พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรู้เห็นเป็นใจในการเล่นการพนันของผู้แทน: ผู้ร้องต้องรับผิดชอบการกระทำของจำเลย
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้ร้องโดยเป็นผู้จัดการดูแลเก็บผลประโยชน์สามารถกระทำการแทนผู้ร้องได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ร้องจัดให้มีการเล่นบิลเลียดพนันเอาทรัพย์สินโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการเล่นการพนันดังกล่าว ผู้ร้องจะอ้างว่าจำเลยได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจที่ผู้ร้องได้มอบหมายให้ไม่ได้ และคดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียดพนันเอาทรัพย์สินโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง และปรากฏในบันทึกการจับกุมว่า ชั้นจับกุมได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นบิลเลียด(สนุกเกอร์) เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่ได้รับอนุญาตของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจในการตรวจสอบข้อมูลนัดพิจารณาคดี การไม่แจ้งเหตุจำเป็นในการไม่มาศาล
เมื่อคู่ความนำคดีมาสู่ศาลจึงมีหน้าที่ต้องนำข้อเท็จจริงมาแสดงต่อศาล หากมีความจำเป็นจนมิอาจมาศาลได้ก็จำต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าว คดีนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและได้กลับไปเพราะตรวจบัญชีนัดความของศาลในช่วงเช้าแล้วไม่พบรายชื่อคู่ความ โดยมิได้ตรวจดูบัญชีนัดความในช่วงบ่าย ทั้ง ๆ ที่คดีของโจทก์ได้นัดไว้ในช่วงบ่าย และมิได้ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ศาลแต่อย่างใดจึงเป็นความผิดพลาดของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เอง ดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมรับผิดชอบทรัพย์สินสูญหาย แม้ผู้เสียหายมิได้แจ้ง แต่แจ้งทันทีที่ทราบ และเอกสารยกเว้นความรับผิดทำขึ้นฝ่ายเดียวเป็นโมฆะ
น.นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยและรถยนต์คันดังกล่าวได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อ น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 674 แม้ น.จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยก็ตาม แต่เมื่อ น.ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์ของตนหายไปก็ได้แจ้งแก่ ว.ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้งน.ก็ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กรณีถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตาม ป.พ.พ.มาตรา 676 แล้ว
ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย และในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น.ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย และในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น.ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการต่อเติมอาคารเช่า ความรับผิดชอบของจำเลยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโจทก์
กรณีที่บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่กรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท และความเสียหายดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ เมื่อความเสียหายเกิดจากการที่ ส. ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้รถพลิกคว่ำ แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น แต่การที่รถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องนั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย หากจะเป็นความผิดกฎหมายก็เป็นความผิดกฎหมายในส่วนของการที่นำรถยนต์มาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 กรรมการบริษัทชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดของบริษัท จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสอง ได้ ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4385 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดซึ่งการจะรับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายใดว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากันก็ต้องพิจารณาจากข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายเมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบในรายละเอียดแห่งทรัพย์สินและราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควร ตามเอกสารสัญญาเช่ามิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าได้ตามที่ระบุไว้ในข้อ 10 แห่งเอกสารดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่ามีอยู่อย่างไร โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าหากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นผู้ให้เช่าจะต้องยินยอมให้โจทก์โอนได้โดยไม่อาจปฏิเสธได้หรือไม่ ค่าเสียหายอันเกิดจากค่าเสียโอกาสที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากอาคารที่เช่าอยู่ หากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงเป็นความเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ เงินที่โจทก์จ่ายให้ผู้เช่าล่วงหน้าจำนวน 150,000 บาทเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของ ส.ลูกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ให้แก่โจทก์ แต่เงินจำนวน 150,000 บาท ดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนการเช่าระยะเวลา 3 ปีเมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลา8 เดือนเศษ ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงสมควรกำหนดให้ลดลงตามส่วน และศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 โดยลดให้เหลือ120,000 บาท หลังจากโจทก์ย้ายเข้ามาอยู่ในตึกแถวที่เช่าแล้วโจทก์ได้ซ่อมแซมและต่อเติมอาคารหลายอย่าง เพื่อใช้ประกอบธุรกิจและพักอาศัย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในส่วนนี้จำนวน 800,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ชัดว่าสิ่งที่โจทก์หรือภรรยาโจทก์ได้กระทำไปมีรายละเอียดในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการนั้นอย่างไรบ้าง ศาลจึงกำหนดตามที่เห็นสมควรเพียง 600,000 บาท ได้ การรับจ้างแปลเอกสารเป็นธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015 แม้โจทก์จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวโดยที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการสูญหายของรถยนต์ที่ไม่ได้ตรวจสอบบัตรออกอย่างเคร่งครัด
จำเลยจัดอาคารที่จอดรถให้แก่ลูกค้าผู้นำรถเข้าไปจอดเป็นผู้หาที่จอดรถเองและเป็นผู้เก็บกุญแจไว้โดยไม่ต้องเสียค่าจอดแต่อย่างใดส่วนการที่จำเลยจัดพนักงานไว้คอยฉีกหรือตรวจบัตรจอดรถยนต์ขณะที่นำรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถของจำเลยนั้นเป็นเพียงมาตรการช่วยรักษาความปลอดภัยให้เท่านั้นที่โจทก์อ้างว่าลูกจ้างของจำเลยปล่อยให้รถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถโดยไม่รับบัตรจอดรถคืนนั้นโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าลูกจ้างของจำเลยได้ปล่อยรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างไรแต่กลับได้ความจากพยานจำเลยว่าวันเกิดเหตุมีรถยนต์ขอออกจากอาคารที่จอดรถไปโดยไม่มีบัตรจอดรถยนต์รวม3คันลูกจ้างของจำเลยได้ทำบันทึกทะเบียนรถยนต์บัตรประจำตัวผู้ขับขี่หรือบัตรประจำตัวประชาชนไว้แล้วไม่ปรากฎว่าได้ปล่อยรถคันที่โจทก์รับประกันออกไปแม้แต่ว. พยานโจทก์ก็เบิกความรับว่าเคยขับรถเข้าไปจอดในห้างของจำเลยแล้วออกไปโดยไม่คืนบัตรจอดรถลูกจ้างของจำเลยไม่ยอมให้ออกจนกระทั่งต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับรถให้ดูจึงจะนำรถออกไปได้แสดงว่าลูกจ้างของจำเลยได้ตรวจสอบและปล่อยรถไปถูกต้องตามระเบียบเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเองมิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: สิทธิยังคงอยู่แม้มีสัญญาเช่า และจำเลยต้องรับผิดชอบการรอนสิทธิ
ภาระจำยอมของโจทก์ถูกรอนสิทธิโดยผู้เช่าซึ่งเป็นบริวารของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญา หากปฏัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า
โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมกัเจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่ แม้ ย.จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภาระจำยอม และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์ มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่
เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญา หากปฏัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า
โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมกัเจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่ แม้ ย.จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภาระจำยอม และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์ มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการปฏิบัติงานในทางการจ้าง: การเดินทางกลับจากปฏิบัติงานนอกสถานที่ยังถือเป็นช่วงเวลาทำงาน
ผู้บังคับบัญชาของ ก. สั่งให้ ก. ไปรับผลการตรวจน้ำลายของลูกค้าและมอบของชำร่วยแก่ลูกค้าที่อำเภอสบปราบจังหวัดลำปาง ก. จึงได้เดินทางไปตามคำสั่ง ซึ่งถือได้ว่า ก.เดินทางไปปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้าง และเมื่อก. ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่เสร็จแล้วก็ย่อมจะต้องเดินทางกลับจากสถานที่ดังกล่าวระหว่างเดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้นายจ้างกรณีต่างกับการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานที่ทำงานปกติเสร็จแล้วเดินทางกลับบ้านซึ่งไม่อาจถือได้ว่าช่วงเวลาเดินทางกลับบ้านเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้าง การที่ ก. ประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตายระหว่างเดินทางกลับจากบ้านลูกค้าของนายจ้างจึงถือได้ว่าถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนการที่ ก. ไม่ได้กลับบ้านทันทีที่ปฏิบัติหน้าที่เสร็จ เนื่องจากไปรับประทานอาหารที่บ้านลูกค้าอีกคนหนึ่งในละแวกเดียวกันหาทำให้การปฏิบัติงานในหน้าที่สิ้นสุดลงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการทำร้ายร่างกายร่วมกัน การประเมินความรับผิดชอบทางอาญาเฉพาะตัว และการลดโทษ
จำเลยที่1และผู้ตายชกต่อยกันจำเลยที่3เข้าไปเตะที่กลางหลังผู้ตายส่วนจำเลยที่2เข้าไปตบหน้าผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียหลักล้มแล้วจำเลยที่1เข้ากระทืบที่ร่างผู้ตายบริเวณลำคอหลายครั้งจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายดังนี้เมื่อทางนำสืบของพยานโจทก์ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2และที่3มีเจตนาร่วมกันไปฆ่าผู้ตายแต่แรกประกอบกับจำเลยทั้งสามไม่ได้ใช้อาวุธทำร้ายผู้ตายแต่อย่างใดอีกทั้งการกระทำของจำเลยที่2และที่3ล้วนแต่มิได้ก่อให้เกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึงขนาดจะเป็นเหตุแห่งความตายได้ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากจำเลยที่1กระทืบที่ลำตัวและคอผู้ตายเป็นการกระทำและเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวจำเลยที่1ที่ต้องการให้ผู้ตายถึงแก่ความตายซึ่งจำเลยที่2และที่3ไม่อาจคาดหมายหรือเล็งเห็นมาก่อนว่าจำเลยที่1อาจฆ่าผู้ตายจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที2และที3มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการฆ่าผู้ตายทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2และที่3มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อนเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปด้วยกันน่าเชื่อว่าเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นทันทีทันใดจึงต้องสันนิษฐานให้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดว่าจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตายแต่เป็นกรณีที่ต่างคนต่างทำร้ายผู้ตายเป็นการเฉพาะตัวจำเลยที่2และที่3จึงต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295ประกอบมาตรา83เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบิกเงินเกินบัญชี การแบ่งกรรมและความรับผิดชอบ
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจแม้จะได้ความว่าหลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้วต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัทส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตามก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อนไว้เท่านั้นหาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไม่เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่คำนึงถึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่ จำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกันแต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียวดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งเมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่งดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัทส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่งจำเลยอนุมัติทั้งหมด144วันจึงเป็นความผิด144กรรมมิใช่เป็นความผิด338กรรมตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่จัดการวัสดุราชการ: ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตความร่วมมือในการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืม เก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้น และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่าย การเก็บรักษาวัสดุแบบพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการ แม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชี ดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชี เมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอ ไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหาย แต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการ ไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่น การละเลยของจำเลยที่ 1และที่ 2 จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่ 2 ประจำห้องคลังวัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดห้องคลังวัสดุ และไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืม จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก