พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรายละเอียดเล็กน้อยและประเภทสินค้าที่ต่างกัน ไม่ถือว่าทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E. Remy Martin & Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า รูปธงและตัวอักษรที่หลากหลาย ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปธงมีเสา ชายธงสะบัดไปทางขวา มีอักษรโรมัน วี.เอฟ.(V.F.) อยู่ในธง ใต้ธงมีอักษรภาษาไทยว่า ตราธงชนะ และมีภาษาอังกฤษอ่านว่าวิกตอรีแฟล็กแบรนด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปธงมีเสา ชายธงสะบัดไปทางขวามีอักษรโรมัน เจ.อาร์ (J.R.)อยู่ในธง ไม่มีอักษรโรมันใต้ธง แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะเป็นรูปธงมีเสา สะบัดชายธงไปทางขวาเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันจนอย่างมากอยู่หลายประการประการแรกคือการวางรูปโดยรูปธงของโจทก์เป็นรูปธงติดเสาตั้งตรงส่วนรูปธงของจำเลยติดเสาเอียงไปทางซ้าย ใต้ธงของโจทก์มีอักษรหรือข้อความถึงสองบรรทัด บรรทัดแรกเป็นภาษาไทยว่า "ตราธงชนะ" และบรรทัดที่สองเป็นภาษาโรมันว่า"VICTORYFLAGBRAND" ภาพรวมทั้งหมดนี้จะเห็นว่าแตกต่างกันมากส่วนรูปและตัวอักษรในชายธงนั้นก็แตกต่างกันมากเช่นเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์สะบัดพลิ้วแรง และเป็นธงสองสีอักษรโรมันตัว V อยู่มุมซ้ายด้านบนติดกับปลายเสาธงอยู่ในส่วนของสีบน ส่วนอักษรตัว F อยู่มุมขวาด้านล่าง ในส่วนของสีล่างห่างกันมาก และอักษรตัวเล็ก ๆ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นธงที่แทบจะไม่มีลักษณะสะบัด และเป็นธงพื้นสีเดียวทั้งผืน ตัวอักษรโรมันอยู่ตรงกลางใหญ่เกือบเต็มผืนธง และอักษร J และ R อยู่ในลักษณะตัวอักษรเชื่อมต่อเป็นตัวเดียวกันหรือทับกันครึ่งตัว รูปร่างลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยแตกต่างกันมากเช่นนี้ ย่อมไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ การที่ประชาชนเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยว่าตรงธงเช่นเดียวกัน เป็นเพียงสื่อความหมายมิใช่การหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความสับสนในการจดเวลานัด และการนำสืบพยานหลักฐานเกินขอบเขตในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ แล้วได้ขอกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์กับพนักงานรับฟ้องโดยนัดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เวลา 9 นาฬิกา แต่ทนายโจทก์ลงนัดไว้ในสมุดบันทึกของตนเองว่าเป็นนัดเวลา 13.30 นาฬิกา ครั้นเมื่อทนายโจทก์มาขอรับหมายนัดแจ้งกำหนดวันสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบเพื่อส่งให้แก่จำเลย ในหมายนัดดังกล่าวก็ได้ลงเวลานัดไว้ว่าเวลา 9 นาฬิกา เช่นนี้ การที่ทนายโจทก์นัดหมายให้พยานโจทก์มาศาลในวันนัดเวลา 13.30 นาฬิกาและ+มาศาลตามเวลาดังกล่าว แม้จะเกิดขึ้นเนื่องจากการสับสนจดจำผิดพลาดของหมายโจทก์ มิใช่ความผิดพลาดอันเกิดขึ้นจากตัวโจทก์เองโดยตรงก็ตาม ก็ถือว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอพิจารณาใหม่
ในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงให้ศาลเห็นเพียงว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์นั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรเท่านั้น โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนของให้พิจารณาใหม่ก้าวล่วงไปถึงฐานะแห่งการเป็นนิติบุคคลและบุคคลผู้เป็นผู้แทนของ โจทก์กับการมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องดำเนินคดีแทนอันเป็นประเด็นข้อที่ 1 แห่งคดีซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ในชั้นพิจารณาคดีเช่นนี้ จะนำพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ดังกล่าวมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีไม่ได้ เมื่อภาระการพิสูจน์ในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตกแก่โจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแล้ว โจทก์ก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น
ในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงให้ศาลเห็นเพียงว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์นั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรเท่านั้น โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนของให้พิจารณาใหม่ก้าวล่วงไปถึงฐานะแห่งการเป็นนิติบุคคลและบุคคลผู้เป็นผู้แทนของ โจทก์กับการมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องดำเนินคดีแทนอันเป็นประเด็นข้อที่ 1 แห่งคดีซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ในชั้นพิจารณาคดีเช่นนี้ จะนำพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนขอให้พิจารณาใหม่ดังกล่าวมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีไม่ได้ เมื่อภาระการพิสูจน์ในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตกแก่โจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแล้ว โจทก์ก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า: ภาพศิลปะ vs. ภาพธรรมดา, จำนวนพยางค์, และความสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่งประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่าจั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า จึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่สับสนจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจโรงแรม
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า 'ฮิลตัน''โฮเต็ล' และ 'บางกอก' พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานานทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์ และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์ จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมของจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตันเป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้สับสน ห้ามจดทะเบียนซ้ำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลาย และคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมันว่า HEAD ZEBRA ส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นรูปม้าลายทั้งตัวยืนอยู่ในวงกลม และคำว่า ตราม้าลายและอักษรโรมันว่า ZEBRA BRAND สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือรูปม้าลายประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราม้าลาย เมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ 13 ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อ/เครื่องหมายคล้ายกัน ทำให้สาธารณชนสับสน และแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงผู้อื่น
จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า "บริษัทยอร์ค จำกัด" แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า "YORK" ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่ 2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกัน อนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "YORK" ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า "YORK INC. LTD." สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า "YORK" ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า "INC. LTD." ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่าจำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า "YORK" ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "YORK" ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า "YORK INC. LTD." สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า "YORK" ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า "INC. LTD." ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่าจำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า "YORK" ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่ทำให้สับสน: ห้ามใช้ชื่อ/เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของผู้อื่นจนเกิดความเสียหาย
จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า 'บริษัทยอร์ค จำกัด' แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า 'YORK' ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกันอนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'YORK' ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า 'YORKINC.LTD.' สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า 'YORK' ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า 'INC.LTD.' ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่างๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า'YORK' ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'YORK' ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า 'YORKINC.LTD.' สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า 'YORK' ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า 'INC.LTD.' ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่างๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า'YORK' ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน: การพิจารณาความแตกต่างของลักษณะเครื่องหมายและการเน้นจุดเด่นของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันล้วนๆ ส่วนของจำเลยมีอักษรไทยปนอยู่กับอักษรโรมัน ทั้งคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็แตกต่างกันเกือบทั้งหมดมีตรงกันเฉพาะคำว่า "DEOCOLOGNE"เท่านั้น แต่ลักษณะการเขียนและความใหญ่ของตัวอักษรก็แตกต่างกันมากสำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ตัวพิมพ์เล็ก(DEOCOLOGNE) เขียนตัวอักษรโตมากและเล่นตัวอักษรด้วยแสดงถึงการเน้นตรงคำนี้ ส่วนของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่(DEOCOLOGNE) และตัวอักษรก็ไม่โต ทั้งยังไม่ได้เล่นตัวอักษรซึ่งแสดงถึงไม่ได้มุ่งที่จะเน้นถึงคำนี้เลย แต่ไปเขียนตัวอักษรโตและเล่นตัวอักษรเน้นตรงคำว่า "ARCHE" คำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะชี้ให้เห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ตรงคำว่า "DEOCOLOGNE" แต่ของจำเลยอยู่ตรงคำว่า ARCHE' ทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่แสดงสำหรับสินค้าสบู่ก็ระบุว่าทำในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนของจำเลยหาปรากฏข้อความเช่นนั้นไม่ ไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดไปในลักษณะของเครื่องหมายการค้า หรือลวงผู้ซื้อในแหล่งกำเนิด หรือทำให้เกิดสับสนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนทำให้เกิดความสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปว่าวจุฬาเอียงขวา มีคำว่า "ตราว่าว" ของจำเลยเป็นรูปว่าวจุฬาเอียงขวา แต่ไม่มีป่านว่าว มีคำว่า "ตราซุปเปอร์แมน" รูปแบบสีสรรการวางตัวหนังสือคล้ายของโจทก์ อาจทำให้หลงตามความรู้สึกของวิญญูชนโดยทั่วๆ ไป จำเลยต้องเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์