พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248-1249/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การเฉลี่ยความรับผิดของผู้กระทำละเมิดหลายฝ่าย และสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล
เมื่อจำเลยต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดแล้วก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เต็มจำนวนแม้โจทก์จะมีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์จำเลยจะนำมาหักความรับผิดของตนหาได้ไม่ จำเลยที่1ขอเลื่อนคดีมา1ปีเศษจึงนำพยานเข้าสืบได้ปากเดียวศาลสั่งงดเพราะเห็นว่าเป็นการประวิงคดีนั้นเป็นดุลพินิจที่ชอบแล้ว ผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายชนกันโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายและไม่อาจแบ่งแยกผลของการละเมิดแต่ละฝ่ายใดประมาทมากน้อยกว่ากันศาลมีอำนาจกำหนดให้เฉลี่ยความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายฝ่ายละเท่าๆกันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการคำนวณค่าเสียหาย
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถเฉี่ยวชนกับรถที่ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับสวนทางมาเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ในรถที่ น.ขับถึงแก่ความตายจำเลยที่ 4 ถูกฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วว่า จำเลยที่ 4 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คำพิพากษามีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย หาผูกพัน น. หรือจำเลยที่ 2 นายจ้างของ น. ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงอาจนำสืบต่อสู้ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 4. มิใช่เกิดจากความผิดของ น.เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า น. ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ตายจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตนได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง หรือการแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน เพื่อความรับผิดร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตการฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทำศพบุตรของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดว่าได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าทำศพไปเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้จำเลยชดใช้ให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของตนไว้กับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันนี้ไปในทางการที่จ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาแสดงประกอบการนำสืบ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย หากแต่โจทก์เป็นบุคคลภายนอกฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่ทำไว้กับผู้เอาประกันภัย กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของตนไว้กับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันนี้ไปในทางการที่จ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาแสดงประกอบการนำสืบ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย หากแต่โจทก์เป็นบุคคลภายนอกฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่ทำไว้กับผู้เอาประกันภัย กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิดในทางการที่จ้าง
ปัญหาว่ากรรมการบริษัทโจทก์ที่ลงชื่อฟ้องคดีมีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทในวงเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินเกินหนึ่งแสนบาท นั้น เป็นปัญหาระหว่างบริษัทกับกรรมการ ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น จึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 วันเกิดเหตุนอกเวลาราชการ จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ขับรถนำข้าวสารไปเก็บที่สวนของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ไปนอนเฝ้าเป็นประจำ ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยที่ 1 ก็อนุญาตด้วย ระหว่างขับรถกลับมาเก็บที่กรมจำเลยที่ 1 ตามระเบียบ จำเลยที่ 3 ได้ขับด้วยความประมาทชนรถโจทก์เสียหายจึงถือได้ว่าอยู่ระหว่างเวลาปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 ทำงานส่วนตัวให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยได้รับเงินรางวัลบ้างเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัย ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 ในกิจการดังกล่าว จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อ ในฐานะนายจ้างดังโจทก์ฟ้อง
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 วันเกิดเหตุนอกเวลาราชการ จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ขับรถนำข้าวสารไปเก็บที่สวนของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ไปนอนเฝ้าเป็นประจำ ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยที่ 1 ก็อนุญาตด้วย ระหว่างขับรถกลับมาเก็บที่กรมจำเลยที่ 1 ตามระเบียบ จำเลยที่ 3 ได้ขับด้วยความประมาทชนรถโจทก์เสียหายจึงถือได้ว่าอยู่ระหว่างเวลาปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 ทำงานส่วนตัวให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยได้รับเงินรางวัลบ้างเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัย ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 ในกิจการดังกล่าว จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อ ในฐานะนายจ้างดังโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ประมาทเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
ผู้ตายขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ชำนาญพอ ขับออกจากทางโทโดยประมาทพุ่งเข้าชนรถยนต์จำเลยที่ขับอยู่ในทางเอกดังนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว หาใช่เป็น ผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยขับรถยนต์เมื่อจะผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ, อายุความฟ้อง, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, คำพิพากษาทางอาญาไม่ผูกพันทางแพ่ง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถโดยเช่าซื้อมาจากผู้อื่นเมื่อโจทก์นำสืบเชื่อได้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ทะเบียนรถโอนเป็นชื่อโจทก์แล้วรถย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมตัวรถของโจทก์ที่เสียหายเพราะการละเมิดได้
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแต่ชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นไว้ และจำเลยมิได้คัดค้าน จำเลยจะยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 5 เป็นคดีอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 เป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแต่โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่ได้รับความเสียหายไม่อยู่ในฐานะที่พนักงานอัยการจะฟ้องจำเลยที่ 5 แทนโจทก์คำพิพากษาทางอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแต่ชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นไว้ และจำเลยมิได้คัดค้าน จำเลยจะยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 5 เป็นคดีอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 เป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแต่โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่ได้รับความเสียหายไม่อยู่ในฐานะที่พนักงานอัยการจะฟ้องจำเลยที่ 5 แทนโจทก์คำพิพากษาทางอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การประเมินส่วนประมาทของคู่กรณีและการวินิจฉัยตามหลักฐานทั้งหมด
จ. ลูกจ้างของจำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษฐานกระทำโดยประมาทให้บุตรโจทก์ตาย แต่การวินิจฉัยความรับผิดในทางแพ่งของนายจ้างซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยตามหลักฐานทั้งหมดทั้งปวงเท่าที่ทั้งสองฝ่ายนำเข้าสืบ บุตรโจทก์ขี่รถจักรยานออกจากท้ายรถโดยสารที่จอดอยู่ล้ำเข้าไปในทางของรถจำเลยที่สวนมา เป็นการประมาทมากกว่า ศาลวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223 ให้ค่าเสียหายเป็นพับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและลูกจ้าง: การพิสูจน์ความประมาทและผลกระทบต่อจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจจะแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา คงฎีกาขึ้นมาแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 แต่เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถโดยประมาท พิพากษายกฟ้องโจทก์ ก็ย่อมให้จำเลยที่ 1 ได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446-449/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์, ความรับผิดทางละเมิด, การประเมินค่าเสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วม
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมและโจทก์ไม่เคยทวงถามให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้เป็นข้ออุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
การที่มีผู้คนเอาเงินมาช่วยทำศพผู้ตายมากน้อยเพียงไรจะเอามาช่วยบรรเทาความรับผิดของจำเลย หาได้ไม่
แม้ผู้ตายจะกำลังศึกษาเล่าเรียน แต่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นนักเรียนช่างกลปีที่ 3 แล้วซึ่งเป็นปีสุดท้ายก็อาจเรียนจบหลักสูตร และผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมายต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา แม้ในปัจจุบันผู้ตายยังศึกษาเล่าเรียนมิได้อุปการะบิดามารดาก็ดี บิดามารดาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุขาดไร้อุปการะได้
การที่มีผู้คนเอาเงินมาช่วยทำศพผู้ตายมากน้อยเพียงไรจะเอามาช่วยบรรเทาความรับผิดของจำเลย หาได้ไม่
แม้ผู้ตายจะกำลังศึกษาเล่าเรียน แต่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นนักเรียนช่างกลปีที่ 3 แล้วซึ่งเป็นปีสุดท้ายก็อาจเรียนจบหลักสูตร และผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมายต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา แม้ในปัจจุบันผู้ตายยังศึกษาเล่าเรียนมิได้อุปการะบิดามารดาก็ดี บิดามารดาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุขาดไร้อุปการะได้