พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้อง: เหตุผลความบกพร่องต้องชัดเจนและสมเหตุสมผล ศาลไม่อนุญาตหากไม่แสดงเหตุอันสมควร
ฟ้องโจทก์กล่าวแต่เพียงว่าผู้เสียหายได้ไปแจ้งแก่จำเลยว่านายปิ่งข่มขืนชำเราเด็กหญิงเคี่ยม ครั้นในชั้นสอบสวนจำเลยกลับให้การว่า ผู้เสียหายไปแจ้งต่อจำเลยเพียงว่าเด็กหญิงเคี่ยมหนีไปจากนายลา นายลามิได้แจ้งว่านายปิ่งข่มขืนชำเราเด็กหญิงเคี่ยม เช่นนี้ยังไม่พอลงโทษจำเลยตาม มาตรา 154(2) ขอเพิ่มเติมฟ้องอ้างบทลงโทษเพิ่มขึ้นอีกโดยกล่าวฟ้องเดิมยังบกพร่องอยู่นั้น ถือว่าไม่ได้แสดงเหตุอันสมควรศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 774/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการเลือกตั้ง: การกระทำบกพร่องของเจ้าพนักงานและผู้สมัครที่ไม่ถึงขนาดทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลง
ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเจ้าพนักงานผู้กระทำการบกพร่องเกินเลยไปบ้างเช่นปล่อยให้มีการโฆษนาในปริมณฑล 30 เมตร์ในสถานที่เลือกตั้งและถ้าไปนับคะแนนเสียงเสียเองบ้าง ซึ่งมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะให้คะแนนเสียงของผู้ได้รับเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ ก็ไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนการเลือกตั้งครั้งนั้น
การที่เจ้าพนักงานนำรูปผู้สมัคร์รับเลือกตั้งไปปิดล่าช้าเพราะความจำเป็นในทางคมนาคมนั้น ไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การเลือกตั้งเสียไป
การที่เจ้าพนักงานนำรูปผู้สมัคร์รับเลือกตั้งไปปิดล่าช้าเพราะความจำเป็นในทางคมนาคมนั้น ไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การเลือกตั้งเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13146/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัยต้องแจ้งก่อนสิ้นกำหนด & ความบกพร่องทนายจำเลย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ ซึ่งมาตรา 26 บัญญัติว่า ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคู่ความต้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้และจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษหรือจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้เช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่
จำเลยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยบกพร่อง ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งเหตุดังกล่าวทนายจำเลยสามารถตรวจสอบและแก้ไขด้วยการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้แต่หาทำไม่ แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ในคดี ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองกรณีจึงไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
จำเลยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยบกพร่อง ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งเหตุดังกล่าวทนายจำเลยสามารถตรวจสอบและแก้ไขด้วยการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้แต่หาทำไม่ แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ในคดี ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองกรณีจึงไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16889/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของคู่ความ และศาลไม่ต้องพิจารณาคำร้องหากพ้นกำหนด
แม้การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของโจทก์เมื่อพ้นระยะเวลาฎีกาแล้วจะทำให้โจทก์เสียสิทธิในการยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ยังเหลืออยู่ก็ตาม โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งไม่อนุญาตก็ได้ กรณีไม่อาจนำเหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว 4 วัน มาเป็นเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฎีกาได้
การพิจารณาว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ว่า เหตุที่โจทก์อ้างตามคำร้องเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือไม่ การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดเพราะกรรมการบริษัทโจทก์ซึ่งอาศัยต่างประเทศยังไม่เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อสั่งจ่ายเช็คค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาล เป็นความบกพร่องของตัวโจทก์และทนายโจทก์เอง ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามบทบัญญัติดังกล่าว
การพิจารณาว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ว่า เหตุที่โจทก์อ้างตามคำร้องเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือไม่ การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดเพราะกรรมการบริษัทโจทก์ซึ่งอาศัยต่างประเทศยังไม่เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อสั่งจ่ายเช็คค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาล เป็นความบกพร่องของตัวโจทก์และทนายโจทก์เอง ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20386/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องโจทก์ในการเตรียมพยานหลักฐานและการไม่เร่งรัดการส่งหมายเรียกพยาน ทำให้ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตเลื่อนคดี
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องแล้ว คู่ความทุกฝ่ายมีหน้าที่ต้องเตรียมพยานหลักฐานและนำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จตามกำหนดนัด
ในวันนัดตรวจพยานหลักฐาน โจทก์แถลงประสงค์จะสืบพยานบุคคล 11 ปาก เป็นพยานหมายทั้งหมด ไม่มีพยานประเด็นที่ศาลอื่น ซึ่งหากโจทก์ตรวจสอบภูมิลำเนาของผู้เสียหายที่ 2 ก่อนวันนัดหรือหากโจทก์เร่งส่งหมายเรียกพยานบุคคลให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 ก็ย่อมจะทราบทันทีว่าผู้เสียหายที่ 2 ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2552 การที่โจทก์เพิ่งมาขอระบุพยานเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิลำเนาของผู้เสียหายที่ 2 หลังจากวันนัดตรวจพยานหลักฐานถึง 7 เดือนเศษ จึงนับเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง แม้ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานปากผู้เสียหายที่ 2 ที่ศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ก็ยังให้โอกาสโจทก์ติดตามผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความต่อศาลชั้นต้นภายในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีเวลาเพียงพอ เมื่อถึงวันนัดโจทก์กลับแถลงว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่มาศาล และยังไม่ได้รับรายงานผลการส่งหมายเรียกให้พยานขอเลื่อนคดี พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดี
ในวันนัดตรวจพยานหลักฐาน โจทก์แถลงประสงค์จะสืบพยานบุคคล 11 ปาก เป็นพยานหมายทั้งหมด ไม่มีพยานประเด็นที่ศาลอื่น ซึ่งหากโจทก์ตรวจสอบภูมิลำเนาของผู้เสียหายที่ 2 ก่อนวันนัดหรือหากโจทก์เร่งส่งหมายเรียกพยานบุคคลให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 ก็ย่อมจะทราบทันทีว่าผู้เสียหายที่ 2 ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2552 การที่โจทก์เพิ่งมาขอระบุพยานเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิลำเนาของผู้เสียหายที่ 2 หลังจากวันนัดตรวจพยานหลักฐานถึง 7 เดือนเศษ จึงนับเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง แม้ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานปากผู้เสียหายที่ 2 ที่ศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ก็ยังให้โอกาสโจทก์ติดตามผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความต่อศาลชั้นต้นภายในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีเวลาเพียงพอ เมื่อถึงวันนัดโจทก์กลับแถลงว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่มาศาล และยังไม่ได้รับรายงานผลการส่งหมายเรียกให้พยานขอเลื่อนคดี พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย การไม่มาฟังคำพิพากษาและไม่ตรวจสอบสำนวนถือเป็นความบกพร่องของผู้ร้อง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
การที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วไม่มาฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งเหตุตามคำร้องถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์ร่วมที่ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นย่อมอ่านคำพิพากษาไปได้และถือว่าโจทก์ร่วมได้ฟังคำพิพากษานั้นแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม และที่ทนายโจทก์ร่วมสอบถามผลคดีจากเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นโดยไม่ตรวจผลคดีจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยตนเอง เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วม กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยที่โจทก์ร่วมจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้
การที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วไม่มาฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งเหตุตามคำร้องถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์ร่วมที่ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นย่อมอ่านคำพิพากษาไปได้และถือว่าโจทก์ร่วมได้ฟังคำพิพากษานั้นแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม และที่ทนายโจทก์ร่วมสอบถามผลคดีจากเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นโดยไม่ตรวจผลคดีจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยตนเอง เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วม กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยที่โจทก์ร่วมจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานและประวัติการทำงาน
จำเลยมีข้อมูลในการพิจารณาปฏิบัติงานของโจทก์พอสมควรอยู่แล้ว แม้ไม่มีการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม จำเลยก็สามารถพิจารณาว่ามีเหตุสมควรเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ได้ การสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเป็นเพียงแสวงหาข้อเท็จจริงซึ่งทำให้จำเลยมีข้อมูลในการพิจารณามากขึ้นเท่านั้น การตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแม้จะปฏิบัติไม่ถูกต้องและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย ก็ไม่เป็นเหตุที่จะมีคำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ เพราะการสั่งเลิกจ้างเป็นการใช้อำนาจบริหารโดยอาศัยข้อบังคับจำเลย ว่าด้วยเรื่องการบรรจุ การแต่งตั้ง การเรียกประกัน การเลื่อนเงินเดือนและการถอดถอนสำหรับพนักงานตามข้อบัง 20 (2) ไม่ใช่กรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องวินัย เมื่อโจทก์บกพร่องในการปฏิบัติงาน ประกอบกับโจทก์เคยมีประวัติถูกตัดเตือนเรื่องการดำเนินงานมาแล้ว การที่จำเลยพิจารณารายงานการสอบสวนโจทก์แล้วเห็นว่าไม่อาจไว้วางใจโจทก์ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และมีคำสั่งเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้จึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์จากความบกพร่องของทนาย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์มาแล้ว 3 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 4 เดือน แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าว มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานที่เป็นทนายความ ข้ออ้างของทนายโจทก์ที่ว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียในระหว่างทางและการจราจรติดขัด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้ และขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์อยู่ในขณะนั้นตามมาตรา 10 ได้