คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความคล้ายคลึง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของภาพรวมสำคัญกว่าองค์ประกอบย่อยที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้ปิดกับกระป๋องนม มีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือแม่หมีอุ้มลูก อักษรโรมันคำว่า "BEAR BRAND" และอักษรไทยคำว่า "ตราหมี" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีลักษณะประกอบกัน 5 ประการ คือลูกหมี ขวดนม ถ้วย อักษรโรมันคำว่า "SIMILAC"และอักษรไทยคำว่า "ซิมิแลค" เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายที่มีลักษณะเดียวกันมีเพียงรูปหมี ลำพังแต่รูปหมีทั่ว ๆ ไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสงวนไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว สำหรับรูปหมีของจำเลยที่ 1 เป็นรูปตุ๊กตาหมีตัวเดียว รูปขวดนมสูงใหญ่ และรูปถ้วยใหญ่ประกอบกับชื่อสินค้าเป็นอักษรโรมัน และอักษรไทยตัวใหญ่ แสดงว่าไม่ได้เน้นที่รูปตุ๊กตาหมีเป็นสาระสำคัญซึ่งแตกต่างกับรูปหมีของโจทก์เป็นรูปแม่หมีอุ้มลูกหมีประกอบกับชื่อสินค้าทั้งอักษร-โรมันและอักษรไทย เรียกตราหมี ส่วนที่เรียกทางการค้าซึ่งของโจทก์เรียกขานว่าตราหมีของจำเลยที่ 1 เรียกขานว่าซิมิแลค เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1จึงมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากองค์ประกอบและความหมายของคำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมาย-การค้าที่ได้ถือคำอักษรโรมันเป็นสำคัญ คือของโจทก์เป็นคำว่า "DENTYNE" ส่วนของจำเลยเป็นคำว่า "DENT GUM" อักษรไทยเป็นเพียงคำทับศัพท์เพื่ออ่านออกเสียงตามอักษรโรมันว่า เดนทีน เดนท์กัม แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า"เดนท์" และคำว่า "DENT" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอักษรไทย 3 ตัวแรก และอักษรโรมัน 4 ตัวแรก ตรงกับอักษรไทยและอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกเป็นคำ2 คำ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำคำเดียว คำว่า "DENT" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีความหมายว่า รอยเว้า รอยฟัน ทำเป็นรอยตอกเป็นรอย และคำว่า "GUM" มีความหมายว่า ยางไม้ กาวที่ทำจากยางไม้ส่วนคำว่า "DENTYNE" ของโจทก์เป็นคำที่ไม่มีความหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์จึงมีคำและตัวอักษรแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ทั้งเครื่องหมาย-การค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้ความสับสนหลงผิด ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และความเป็นคำสามัญ
คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊กแต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในการใช้คำทั่วไป (กุ๊ก) เพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOKอยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือ ผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัด ใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์ และ INTER COOK ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่า กุ๊กอินเตอร์ และ INTERCOOK รูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วย ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋อง ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย จะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ แม้ใช้คำ 'กุ๊ก' ซึ่งเป็นคำสามัญได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOKอยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวนหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัดใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วยทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋องไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและเจตนาในการหลอกลวงสาธารณชนเพื่อพิจารณาการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปใบหน้าคนทำครัวสวมหมวก มีมือข้างเดียวถือขวดโดยไม่มีส่วนแขน ลำตัว และเท้า แม้รูปส่วนของจำเลยจะประดิษฐ์ขึ้นแต่ก็มองได้ออกอย่างชัดเจน ว่าเป็นคน ส่วนของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวด มีหมวก ตา ปาก มือ และลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืช สำหรับเครื่องหมายการค้าส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรโรมันคำว่า COOK เป็นอักษรเพียงพยางค์เดียว แต่ส่วนของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่ากุ๊กทอง มี 2 พยางค์ และอักษรโรมันคำว่า COLDENCOOK มี3 พยางค์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เพราะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนั้นสินค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืช ส่วนของจำเลยผลิตสินค้า ซอสถั่วเหลือง ซอสพริก น้ำปลา ซีอิ้วและเต้าเจี้ยวโดยไม่ได้ผลิตน้ำมันพืชแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าด้ายและผ้า ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปหัวม้าและอักษรโรมันคำว่า JORDACHE ใช้กับสินค้าของโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่โจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประดิษฐ์ขึ้นมีรูปแบบลักษณะอย่างไรมีอักษรภาษาใดกำกับในรูปแบบนั้นด้วยหรือไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกใด แม้โจทก์จะได้ระบุหมายเลขคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยไว้ในคำขอท้ายคำฟ้อง แต่โจทก์ก็มิได้แนบคำขอจดทะเบียนดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องและชี้ให้เห็นชัดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนใดไปคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนและคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน แม้ใช้กับสินค้าต่างชนิดในกลุ่มเดียวกัน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า 'Natty' กรณีใช้ก่อนและมีความคล้ายคลึงจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES"และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า"SHOES" อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกันแต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้แปลว่าหรูสมาร์ทโก้ เหมือนกันอักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกันเมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกัน แม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้วการที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้เป็นการจงใจใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty"มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่อาจทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์ตัวหนาทึบอยู่ในพื้นสีขาว เขียวและเขียวเข้มลักษณะเป็นแฉก เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาจีนถัดลงมาเป็นภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ทั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "น้ำปลาผสม"ส่วนด้านใต้ตัวเลข 1 ระบุแหล่งผู้ผลิตคือ ผลิตโดยบริษัทไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัดส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์เป็นลายไทย เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาไทยอ่านว่า "น้ำปลาผสมตราเลขหนึ่ง" ถัดลงมาเป็นภาษาจีนภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "แบ่งบรรจุโดยร้านมิตรไพโรจน์"ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอยู่ที่ตัวเลข "1" ซึ่งอยู่ในพื้นสีขาว เขียวอ่อนและเขียวเข้มซึ่งเป็นแฉกเหมือนกัน อยู่ในฉลากขนาดเดียวกัน ด้านบนของตัวเลข 1คำว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" กับ "ทั้ง ซัง ฮะ" มีจำนวน 3 คำเท่ากัน และมีคำซ้ำกันถึง2 คำ คือ "ซัง" กับ "ฮะ" ส่วนคำที่ไม่ซ้ำกันคือคำว่า "ทั้ง" กับ "ตั้ง" ก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนแหล่งผู้ผลิตซึ่งอยู่ด้านล่างของตัวเลข "1" มีคำว่า"ไพโรจน์" อย่างเดียวกัน การจัดวางรูปเครื่องหมายการค้าเลข "1" ตลอดจนส่วนประกอบอื่น ๆ คล้ายคลึงกัน และใช้กับสินค้าน้ำปลาอย่างเดียวกัน เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ใช้มาก่อนและจดทะเบียนไว้จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 16