คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบธรรมของประกาศควบคุมการค้าข้าวภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค และการพิสูจน์อำนาจตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่น ๆ ในภาวะคับขัน 2488 ไม่ได้ถูกทับ โดย พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 และ พ.ร.บ.การค้าข้าว 2489
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการจังหวัดที่ออกโดยอาศัยอำนาจ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่น ๆ ในภาวะคับขัน 2488 เมื่อไม่ปรากฏว่า ประกาศขอคณะกรรมการจังหวัดได้ออกโดอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.นี้ และสำเนาประกาศสำหรับเรื่องนี้จะแสดงข้อเท็จจริงบางประการให้เด่นชัด ก็ไม่มีในสำนวน จะลงโทษจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบธรรมของประกาศคณะกรรมการจังหวัดในการควบคุมข้าวสาร แม้มีกฎหมายเฉพาะอื่น
ประกาศคณะกรรมการจังหวัดเรื่องยักย้ายข้าวสารออกโดยอาศัยอำนาจแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นๆ ในภาวะคับขัน2488 มีผลบังคับได้ พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวกับ พระราชบัญญัติการค้าข้าวไม่มีข้อความทับ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายควบคุมราคาข้าว: ความชอบธรรมของประกาศราคาจากสองหน่วยงาน (พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯ และ พ.ร.บ.การค้าข้าว)
ขายข้าวสารเกินราคากว่าที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ กำหนดไว้ แม้จะเป็นเวลาที่ พ.ร.บ.การค้าข้าว 2489 ประกาศใช้แล้ว แต่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว 2489 ยังหาได้ประกาศกำหนดราคาข้าว ทั้งยังมิได้ยกเลิกราคาข้าวเดิม จึงต้องอาศัยราคาข้าวที่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ กำหนดไว้ เมื่อขายเกินราคาก็ต้องมีผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบธรรมของพินัยกรรม: ข้อพิพาทเฉพาะเรื่องพินัยกรรม ไม่กระทบสิทธิในสภาพบุคคลหรือครอบครัว
ปัญหาที่ว่าพินัยกรรม์จะใช้ได้หรือไม่นั้น ไม่เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวถึงบุคคลภายนอกในฎีกาเพื่อต่อสู้คดี: ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
เขียนฎีกามีข้อความหมิ่นประมาทคนนอกสำนวนเพื่อเป็นการต่อสู้คดีไม่มีผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน: การรวมทรัพย์สินเพื่อเพิ่มราคา และการพิจารณาความชอบธรรมของราคาประเมิน
ป.พ.พ. มาตรา 510 บัญญัติว่า "ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดจะต้องทำตามคำโฆษณาบอกขาย และตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายไป" คดีนี้แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดโดยระบุว่า ขายที่ดินแปลงที่ 1, 4 และ 5 รวมกัน แปลงที่ 2 และ 3 รวมกัน แต่ในวันขายทอดตลาดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งห้าแปลงรวมกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามโจทก์แล้วไม่คัดค้าน และได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงให้ผู้เข้าร่วมประมูลและผู้สนใจเข้าฟังการขายทอดตลาดทราบแล้วว่าจะรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกัน โดยจำเลยที่ 2 มาดูแลการขายทอดตลาดด้วย แต่จำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันแต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตรงตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว ทั้งคำโฆษณาบอกขายว่าเป็นการรวมขายหรือแยกทรัพย์สินเป็นเพียงวิธีการในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี อันเป็นรายละเอียดของการขายทอดตลาด ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดหรือข้อกำหนดของศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำคำโฆษณาบอกขายระบุถึงรายละเอียดวิธีการขาย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าการรวมขายไปด้วยกันเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจจัดรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 (1) (ข) ถือได้ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้รวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันนั้น เป็นส่วนหนึ่งของคำโฆษณาบอกขายหรือข้อความอื่นซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในการขายทอดตลาดต้องทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย การขายทอดตลาดที่ดินทั้งห้าแปลงของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16228/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริต: การลงโทษซ้ำหรือไม่ และความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
การที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โจทก์สำหรับการกระทำที่ถูกกล่าวหาไปแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นสอบสวนใหม่แล้วมีคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเห็นว่าโจทก์กระทำทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั้น เมื่อตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดขั้นตอนการลงโทษทางวินัยโดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีอำนาจลงโทษพนักงานลูกจ้างสำหรับความผิดเล็กน้อยไม่ร้ายแรงได้ แต่ให้อยู่ภายใต้การทบทวนของผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปเพื่อให้การลงโทษนั้นเหมาะสม โดยระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นที่มีคำสั่งลงโทษในชั้นต้นมีหน้าที่ต้องรายงานการดำเนินการลงโทษทางวินัยนั้นไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูงจนถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อพิจารณาทบทวนได้ หากผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาแล้วลงโทษเป็นอย่างอื่นก็ให้การลงโทษโดยผู้บังคับบัญชาชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไป กรณีนี้จึงมิใช่เป็นการลงโทษซ้ำสำหรับการกระทำเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต่างจำพวก สิ้นสุดแล้วมิอาจสับสน ความชอบธรรมในการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 มีรูปช้างสามเศียรหรือช้างเอราวัณ และอาจเรียกขานว่าเครื่องหมายการค้าตราช้างสามเศียรหรือตราช้างเอราวัณได้เช่นกัน แต่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้มีเฉพาะรูปช้างเท่านั้น หากยังมีวงกลมสองวง และมีอักษรภาษาไทยว่า บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด หรือปูนซีเมนต์ตราเอราวัณ มั่นใจได้ กับอักษรโรมันว่า THE SIAM CEMENT CO., LTD. อยู่ภายในวงกลมสองวงซ้อนกันและมีอักษรโรมันขนาดเล็กว่า RAPID-HARDENING PORTLAND CEMENT อยู่ในวงกลมชั้นในด้วย ขณะที่ของจำเลยที่ 1 ไม่มีจึงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง แต่สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นข้าวสาร ย่อมไม่มีโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าว่าสินค้าข้าวสารของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้บริษัทโจทก์จะตั้งขึ้นก่อนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนและไม่ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือไม่ ก็ชอบที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์นอกเหนือเจตนาผู้แทนบริษัท และความชอบธรรมในการฟ้องคดีอาญา
โจทก์ร่วมเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 แม้โจทก์ร่วมจะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์ ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 กับพวกได้โดยมิได้ระบุข้อหาความผิดไว้ แต่การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้รับมอบอำนาจก็ต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับหรือเจตนาที่ผู้แทนนิติบุคคลให้ไว้ เมื่อปรากฏว่าตามรายงานการประชุมของโจทก์ร่วม ที่ประชุมมีมติให้แจ้งความร้องทุกข์แก่จำเลยที่ 1 กับพวกในข้อหาบุกรุกเท่านั้น มิได้มีมติให้ดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย การที่ ร. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกในความผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ จึงเป็นการกระทำนอกเหนือจากเจตนาของโจทก์ร่วม การแจ้งความร้องทุกข์ดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ร่วมถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653-3654/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยต้องเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง หากระเบียบไม่ครอบคลุมห้ามนำระเบียบอื่นมาใช้โดยไม่ชอบ
โจทก์ระบุว่าการกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด ว่าด้วยข้อบังคับการทำงาน พ.ศ.2552 ข้อ 22 (1) (2) (3) เมื่อโจทก์ระบุว่าจำเลยร่วมกระทำผิดตามข้อบังคับการทำงานดังกล่าว การลงโทษจำเลยร่วมจึงต้องใช้ข้อบังคับการทำงานอันเดียวกันซึ่งมีระบุถึงโทษทางวินัยไว้แล้วมาใช้บังคับแก่จำเลยร่วมตามข้อ 23 ซึ่งกำหนดโทษไว้ 5 ประเภท คือ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก พักงาน และตักเตือนเป็นหนังสือ โจทก์จะนำโทษตัดเงินเดือน ตามระเบียบว่าด้วยการเจ้าหน้าที่ ตอนที่ 2 วินัย การลงโทษ ค่าชดเชย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ.2543 ข้อ 8.4 ซึ่งระบุให้ใช้ในกรณีเจ้าหน้าที่กระทำผิดวินัยมาใช้หาได้ไม่ เนื่องจากเป็นการลงโทษโดยนำระเบียบฉบับอื่นมาใช้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจอนุโลมนำระเบียบฉบับอื่นมาใช้บังคับแก่กันได้ หากให้โจทก์เลือกปฏิบัติเช่นนี้ได้จะเป็นผลเสียต่อความเป็นธรรมในการลงโทษผู้กระทำความผิดวินัย เพราะโจทก์สามารถหลบเลี่ยงหรือเลือกปฏิบัติในการลงโทษพนักงานคนใดตามความประสงค์ของโจทก์โดยการนำโทษเบามาลงกับการกระทำความผิดร้ายแรงได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจตัดเงินเดือนของจำเลยร่วม ต้องจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดไปคืนให้จำเลยร่วมตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
of 6