พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสภายหลังเกิดเหตุพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา ผลกระทบต่อความผิดทางอาญา
ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ม. มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 กรณีที่จำเลยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับเด็กหญิง ม. โดยนาง จ.มารดาเด็กหญิง ม. ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขออนุญาตให้เด็กหญิง ม. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้วแม้ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก็มิอาจลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำมา ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงชอบแล้ว แต่เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้อนุญาตให้จำเลยและเด็กหญิง ม. สมรสกันการกระทำของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้ายแม้จำเลยจะมิได้ฎีกามาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้กระทำความผิดทางอาญาจากพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และคำให้การของผู้เสียหาย
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายนอนไม่หลับจึงลุกจากเตียงไปเปิดไฟฟ้าแต่ยังไม่ทันเปิดจำเลยก็เข้าไปอยู่ในห้องนอนและอยู่ห่างผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร ในมือถือมีดและเดินเข้าจะรวบลำตัวของผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายยกมือซ้ายขึ้นกันคมมีดที่จำเลยถือจึงบาดนิ้วมือและเข่าของผู้เสียหายผู้เสียหายร้องขอความช่วยเหลือก็มีเสียงตอบรับ จำเลยตกใจและวิ่งไปเปิดประตู แต่เปิดไม่ออก จำเลยจึงวิ่งย้อนกลับไปยังหน้าต่างที่ใช้ปีนเข้ามา จำเลยวิ่งอยู่ในห้อง กลับไปกลับมาและฉายไฟฉายด้วย ปรากฏว่าไฟฉายที่ส่องไปกระทบกระจกตู้เสื้อผ้าที่ตั้งไว้ในห้องนอนซึ่งใช้เป็นที่กั้น เป็นห้องนอนในตัวซึ่งมีช่องกระจกใสอยู่ 5 ช่องเพื่อหาทางหนีอย่างฉุกละหุก แม้ไม่ตั้งใจส่องไฟไปกระทบบานกระจกแต่บานกระจกเหล่านั้นตั้งอยู่ในระยะใกล้ การส่องไฟหาทางหนีเป็นธรรมดาที่ต้องส่ายลำแสงไฟไปทั่วย่อมจะเกิดแสงสว่างสะท้อนกลับทำให้ผู้เสียหายเห็นคนร้าย นอกจากนี้ยังปรากฏว่าผู้เสียหายสามารถเห็นไฟฉายที่คนร้ายถืออยู่นั้นว่าเป็นไฟฉายใช้ถ่านไฟฉาย 2 ก้อน และมีดที่คนร้ายถือยาว 1 คืบเศษสีขาวลักษณะเป็นมีดพกบ่งชัดว่าผู้เสียหายสามารถเห็นความยาวของมีด หากมีดที่ถือไม่ยาวเป็นคืนก็ไม่น่าจะทำให้เกิดบาดแผลที่มือผู้เสียหายยาว 2.5 เซนติเมตร มีดที่ผู้เสียหายเบิกความถึงจึงสอดคล้องลักษณะการใช้ ทั้งผู้เสียหายสามารถระบุเสื้อผ้าที่คนร้ายสวมว่าเป็นเสื้อสีเทาลักษณะเสื้อทหารและสวมกางเกงสีดำ ทำให้เชื่อว่ามีแสงสะท้อนสว่างพอที่จะเห็นหน้าคนร้าย ประกอบกับจำเลยเป็นญาติและมีบ้านอยู่ห่างบ้านเกิดเหตุประมาณ 150 เมตร ผู้เสียหายจึงรู้จักจำเลยมาก่อนและจำจำเลยได้เป็นอย่างดี เพราะมีบ้านอยู่ใกล้ ๆ กันย่อมมองเห็นรูปร่างหน้าตาเป็นประจำ แม้แสงสว่างที่ส่องเป็นเพียงแสงสะท้อนก็เชื่อว่ามีแสงเพียงพอที่ผู้เสียหายจะเห็นและจำคนร้ายได้ วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายระบุตัวจำเลยว่าเป็นคนร้ายและเจ้าพนักงานตำรวจไปจับในวันรุ่งขึ้นนั้นเองกับได้บันทึกพฤติการณ์แห่งการกระทำของคนร้าย ทั้งระบุชื่อของจำเลยว่าเป็นคนร้ายด้วย แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้ระบุชื่อคนร้ายในทันทีต่อผู้ที่ไปที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่า คนร้ายไม่ใช่จำเลยจึงไม่ใช่เหตุที่จะทำคำให้การและคำเบิกความของผู้เสียหายเสียไป ทั้งในเวลาเย็นของวันที่จำเลยถูกจับนาง พ. ภริยาจำเลยและญาติของจำเลยไปเจรจากับผู้เสียหายโดยตกลงชำระค่าเสียหายให้จำนวน 5,000 บาท หากจำเลยไม่ใช่คนร้ายภริยาและญาติของจำเลยก็ไม่จำต้องไปเจรจาชำระค่าเสียหายแม้ผู้ไปเจรจาไม่ใช่จำเลยแต่ก็มีภริยาจำเลยและญาติสนิทรวมอยู่และเจรจาเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยยอมชำระเงินจำนวนไม่น้อย พยานหลักฐานของโจทก์สมเหตุสมผลสอดคล้องกับพยานแวดล้อม พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชอบครู/อาจารย์ต่อศิษย์ตาม ป.อ.มาตรา 285: การกระทำนอกเหนือหน้าที่ดูแล
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตามป.อ.มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้าน พ. และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรก การลงวันที่ภายหลังไม่ทำให้เกิดความผิดทางอาญา
ช.เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาท และลงวันที่ในเช็คหลังจากจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่ในเช็ค เช็คพิพาทจึงไม่มีรายการวันออกเช็ค หรือวันจ่ายเงินอันเป็นวันกระทำความผิดหรือวันเกิดเหตุ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 988 (6)บังคับให้ต้องมีรายการนี้ เมื่อไม่มีรายการนี้ตั้งแต่ขณะที่ออกเช็ค จึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 910 วรรคหนึ่ง, 989 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ทรงเช็คสามารถลงวันที่ได้เองลับหลังผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 910 วรรคท้าย, 989 วรรคหนึ่งก็เป็นเพียงวิธีการในทางแพ่งเพื่อให้เช็คเรียกเก็บเงินได้ เมื่อเช็คพิพาทไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ขณะที่ออกเช็ค ผู้ออกเช็คก็ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญา: การกระทำความผิดโดยมีอาการป่วยทางจิต และการพิจารณาความสามารถในการรับผิด
จำเลยมีอาการป่วยทางจิตเนื่องจากประสบอุบัติเหตุรถยนต์คว่ำ จำเลยเคยไปรักษาที่โรงพยาบาลติดต่อกันนานประมาณ 7 ปี แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยยังรับราชการที่แผนกการเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดได้ตามปกติแสดงว่าบางขณะจำเลยมีอาการคุ้มดีคุ้มร้าย บางขณะก็เป็นปกติ คืนเกิดเหตุ จำเลยเคาะประตูเรียก ป. และโวยวายให้คนช่วยหาคนที่เอามดแดงไปใส่ในรองเท้าจำเลยและทำลายข้าวของในห้องพักของ จำเลยเมื่อจำเลยไปค้นห้องพักผู้ตายพบมีดและปืนของผู้ตาย จำเลยหยิบมีดและปืนออกจากห้องและเดินตามหาผู้ตายเมื่อพบผู้ตายจำเลยพูดว่า "เฮ้ย มึงว่ากูกล้ายิงไหม" แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงทันที นอกจากนี้หลังเกิดเหตุจำเลยได้พูดกับ ป. ว่า"เป็นไง เพื่อน มึงวิ่งหนีกูทำไม" พฤติการณ์ของจำเลยก่อนและหลังกระทำความผิดเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าภาวะจิตใจของจำเลยขณะกระทำความผิดยังสามารถรู้สึกผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์การให้เงินและการมีส่วนร่วมในความผิด: การโต้แย้งว่าเป็นไปตามมนุษยธรรมมิใช่ความผิดทางอาญา
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้เถียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่โจทก์ได้ให้เงินแก่จำเลยที่ 1เพื่อนำไปให้แก่จำเลยที่ 2 คงโต้เถียงแต่เพียงว่า การที่โจทก์ให้เงินแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำไปให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการให้ตามทางแห่งมนุษยธรรมมิใช่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ถือเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เพราะปัญหาที่ว่าการกระทำใดเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ถือเป็นปัญหาข้อกฎหมายคดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเช็คและการลงโทษทางอาญา กรณีเช็คไม่มีเงินรองรับ
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเก็บเอกสารเรื่องอื่น โจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันควร และโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางอาญาจากความผิดอาญาแผ่นดินเป็นความผิดต่อส่วนตัว ทำให้โจทก์มีสิทธิถอนฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 83, 362,365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จำเลยอุทธรณ์ หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 365(3)อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลย ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยนั้นชอบแล้ว แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันได้ โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยต่อไป จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย ดังนี้ตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น แม้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญา
แม้ผู้เสียหายทั้งสองกับจำเลยยังมีเรื่องโต้เถียงกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะทำลายต้นยูคาลิปตัส ที่ผู้เสียหายทั้งสองเป็นผู้ปลูกที่ดินพิพาทได้ หากจะถือว่าการปลูกต้นยูคาลิปตัส ลงในที่ดินเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของจำเลย ในกรณีที่ต่างโต้เถียงสิทธิครอบครองกันเช่นนี้ต่างก็ต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองโดยต้องว่ากล่าวกันในทางศาล การที่จำเลยเข้าตัดฟัน ขุดและเผาต้นยูคาลิปตัส จึงเป็นการทำให้เสียทรัพย์ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานไม่เพียงพอฟังลงโทษคดีลักทรัพย์ จำเลยอ้างว่าเห็นแต่พฤติการณ์ที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักอะไหล่รถยนต์6รายการและแผ่นอะลูมิเนียม3แผ่นไปจากบริษัท ต. แต่คำเบิกความของ จ. พยานโจทก์ไม่ได้ความชัดว่าภายในกล่องกระดาษซึ่งพยานเห็น ช. คนงานก่อสร้างซึ่งเป็นพวกของจำเลยยกออกจากโรงซ่อมของบริษัท ต. มาวางไว้ด้านหลังโรงซ่อมนั้นมีสิ่งของใดหรือไม่และที่อ้างว่าจำเลยที่1กับ พ. ซึ่งเป็นพวกของจำเลยด้วยได้มาช่วยยกแผ่นอะลูมิเนียม2แผ่นบริเวณก่อสร้างนำไปรวมไว้กับกล่องกระดาษที่ ช. นำมาวางนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเป็นแผ่นอะลูมิเนียมของผู้เสียหายหรือไม่และที่อ้างว่าเห็นจำเลยที่2ยกกล่องกระดาษ2ใบไปใส่ในรถของจำเลยที่2ก็ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยที่2นำกล่องกระดาษจากที่ใดและภายในบรรจุสิ่งของใดหรือไม่โจทก์จึงขาดพยานหลักฐานที่มั่นคงที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสอง