คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควบคุมตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชน ต้องมีตัวจำเลยอยู่ในการควบคุมของศาล
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22) หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 33ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องมีตัวจำเลยในความควบคุมของศาล การควบคุมตัวก่อนฟ้องเป็นอำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจ
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหารับสารภาพ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กรณีบุคคลอันธพาลและข้อหาลักทรัพย์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่ แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป ก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการควบคุมตัวโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การข่มขืนใจและหน่วงเหนี่ยวเสรีภาพ
การบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่การกระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) หาได้บัญญัติว่าต้องใช้ถ้อยคำของกฎหมายไม่โจทก์จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2)การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การจับกุมต้องแจ้งข้อหาและควบคุมตัว หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจับกุม
พนักงานสอบสวนสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยด้วยวาจาโดยไม่ได้ออกหมายจับ และเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับจำเลยนั้นไม่ได้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะจับจำเลยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้แล้วได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย และไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้หรือให้ประกันตัวไป เพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้นพฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยหลบหนี: ศาลรับฟ้องได้หากจำเลยเคยถูกควบคุมตัวโดยอำนาจศาล
คดีอาญา พนักงานอัยการจะต้องส่งตัวจำเลยมาพร้อมกับฟ้องเสมอ เว้นแต่จำเลยจะเป็นผู้อยู่ในอำนาจของศาลแล้ว
ศาลชั้นต้นได้รับฝากขังตัวผู้ต้องหาไว้จากพนักงานสอบสวนและออกหมายขังไว้แล้วผู้ต้องหาหลบหนีไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับฟ้องและดำเนินการต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยกระทำผิดฐานพยายามข่มขืนตามประกาศคณะปฏิวัติ และหนังสือกระทรวงมหาดไทย
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กล่าวถึงบุคคลที่กระทำการรังแก ข่มเหงผู้อื่น หรือประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายบางจำพวกว่าเป็นบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลโดยมิได้จำแนกไว้โดยชัดเจนว่าบุคคลเหล่านั้นรังแกข่มเหงขู่เข็ญหรือรบกวนผู้อื่นเป็นลักษณะความผิดอะไรบ้าง ส่วนหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2498/2502 กล่าวถึงผู้กระทำผิดในคดีฉุดคร่าอนาจาร ล่อลวงข่มขืน และลวงไปฆ่าว่าเป็นภัยแก่สังคม ทั้งนี้ความผิดดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการรังแกข่มเหงผู้อื่นตามประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 21 นั่นเอง จึงเท่ากับเป็นการชี้ถึงความผิดทั้ง 4 ประเภทโดยเฉพาะว่าเป็นการกระทำของบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาล
ผู้เสียหายถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานพยายามข่มขืน กระทำชำเราและกระทำอนาจาร การกระทำของผู้เสียหายจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 และหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2498/2502 จำเลยจึงมีอำนาจควบคุมตัวไว้เพื่อสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดีอาญาอาศัยประกาศคณะปฏิวัติและหนังสือกระทรวงมหาดไทย ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้ง
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 กล่าวถึงบุคคลที่กระทำการรังแก ข่มเหง ผู้อื่น หรือประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายบางจำพวกว่าเป็นบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลโดยมิได้จำแนกไว้โดยชัดเจนว่าบุคคลเหล่านั้นรังแกข่มเหงขู่เข็ญหรือรบกวนผู้อื่นเป็นลักษณะความผิดอะไรบ้างส่วนหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2498/2502 กล่าวถึงผู้กระทำผิดในคดีฉุดคร่าอนาจาร ล่อลวงข่มขืน และลวงไปฆ่าว่าเป็นภัยแก่สังคมทั้งนี้ความผิดดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการรังแกข่มเหงผู้อื่นตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั่นเองจึงเท่ากับเป็นการชี้ถึงความผิดทั้ง 4 ประเภทโดยเฉพาะว่าเป็นการกระทำของบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาล
ผู้เสียหายถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานพยายามข่มขืน กระทำชำเราและกระทำอนาจารการกระทำของผู้เสียหายจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 และหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่2498/2502 จำเลยจึงมีอำนาจควบคุมตัวไว้เพื่อสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ การพิจารณาปล่อยตัวต้องทำภายใน 3 เดือน หากไม่พิจารณา การควบคุมต่อไปถือว่าไม่ชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุก ๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการ ฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
of 11