พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และต้องมีข้อตกลงเรื่องช่วงเวลา หากไม่มีข้อตกลง สั่งให้ทำงานล่วงเวลาถือไม่ชอบ
อุทธรณ์จำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน นอกจากนี้จำเลยยังได้อ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในอุทธรณ์อีก จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ. แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป หมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วง ระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่ง ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลง ต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตามก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้อง ทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่ง ของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ศาลแรงงานพิพากษาชอบแล้ว
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ. แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป หมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วง ระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่ง ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลง ต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตามก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้อง ทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่ง ของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ศาลแรงงานพิพากษาชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และต้องมีข้อตกลงชัดเจน หากไม่มีข้อตกลง คำสั่งให้ทำงานล่วงเวลานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์จำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานนอกจากนี้จำเลยยังได้อ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในอุทธรณ์อีกจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย
ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไปหมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใดนายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลงต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตาม ก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย
ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไปหมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใดนายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลงต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตาม ก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาเอกสาร หากจำเลยไม่โต้แย้ง ถือเป็นความยินยอมและรับรองความถูกต้อง
จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตามขั้นตอนที่ ป.วิ.พ.มาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่ กำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าว และผู้อ้างไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารอีกตาม มาตรา 93 (1) สำเนาเอกสารนั้นย่อมรับฟังได้เสมอกับต้นฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยไม่ยินยอม และอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว
เมื่อพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมผู้เสียหาย และโดยผู้เสียหายนั้นไม่ยินยอมแต่การที่จำเลยทั้งสามได้กระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และไม่ใช่ภริยาของตน ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าโดยความยินยอม และการริบเงินประกัน
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบตึกแถวคืนจำเลยในสภาพเรียบร้อย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้ จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกันแต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินประกันได้จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985-2986/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอม: งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉินซึ่งนายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง หมายถึงงานที่ลูกจ้างทำอยู่ในเวลาทำงานปกติมีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำต่อเนื่องกันไปจนกว่างานจะเสร็จ หากหยุดก่อนงานที่ทำนั้นเสร็จ งานที่ทำนั้นจะเสียหาย ส่วนงานฉุกเฉินนั้นหมายถึงงานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า และงานนั้นต้องทำให้เสร็จสิ้นทันที มิฉะนั้นงานที่เกิดขึ้นนั้นจะเสียหาย
งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ที่ลูกจ้างทำให้แก่นายจ้าง เป็นการนำเนื้อปลามาทำเป็นรูปปลาชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้น ๆ เมื่อทำงานตามที่รับมอบหมายในเวลาทำงานปกติเสร็จสิ้นแล้ว แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไป ก็ไม่ทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหาย จึงมิใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และการที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว ก็มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง
การที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นต้องผลิตและส่งให้แก่ลูกค้าทันเวลาในวันรุ่งขึ้น เมื่อลูกจ้างไม่ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องให้คนอื่นทำงานแทนมากกว่า 3 เท่าตัว และผลงานไม่ได้มาตรฐาน ถูกลูกค้าตำหนิ จะถูกลดจำนวนสั่งซื้อลงหรือเลิกการสั่งซื้อนั้น ล้วนแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างเนื่องจากระบบการบริหารงานของนายจ้างเอง เมื่องานขึ้นรูปปลาสวรรค์มิใช่งานที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน การที่ลูกจ้างไม่ยอมทำงานดังกล่าวล่วงเวลาตามที่นายจ้างสั่งให้ทำ ย่อมไม่มีความผิดที่นายจ้างจะออกหนังสือตักเตือนได้
งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ที่ลูกจ้างทำให้แก่นายจ้าง เป็นการนำเนื้อปลามาทำเป็นรูปปลาชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้น ๆ เมื่อทำงานตามที่รับมอบหมายในเวลาทำงานปกติเสร็จสิ้นแล้ว แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไป ก็ไม่ทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหาย จึงมิใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และการที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว ก็มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง
การที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นต้องผลิตและส่งให้แก่ลูกค้าทันเวลาในวันรุ่งขึ้น เมื่อลูกจ้างไม่ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องให้คนอื่นทำงานแทนมากกว่า 3 เท่าตัว และผลงานไม่ได้มาตรฐาน ถูกลูกค้าตำหนิ จะถูกลดจำนวนสั่งซื้อลงหรือเลิกการสั่งซื้อนั้น ล้วนแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างเนื่องจากระบบการบริหารงานของนายจ้างเอง เมื่องานขึ้นรูปปลาสวรรค์มิใช่งานที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน การที่ลูกจ้างไม่ยอมทำงานดังกล่าวล่วงเวลาตามที่นายจ้างสั่งให้ทำ ย่อมไม่มีความผิดที่นายจ้างจะออกหนังสือตักเตือนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยถูกข่มขู่: โมฆียะตามกฎหมาย
พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วันและถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรสก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้าน จะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตนตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและการทำละเมิดต่อกรรมสิทธิ์หลังเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ ความยินยอมเดิมไม่ผูกพันเจ้าของรายใหม่
แม้จำเลยจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินเดิมให้ก่อสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินได้และการกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการทำละเมิดแต่เมื่อเจ้าของเดิมได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นต่อไป จนในที่สุดที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ความยินยอมดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องยอมรับสิทธิของจำเลยต่อไป เพราะโจทก์ทั้งสองก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้รั้วพิพาทอยู่ในที่ดินของตนอีกต่อไปและได้แจ้งให้จำเลยจัดการรื้อถอนแล้วแต่แทนที่จำเลยจะรื้อรั้วพิพาทออกไปเสียทั้งหมดกลับเหลือทิ้งไว้ในที่ดินของโจทก์บางส่วนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การไม่รื้อถอนรั้วพิพาทให้หมดสิ้นย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ในที่ดินส่วนนั้นได้ซึ่งแม้ว่าจะมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อยโจทก์ก็ได้รับความเสียหายซึ่งอาจเปรียบเทียบค่าเสียหายสำหรับที่ดินส่วนดังกล่าวจากที่ดินในบริเวณใกล้เคียงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่ได้รับความยินยอมจากทายาท การโอนมรดกไม่เป็นการฉ้อฉล
ข. เป็นภริยาของ ส. ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส. มิได้คัดค้าน เนื่องจากก่อนที่ ส. ถึงแก่ความตาย ส. ได้แบ่งทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว ทั้งปรากฏว่าก่อนมีการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 19475 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโอนโฉนดเลขที่ 13685 ให้แก่ ข. และต่อมา ข. โอนขายแก่จำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส. และทายาทอื่นของ ส. ทราบแล้ว โดยไม่มีทายาทคนใดโต้แย้ง เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้เห็นยินยอมในการทำนิติกรรมจัดการมรดกของจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันในการที่จำเลยที่ 1 กระทำนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหนี้ร่วม: เจ้าหนี้แต่ละรายมีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากเจ้าหนี้รายอื่น
แม้เงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของการให้กู้เงินในโครงการก่อสร้างโรงงานร่วมกับสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกันชุดเดียวกันในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกู้เงินจากโจทก์และผู้ให้กู้แต่ละรายมีกำหนดจำนวนเงินกู้ที่แน่นอน และแม้จะมีหลักประกันร่วมกันก็ถือว่าหนี้แต่ละรายมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว เมื่อจำเลยผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน