรือตามไปก็ตามผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ต่อไปไม่ได้ภรรยาของผู้ให้เช่าจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องร้องขอความยินยอมจากคณะกรรมการฯ ใหม่มติของคณะกรรมการฯ ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า
ผู้ใดมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีใด อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
ผู้ให้เช่าจะร้องเท็จหรือปิดบังคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับเรื่องขอเข้าอยู่ในห้องเช่าอย่างใดนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับกรรมการฯ อย่างใดเมื่อคณะกรรมการได้ลงมติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้เช่าจะอ้างเรื่องร้องเท็จนั้นมาทำลายมติของคณะกรรมการฯ ไม่ได้
ผู้ให้เช่าจะเข้าอยู่ในห้องเช่าต้องขอมติคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการฯ ลงมติให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าแล้วผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯต่อไป (พอได้รับมติผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิตามมติผู้เช่าไม่ยอมออก ผู้ให้เช่า จึงฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างมติคณะกรรมการฯ ผู้ให้เช่าตายลงระหว่างพิจารณาก่อนได้เข้าอยู่ในห้องเช่า) แม้ผู้ให้เช่าจะยังอยู่หรือตามไปก็ตามผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ต่อไปไม่ได้ภรรยาของผู้ให้เช่าจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องร้องขอความยินยอมจากคณะกรรมการฯ ใหม่มติของคณะกรรมการฯ ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้เช่า
ผู้ใดมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีใด อาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในเคหะเช่า และผลกระทบต่อประโยชน์ของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ผู้ให้เช่าเคหะตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ จำเป็นต้องรื้อส้วมของผู้เช่าเพื่อให้เจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินรื้อแล้วผู้เช่าทั้งหลายต่างได้อาศัยใช้ส้วมของจำเลยแห่งอื่นดังนี้การกระทำของจำเลยมิได้เจตนาให้ผู้เช่าเดือดร้อนอันจะกระทำให้ผู้เช่าได้รับประโยชน์ลดน้อยกว่าที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยยังไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'เคหะ' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ พิจารณาจากเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า "เคหะ" ตามมาตรา 3 ก็คือ "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า"โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ประกอบธุระกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์" นั้น เป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้น แต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" และโดยที่พระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับเรื่องการเช่า ฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่ จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วย ว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่า การที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น "เคหะ" ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่า และเหตุผลแวดล้อมอย่างอื่นเป็นข้อประกอบด้วย
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'เคหะ' ใน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: พิจารณาเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า 'เคหะ'ตามมาตรา 3 ก็คือ'สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย' ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า 'โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ที่ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์' นั้นเป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้นแต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า 'สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย' และโดยที่พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องการเช่าฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วยว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่าการที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น 'เคหะ'ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่าและเหตุผลแวดล้อมอย่างที่เป็นข้อประกอบด้วย
มาตรา13นั้นเป็นเรื่องกฎหมายกำหนดเกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
เช่าห้องไว้เป็นที่เก็บสัมภาระและเป็นห้องนอนของเด็กที่คอยเติมน้ำมันในร้านขายน้ำมันของผู้เช่า ซึ่งอยู่หน้าห้องเช่าและเปิดเข้าออกถึงกันได้ ดังนี้ถือได้ว่าเช่าห้องไว้ก็เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการค้าของผู้เช่าจึงไม่เป็นเคหะ
มาตรา13นั้นเป็นเรื่องกฎหมายกำหนดเกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
เช่าห้องไว้เป็นที่เก็บสัมภาระและเป็นห้องนอนของเด็กที่คอยเติมน้ำมันในร้านขายน้ำมันของผู้เช่า ซึ่งอยู่หน้าห้องเช่าและเปิดเข้าออกถึงกันได้ ดังนี้ถือได้ว่าเช่าห้องไว้ก็เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการค้าของผู้เช่าจึงไม่เป็นเคหะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญสัญญาเช่า ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ข้อกำหนดในเรื่องค่าเช่าเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาเช่า เมื่อมีการสำคัญผิดขึ้น สัญญาเช่านั้นย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาเช่าทำให้สัญญาเป็นโมฆะ คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ข้อกำหนดในเรื่องค่าเช่าเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาเช่าเมื่อมีการสำคัญผิดขึ้นสัญญาเช่านั้นย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้พื้นที่เช่าเพื่อประกอบการค้า ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมค่าเช่า
จำเลยให้คนอื่นจัดตั้งกลึงเหล็กเครื่องเรือยนต์ โดยใช้เครื่องยนต์น้ำมันก๊าสเป็นกำลังเช่นนี้ก็ดี หรือแม้ว่าได้ทำโรงกลึงแต่ชั้นล่าง ใช้ชั้นบนเป็นที่อยู่ก็ดี ก็ถือว่าได้ใช้ส่วนหนึ่งของเรือนเป็นที่ประกอบการค้าจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน
ฎีกาที่ 301/2494 ฎีกาที่ 1933/2494
ฎีกาที่ 301/2494 ฎีกาที่ 1933/2494