คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเข้าใจผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยสุจริตจากความเข้าใจผิดถึงความเป็นเจ้าของ แม้เจ้าของตัวจริงไม่ได้แจ้งปฏิเสธ ศาลยกฟ้องละเมิด
โจทก์อายุเกินกว่า 80 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพทำนามา 10กว่าปีแล้ว อยู่กับ อ. บุตรโจทก์ซึ่งเป็นคนทำนาและค้าขายข้าวมีการปลูกบ้านใหม่อีกหลังติดกันเป็นแฝดจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าอ. ลูกหนี้จำเลยตามคำพิพากษาเป็นคนปลูกบ้านหลังใหม่ การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดบ้านพิพาทของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในการบังคับคดีตามกฎหมายโดยสุจริต หาได้มีเจตนากลั่นแกล้งหรือกระทำโดยความประมาทเลินเล่อเพื่อให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของเครื่องจักรเสีย และการตีความความผิดร้ายแรงตามระเบียบบริษัท
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การมิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่เนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันนัดพิจารณา ซึ่งส่งผลต่อการขาดนัด จำเลยมิได้จงใจ
จำเลยขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่า ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายซึ่งเป็นเสมียนฝึกหัดใหม่นำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาล และกำหนดวันนัดพิจารณาแทน โดยทนายจำเลยจดวันว่างมอบให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดใหม่ แต่ทนายโจทก์เป็นผู้ทำเครื่องหมายวงกลมบนกระดาษที่ทนายจำเลยจดวันว่างให้แก่เสมียนทนายดังกล่าว โดยวงไว้ วันที่ 2 และ15 กรกฎาคม 2525 และเขียนข้อความไว้ด้วยว่านัดสืบ 2 วัน และเสมียนทนายจำเลยได้นำกระดาษดังกล่าวมามอบให้ทนายจำเลย ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจวันนัดผิดโดยคิดว่านัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 2 และ 15 กรกฎาคม 2525 ซึ่งถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังข้อกล่าวอ้างของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาอันเป็นเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ได้ ศาลชั้นต้นควรให้โอกาสโจทก์ยื่นคำคัดค้านและไต่สวนพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันนัด สืบเนื่องจากการมอบฉันทะให้เสมียนทนาย และการจดวันว่าง
จำเลยขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่า ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายซึ่งเป็นเสมียนฝึกหัดใหม่นำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาล และกำหนดวันนัดพิจารณาแทนโดยทนายจำเลยจดวันว่างมอบให้ เสมียนทนายมากำหนดวันนัดใหม่แต่ทนายโจทก์เป็นผู้ทำเครื่องหมายวงกลม บนกระดาษที่ทนายจำเลยจดวันว่างให้แก่เสมียนทนายดังกล่าวโดยวงไว้ วันที่ 2 และ15 กรกฎาคม 2525 และเขียนข้อความไว้ด้วยว่านัดสืบ 2วัน และเสมียนทนายจำเลยได้นำกระดาษดังกล่าวมามอบให้ทนายจำเลย ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจวันนัดผิดโดยคิดว่านัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 2 และ 15 กรกฎาคม 2525 ซึ่งถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังข้อกล่าวอ้างของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาอันเป็นเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ได้ ศาลชั้นต้นควรให้โอกาสโจทก์ยื่นคำคัดค้านและไต่สวนพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อบริษัทคล้ายคลึงกันทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเสียหาย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเภท บริษัทจำกัด โดยโจทก์จดทะเบียนก่อนใช้ชื่อว่า บริษัทยูเนี่ยนการ์เมนท์ จำกัด จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อว่า บริษัทดียูเนี่ยนการ์เมนท์ จำกัด เป็นการเลียนแบบถือได้ว่า เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18,420 โจทก์ขอให้ห้ามใช้ชื่อได้
แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัท แต่จำเลยทั้งสี่ก็ต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในมูลละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและการยกเว้นความรับผิดทางอาญาจากความเข้าใจผิดเรื่องกฎหมาย
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคาร ไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด เช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันนัด ศาลพิจารณาให้พิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2523เวลา 9.00 น. เสมียนทนายจำเลยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงชื่อทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ และในวันนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 น. ปรากฏว่าทนายจำเลย มาศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันเพื่อว่าความในคดีเรื่องอื่นหากทนายจำเลยซึ่งรู้ตระหนักถึงความสำคัญของผลคดีที่ขาดนัดพิจารณาทราบว่าศาลชั้นต้นนัดสืบพยานในคดีนี้เวลา9.00 น. แล้ว จะต้องปลีกเวลาไปแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบถึงการติดว่าความในคดีอื่น หรือมิฉะนั้นก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีนี้ จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าทนายจำเลยทราบเวลานัดสืบพยานโจทก์คลาดเคลื่อนจากเวลา 9.00น. เป็นเวลา 13.30 น. จริงถือว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อและเครื่องหมายที่คล้ายคลึงกันโดยมีเจตนาลอกเลียนและก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
คำว่า มาเธอร์แคร์ ที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น และใช้สำหรับการค้าเครื่องแต่งกายมารดาและเด็กมิใช่เป็นคำสามัญ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวมาใช้ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกับโจทก์ ทั้งใช้อักษรที่มีรูปประดิษฐ์เด็กอยู่ภายในเหมือนของโจทก์ จำเลยจึงมีเจตนาลอกเลียนชื่อและเครื่องหมายดังกล่าวของโจทก์โดยไม่สุจริต การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่คนทั่วไปทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยกระทำละเมิดตลอดมาจนถึงวันฟ้อง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า: แม้มีรูปภาพคล้ายกัน แต่มีองค์ประกอบอื่นแตกต่างกันชัดเจน ไม่ถือว่าเลียนแบบจนเกิดความเข้าใจผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้คือรูปควายไม่มีอักษรประกอบและรูปควายมีอักษรจีนอยู่ข้างล่างจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราพระอาทิตย์กับควายไว้และใช้เครื่องหมายการค้ารูปควายกับพระอาทิตย์พิมพ์ลงในผ้าโดยมีสลากปิดบนผ้ามีอักษรขนาดใหญ่ระบุว่าเป็นผ้าดำตราควายพระอาทิตย์และสถานที่ผลิตแบบหนึ่ง กับพิมพ์อักษรไทยมีข้อความขนาดใหญ่อยู่ด้านบนว่าโรงงานย้อมผ้าเฮ่งจิบฮั่งเชียงผ้าดำครามแท้ตราควายพระอาทิตย์ด้านข้างมีอักษรจีนและมีรูปควายอยู่ด้านล่างอีกแบบหนึ่ง ดังนี้ ถึงแม้เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนไว้จะมีรูปควายเช่นเดียวกัน แต่ก็มีตัวอักษรข้อความรูปภาพอย่างอื่นมาประกอบทำให้แตกต่างกัน บุคคลธรรมดาไม่เข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดสืบพยานจากความเข้าใจผิดเรื่องเวลา ไม่ถือว่าโจทก์ไม่มีพยาน
วันนัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองคราวโจทก์นำพยานมาศาล โดยครั้งแรกจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดี แต่วันนัดสืบพยานครั้งที่สองโจทก์นำพยานมาศาลผิดเวลาเพราะจดเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อนไป เป็นข้ออ้างมีเหตุผลสมควร เพราะวันนัดสืบพยานครั้งแรกนัดสืบพยานเวลา 13.30 นาฬิกา ส่วนครั้งหลังนัดเวลา 9 นาฬิกา การที่โจทก์ไม่มาศาลตามเวลาในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวยังไม่พอถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ
of 11